ปวด ๆ หาย ๆ ตามสายฝนโปรย
ปวด ๆ หาย ๆ ตามสายฝนโปรยhttp://img.kapook.com/image/health/Pain/woman%20pain.jpg
ปวด ๆ หาย ๆ ตามสายฝนโปรย (Twenty Four-Seven)
ความเย็นฉ่ำเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นสำคัญ ที่ทำให้ร่างกายของใครหลายคนเจ็บออด ๆ แอด ๆ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย สาเหตุที่อาการปวดข้อมักจะกลับมาในหน้าฝน ก็เพราะภาวะเกินของธาตุต่าง ๆ คือธาตุลมและความชื้นที่มาพร้อมกัน เข้าสู่ร่างกายและจะค้างอยู่ตามช่องว่างของกล้ามเนื้อ เรียกอีกอย่างว่า "โรคลมในเส้น" ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก เกิดภาวะเลือดลมอุดตันสะสมนาน ๆ จะทำให้เกิดภาวะพร่องพลังของไตและตับ ถ้ายิ่งสะสมในอวัยวะสำคัญทั้งอาการปวดข้อจะเรื้อรัง และแก้ยากมากขึ้น
และนี่คืออีกหนึ่งสาระสุขภาพ ที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจเมื่อมีอาการเฉียบพลันแบบ ปวด ๆ หาย ๆ ตามสายฝนโปรย ที่เรานำมาฝาก
อาการปวดข้อทั้งชนิดที่เรื้อรังและไม่เรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เมื่อร่างกายกระทบอุณหภูมิเย็น ชื้น เราจึงควรรู้จักวิธีป้องกันในแบบต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยง และรับมือกับอาการที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน และนี่คือ 7 วิธีดี ๆ ที่น่าอ่านน่าจดจำ
7 เคล็ดลับป้องกัน และบรรเทาอาการปวดข้อในหน้าฝน
http://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/camera.gif 1.กินป้องกันปวด
การได้รับอาหารที่มีสารต้านออกซิเดชั่นในปริมาณเล็กน้อย ได้แก่ ธาตุซีลีเนียม วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ ดังนั้นอาหารประจำวันควรมีผัก และผลไม้สดในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้ได้รับวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช ถั่วเปลือกแข็ง ผลอะโวคาโด และเมล็ดทานตะวัน อาหารที่มีซีลีเนียม ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมาก ธัญพืชและไข่ นอกจากนี้ปลาที่มีไขมันมากหรือน้ำมันปลา ยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อาจช่วยลดการ
อักเสบภายในร่างกายด้วย
http://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/camera.gif 2.บรรเทาด้วยอุณหภูมิประคบ
การใช้อุณหภูมิช่วย โดยใช้ความร้อน อาจจะเป็นกระเป๋าน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน หรือวิธีบ้าน ๆ โบราณ ๆ อย่างใช้ใบพลับพลึงอังไฟ จากนั้นประคบข้อต่อที่เจ็บ 20 นาที ประมาณวันละ 3 ครั้ง ทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้นและช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อ แต่ถ้าใช้ความเย็น ก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้เฉียบพลัน
http://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/camera.gif 3.นวดพร้อมสมุนไพร
การนวด ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ ส่วนการใช้ยาทาถูนวดต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น ยาหม่อง จะช่วยให้หายปวดได้ชั่วคราวเช่นเดียวกับการใช้ยาแก้อักเสบในรูปครีม นวดบริเวณรอบ ๆ ข้อที่มีการอักเสบก็จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ชั่วคราวเช่นกัน การประคบด้วยสมุนไพรคือหัวไพลสด ขมิ้นชันสด การบูร เกลือ ซึ่งมักจะเพิ่มผิวมะกรูด ตะไคร้ ใบมะขามใบส้มป่อย ร่วมกับการนวดรักษาโรค หรือการใช้ยาแผนปัจจุบัน ยังสามารถบรรเทาอาการปวดข้อ ข้อฝืด ได้มากขึ้นกว่าการนวดหรือใช้ยาเพียงอย่างเดียว
http://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/camera.gif 4.กินสมุนไพรเผ็ด
การรับประทานสมุนไพร เน้นที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิงและอบเชย โดยเฉพาะขิงสด เพียงฝานกินวันละ 2-3 แว่น ก็ลดอาการปวดข้อได้ดีมาก เพราะขิงมีโครงสร้างโมเลกุบางอย่าง คล้ายกับยาที่ใช้รักษาโรคปวดข้อรุ่นใหม่ที่ไม่กัดกระเพาะ
http://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/camera.gif 5.รับประทานน้ำมันตับปลาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ
ไอส์ลา บอสเวิร์ธ นักวิจัยจากประเทศอังกฤษ พบว่าการรับประทานน้ำมันตับปลาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ช่วยลดอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยิ่งเป็นอาการปวดจากโรคข้อต่ออักเสบยิ่งได้ผล และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการใช้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรแฟน หรือแม้แต่พาราเซตามอล ซึ่งหากรับประทานเป็นประจำอาจเสี่ยงต่อโรคความดันสูงและโรคหัวใจ ถึงแม้น้ำมันตับปลาจะไม่สามารถรักษาโรคข้ออักเสบได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หาง่าย ราคาถูก และไม่เป็นอันตรายอีกด้วย
http://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/camera.gif 6.บำบัดด้วยเถาวัลย์เปรียง
จากการทดลองวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นานกว่า 10 ปี พบว่า "เถาวัลย์เปรียง" มีสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบสามารถใช้แทนยาแก้อักเสบประเภท สเตียรอยด์ ที่เป็นยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคปวดหลังและปวดตามข้อได้ และได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกกับคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ผลดี พบว่าร่างกายสามารถดูดซึมยาตัวนี้ได้ดี ไม่มีพิษหรือผลข้างเคียงต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกด้วย ที่สำคัญ ยาสมุนไพรไม่มีผลข้างเคียง เพราะไม่มีสารเคมี
http://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/camera.gif 7.ออกกำลังบริหารข้อบ่อย ๆ
เคลื่อนไหวข้อ และฝึกกายบริหารเป็นประจำทุกวัน อย่าอยู่นิ่ง ๆ เพราะยิ่งอยู่นิ่ง ข้อยิ่งแข็งฝืดและขยับยากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรฝึกกายบริหารในท่าต่างๆท่าละ 10 ครั้ง ทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยทำให้ข้อลดความฝืดและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น การออกกำลังกายในสภาพไร้น้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ที่สำคัญควรรู้สมดุลร่างกายของตัวเองว่าเมื่อใดควรพักข้อที่อักเสบ และเมื่อใดควรให้ข้อนั้นออกกำลังกาย จะช่วยให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้น เช่น เมื่อข้อเกิดการอักเสบรุนแรงขึ้น ให้หยุดการออกกำลังบริเวณข้อทันที และเริ่มออกกำลังใหม่เมื่อการอักเสบลดลงแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://img.kapook.com/image/Logo/247freemag.jpg
ขอบคุนนะคับที่แบ่งปันสิ่งดีๆ ขอบคุณครับทีหาความรู้มีสาระมาให้อานครับ ขอบคุณครับ ขอบคุณมากมายครับ
หน้า:
[1]