ปลาสินสมุทร จักรพรรดิ
ปลาสินสมุทรจักรพรรดิhttp://www.osotho.com/upload/cms_orsortor/library/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%202544/%E0%B8%9E%E0%B8%84%2044/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%811.jpg
ในบรรดาปลาสวยงามในแนวปะการังนั้น ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Emperor angelfish) นับเป็นปลาที่มีลวดลายและสีสันสวยงามเป็นที่ต้องตาต้องใจนักดำน้ำ ลวดลายและสีสันที่สวยงามเช่นนี้นับเป็นประโยชน์ต่อเผ่าพันธุ์ อย่างยิ่งในการจำแนกแยกแยะเผ่าพันธุ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งพรรคพวกเผ่าพันธุ์ในผืนทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล และสีสันที่จัดจ้านนี้ยังเหมือนจะประกาศว่าอาจเป็นอันตราย ไม่เหมาะกับการเป็นอาหารของบรรดานักล่าทั้งหลาย ทั้งลวดลายที่เป็นลายเส้นชัดเจนซับซ้อนก็เป็นเครื่องป้องกันตัวที่อาจสร้างความสับสนงุนงงจนเกิดอาการตาลายขึ้นได้
ในบรรดาพวกพ้องปลาสินสมุทรนั้น นอกจากปลาสินสมุทรจักรพรรดิแล้ว ยังมีปลาสินสมุทรชนิดอื่น ๆ ซึ่งล้วนมีสีสันและลวดลายงดงามทั้งสิ้น เช่น ปลาสินสมุทรบั้ง (Regal angelfish) ปลาสินสมุทรลายฟ้า (Blue-ringed angelfish) ปลาสินสมุทรแว่นเหลือง (Yellowmask angelfish) เป็นต้น ซึ่งปลาสินสมุทรนั้นจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ ลำตัวแบนกว้าง และจะมีเงี่ยงแหลมยาวที่บริเวณใต้แก้มข้างครีบข้างลำตัวไว้ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว
ลักษณะสำคัญที่ออกจะคล้ายกันอีกอย่างก็คือปลาสินสมุทรบางชนิดนั้น เมื่อครั้งเป็นปลาวัยอ่อนจะมีสีสันและลวดลายบนลำตัวแตกต่างออกไปจากตัวพ่อแม่ที่โตเต็มวัยอย่างสิ้นเชิงราวกับว่าเป็นปลาต่างชนิดกัน อย่างเช่น ปลาสินสมุทรจักรพรรดิที่นำภาพมาให้ชมกันในฉบับนี้ ภาพบนเป็นปลาสินสมุทรจักรพรรดิอ่อน ซึ่งมีสีน้ำเงินครามลายฟ้าขาว มีลักษณะเป็นลายก้นหอย ลำตัวมีขนาดประมาณฝ่ามือ ว่ายหากินอยู่บริเวณหลืบหิน หรือซอกปะการังที่มีลักษณะเป็นผาชันใต้ทะเลในระดับความลึกที่ค่อนข้างลึกสักหน่อยราว ๔๐-๖๐ ฟุตลงไป และมักจะชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำทะเลใส โดยปรกติแล้วมักจะมีนิสัยขี้อาย มีสัญชาตญาณแห่งความระแวงภัยสูง ไม่ค่อยจะไว้วางใจปลาใหญ่ ๆ หรือนักดำน้ำที่เข้าไปใกล้ โดยมักจะว่ายหนีและรักษาระยะห่างอยู่ตลอดเวลา กว่าจะได้ภาพนี้มาผมต้องค่อย ๆ ใช้เวลาตามตื๊อและสร้างความคุ้นเคยจนเจ้าจักรพรรดิน้อยตัวนี้ให้ความไว้วางใจ และสาละวนอยู่กับการหากินไปตามผาหินอย่างไม่ตื่นกลัว
ส่วนภาพล่างเป็นปลาสินสมุทรจักรพรรดิชนิดเดียวกับภาพบน ซึ่งเมื่อโตขึ้นลวดลายบนลำตัวตอนเด็ก ๆ จะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำเงินลายเส้นคาดยาวตลอดข้างลำตัวสีเหลืองสดใส ปลายหางเป็นสีเหลือง ปลายปากและแก้มสีขาว บริเวณดวงตา มีขอบคาดสีดำเหมือนหน้ากากโซโร ทั้งขนาด สีสัน และลวดลายบนลำตัวจะไม่เหลือเค้าเดิมอยู่เลย อันเป็นเครื่องหมายของการเติบโตเต็มที่พร้อมจะแพร่เผ่าพันธุ์ต่อไป ปลาสินสมุทรจักรพรรดินี้พบบริเวณท้องทะเลลึกฝั่งทะเลอันดามัน แทบจะไม่พบทางฝั่งอ่าวไทย
แม้จะโตเต็มที่และเปลี่ยนลวดลายสีสันเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่เจ้าสินสมุทรจักรพรรดิก็ยังเป็นปลาที่ปราดเปรียว ไม่ค่อยจะยินยอมให้ใครเข้าใกล้ตัวเท่าใดนัก ยิ่งบรรดาช่างภาพใต้น้ำที่ถืออุปกรณ์ทั้งกล้องทั้งแฟลชด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะตื่นกลัวและหนีห่างออกไปทุกที แต่ก็มีช่วงเวลาที่เราจะสามารถเข้าสำรวจและถ่ายภาพเจ้าสินสมุทรจักรพรรดิได้อย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง นั่นก็คือช่วงการดำน้ำกลางคืน ซึ่งเจ้าปลาชนิดนี้จะหาพื้นที่ตามแนวปะการัง โพรงหิน เป็นที่หลบนอนนิ่ง ๆ ไม่หนีไปไหน แต่ก็มีปัญหาอยู่บ้างตรงที่ในตอนกลางคืนที่ผืนน้ำรอบข้างมืดดำ ไม่สดใสสีครามกระจ่างตาเหมือนคอนกลางวันที่แดดจัด เจ้าปลาสินสมุทรจักรพรรดิก็จะปรับสีสันข้างลำตัวให้ซีดจางลง ไม่ฉูดฉาดเป็นเป้าสายตาเหมือนตอนกลางวัน
นอกจากปรับสีสันให้จืดจางเข้ากับความมืดแล้วทีเด็ดของเจ้าปลาสินสมุทรจักรพรรดิอีกอย่างหนึ่งก็คือมันสามารถจะทำเสียงคล้าย ๆ กับเสียงดีดนิ้ว หรือเสียงดีดช่องเหงือกดัง ๆ ให้ปลา หรือศัตรูที่เข้ามาใกล้รู้สึกสับสนตกใจจนต้องเผ่นหนีไปได้
http://www.osotho.com/upload/cms_orsortor/library/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%202544/%E0%B8%9E%E0%B8%84%2044/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%812.jpg
http://news.nipa.co.th/image/manager/img500/175147_552000003911301.JPEG
ข้อมูลการบันทึกภาพ
ลูกปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (ภาพบน)
บันทึกภาพจากบริเวณกองหินใต้น้ำของเกาะตาชัย ในระดับความลึก ๗๐ ฟุต
ด้วยช่องรับแสง ๘ ความไวชัตเตอร์ ๑/๖๐ วินาที
ส่วนปลาสินสมุทรจักรพรรดิโตเต็มวัย(ภาพล่าง)
บันทึกภาพจากบริเวณเกาะหก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ในระดับความลึกราว ๗๐ ฟุต
ด้วยช่องรับแสง ๘ ความไวชัตเตอร์ ๑/๖๐ วินาที
ทั้งสองภาพถ่ายด้วยกล้อง Nikon F90X ใส่ลงใน Housing กันน้ำของ Nexus F90
ติดเลนส์ไมโคร ๑๐๕ มิลลิเมตร ใช้แฟลซใต้น้ำ Nikonos SB105 ๒ ดวง เปิดที่ตำแหน่ง TTL
ขอบคุณครับ ผมเลี้ยงปลากัดคับ{:5_146:} ชอบทานมากกว่าเลี้ยงคับ ขอบคุณนะคับ{:4_112:} สวยจังครับ มันชื่อนี้เอง{:5_119:} สวยดีคับ มองแล้วตาลายเชียว ตอบกระทู้ ภูตะวัน ตั้งกระทู้
ตัวนี้มันอยู่ในคำถามผมนี่ครับฮิฮิ
ขอบคุณครับพี่ สวยดีอ่ะ ชอบๆ ขอบคุณมากมายครับ สวยครับ สีฉูดฉาดมาก ขอบคุณมากครับ
หน้า:
[1]