ลูกฉิ่ง ผักเนาะภาคใต้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosaL.
วงศ์ : Moraceae
ชื่ออื่นชิ้ง (ใต้) "ลูกฉิ้ง" ผักบ้านเรา
พืชตระกูลเดียวกัน :เดื่อเกลี้ยง (ภาคเหนือ มะเดื่อเกลี้ยง มะเดื่อ มะเดื่อชุมพร กูแซ เดื่อน้ำ (ภาคใต้) มะเดื่อน้ำ เดื่อเลี้ยง มะเดื่อหอม หมากเดื่อ (ภาคอีสาน) มะเดื่อดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : "ชิ้ง"เป็นไม้ยืนต้นตระกูลมะเดื่อสูงประมาณ 3 - 5 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล อมเขียวใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่สีเขียวเข้มกว้างประมาณ 5-6 นิ้ว ยาวประมาณ 8 นิ้ว ก้านใบสีแดง หน้าใบเรียบเป็นมัน ขอบใบเรียบ หลังใบมีก้านใบนูนผล ผลกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.2ซม. ผลออกตามต้นและกิ่งก้าน มีลักษณะเป็นช่อ ๆ ละประมาณ 5-30 ผล ผลกลมสีเขียว ข้างในมีเมล็ดเล็กๆ สีชมพูอ่อน แต่พอแก่แล้วแกะออกดูจะมีมดอยู่ข้างในไม่รู้มันเข้าไปตอนไหน
ลักษณะ ฉิ่ง เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม สูงประมาณ ๓-๑๐ เมตร ใบเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบกว้างประมาณ ๕-๖ นิ้ว แผ่น ใบรูปไข่ ยาวประมาณ ๘ นิ้ว หลังใบมีก้านใบนูน ปลายใบแหลม ผิวใบเป็นมัน ใบอ่อนสีแดงแกมน้ำตาล ดอกออกเป็นกลุ่มตามกิ่งและตามลำต้น ผลออกเป็นช่อ ประมาณ ๕-๓๐ ลูก ลูกฉิ่งมีลักษณะกลม เกลี้ยงสีเขียว มีจุดสีขาวห่าง ๆ ทั่วไปและมียางขาว ข้างในมีเมล็ดเล็ก ๆ สีแดงเรื่อ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ผลอ่อน รสชาติฝาดมันรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก(ผักเหนาะ)หรือใช้ผลใส่ แกงกะทิ แกงพุงปลา แกงส้ม กินกับแกงไตปลา ขนมจีนบางคนนิยมนำไปปรุงใส่อาหารใส่เป็นผักในแกงชนิดต่าง ๆ หรือผัดเผ็ด
คุณค่าและประโยชน์
ลูกฉิ่งนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหารและรับประทานเป็นผักสดที่มีเส้นใยอาหารช่วยให้ระบบของร่างกายดีขึ้นและให้คุณค่าเป็นแร่ธาตุ และเป็นผักที่ไม่มีสารพิษ
สรรพคุณ :
ผลอ่อน - รับประทานเป็นอาหาร
เปลือกต้น
- มีรสฝาด
- รับประทานแก้ท้องร่วง
- ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
ราก
- เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด
- กล่อมเสมหะ และโลหิต
หน้า:
[1]