argolight โพสต์ 2011-7-3 09:13:21

ภาวะโลกร้อน > ดาวเทียมสำรวจ: ภารกิจการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก


หน้าแรก > บทความ > ดาวเทียมสำรวจ: ภารกิจการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก

บทนำ
ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้รับรู้และสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน อุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างมากในหน้าร้อนและลดต่ำลงมากในหน้าหนาว จนมีข้อสันนิษฐานว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีหิมะตกในเมืองไทย ความวิปริตของฤดูกาล ความแห้งแล้งกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก การเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงบ่อยขึ้น เช่น พายุขนาดใหญ่ น้ำท่วมที่กินบริเวณกว้าง ฯลฯ ภาวะที่โลกร้อนขึ้น อันเป็นผลจากก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดการละลายของธารน้ำแข็งที่ขั้วโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำจืดของโลกลดลง ซ้ำยังส่งผลหนุนให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น พื้นดินที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลกำลังจะจมหายไป และกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นในมหาสมุทรเปลี่ยนเส้นทางจากเดิม การกระทำของมนุษย์เราเองยังซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลง ก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ และการเผาผลาญมวลชีวภาพเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน เป็นผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลเพิ่มขึ้นสู่บรรยากาศ ทำให้มีความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการทำลายป่าไม้ที่เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกและเป็นแหล่งปรับระดับสมดุลความร้อนให้กับบรรยากาศที่เราอาศัยอยู่ ยังมีให้เห็นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและยังคงเกิดขึ้นในประเทศไทยของเรา จะส่งผลระยะยาวทำให้เกิดเขตทะเลทรายขยายตัว ทั้งหมดที่กล่าวมา ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและที่เกิดจากมือมนุษย์ ทำให้โลกเราอยู่ในภาวะวิกฤติอย่างปฏิเสธไม่ได้

แทนที่จะมุ่งประเด็นไปกับการตอบคำถามที่ว่าสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของโลกหลักๆมาจากน้ำมือมนุษย์จริงหรือ หรือมันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของโลกที่จะต้องเป็นอย่างที่รัฐบาลของประเทศมหาอำนาจบางประเทศตั้งคำถาม ซึ่งแสดงถึงความต้องการปฏิเสธความรับผิดชอบต่อโลก เราควรทำการศึกษาภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อหาแนวทางป้องกันและบรรเทาเท่าที่มนุษยชาติจะทำได้มากกว่า เพื่อรักษาบ้าน ดาวเคราะห์โลกของเราให้เป็นบ้านที่น่าอยู่ และอยู่ได้ต่อไป

แม้ในปัจจุบัน เราทำได้เพียงตรวจวัดสิ่งที่เกิดขึ้นว่าโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งยังห่างไกลจากการวางแนวทางเพื่อรักษาให้โลกกลับไปอยู่ในภาวะสมดุลดังเดิม แต่ในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นจากภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก จำเป็นต้องมีการศึกษาถึงสาเหตุและผลกระทบของปัญหาอย่างรอบด้าน โดยเชื่อมโยงการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายระดับ ตั้งแต่ชั้นบรรยากาศ พื้นดิน พื้นน้ำ หิมะและธารน้ำแข็ง และนำผลจากการตรวจติดตามมาวิเคราะห์ถึงที่มาของปัญหา เพื่อกำหนดแนวทางป้องกันและบรรเทาต่อไป

ในบทความต่อไปนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะกล่าวถึงการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้ดาวเทียมสำรวจ โดยจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในระดับต่างๆ เพื่อให้ได้รับทราบถึงปัญหาในภาพรวม และจะกล่าวถึงเทคโนโลยีของอุปกรณ์รับรู้ในการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในแต่ละระดับ ในลำดับดังต่อไปนี้

- การเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศ
- การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเผาผลาญมวลชีวภาพ
- การเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทร ธารน้ำแข็งและหิมะบนยอดเขา

การเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศ
การเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของโลก คือปรากฏการณ์เรือนกระจกและการลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การผลักดันอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมโลกเป็นผลโดยตรงกับการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก จนเกิด "ภาวะโลกร้อน"


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_01.jpg
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
(ที่มา : http://www.grida.no/climate/vitalafrica/english/09.htm)

ก๊าซที่เป็นผลจากเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ และที่เกิดจากการเผาผลาญมวลชีวภาพเพื่อเป็นพลังงาน ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ มีเทน คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ฯลฯ ซึ่งก๊าซเหล่านี้เป็นก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลสะสมเป็นชั้นบางๆในบรรยากาศรอบๆโลก ทำให้เกิดการกักเก็บความร้อนไม่สามารถถ่ายเทไปสู่อวกาศภายนอกได้ ทำให้บรรยากาศของโลกเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกเหนือจากนี้ป่าไม้ที่เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกและเป็นแหล่งปรับระดับสมดุลความร้อนให้กับบรรยากาศก็มีปริมาณลดลง

ก๊าซโอโซนเป็นโมเลกุลของออกซิเจน (O3) โอโซนในชั้นบรรยากาศ มีทั้งผลดีและผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โอโซนที่ดีหมายถึงโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยจะป้องกันมิให้รังสี UV-B และ UV-C ผ่านลงมาสู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และพื้นผิวโลกได้ เมื่อก๊าซออกซิเจน (O2) ในชั้นสตราโตสเฟียร์ได้รับรังสี UV-C แล้วจะแตกตัวเป็นอะตอมเดี่ยวของออกซิเจน (O) ไปจับกับก๊าซออกซิเจนอื่นรวมตัวเป็นโอโซน และเมื่อโอโซนได้รับ UV-B จะแตกตัวเป็นก๊าซออกซิเจนและอะตอมเดี่ยวของออกซิเจน และจับตัวกันกลายเป็นโอโซนขึ้นอีก ทำให้ปริมาณโอโซนเกิดและสลายตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่สูญหายไปในปฏิกริยาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ถ้าในบรรยากาศมีก๊าซที่เป็นตัวเร่งปฏิกริยาสลายตัวของโอโซน ซึ่งก็คือสารประกอบจำพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ก๊าซโอโซนจะดูดซับรังสี UV แล้วแตกตัวเป็นก๊าซออกซิเจน ส่วนอะตอมเดี่ยวจะจับตัวกับก๊าซเร่งปฏิกริยา และทำให้โอโซนแตกตัวต่อๆไป ชั้นโอโซนจึงถูกทำลายลงได้อย่างรวดเร็ว


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_02.jpg
ปฏิกริยาการเกิดและการสลายตัวของโอโซนในบรรยากาศ
(ที่มา : http://www.sbg.ac.at/ipk/avstudio/pierofun/atmo/ozone.htm)


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_03.jpg
ปฏิกริยาการสลายตัวของโอโซนที่เกิดจากสารเร่งปฏิกริยา
(ที่มา : http://www.sbg.ac.at/ipk/avstudio/pierofun/atmo/ozone.htm)

ก๊าซโอโซนเองนั้นเป็นพิษกับระบบการหายใจของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นโอโซนที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์หรือบริเวณใกล้พื้นโลก จะเป็นโอโซนระดับพื้นดิน (ground-level ozone) หรือ โอโซนที่ไม่ดี โอโซนระดับพื้นดินส่วนใหญ่เกิดจากก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์และสารอินทรีย์ระเหยที่เกิดจากไอเสียยานพาหนะ โรงงาน การเผาผลาญมวลชีวภาพ ฯลฯ


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_04.jpg
โอโซนในชั้นบรรยากาศที่ต่างกัน
(ที่มา : http://www.epa.gov/oar/oaqps/gooduphigh/)

โอโซนที่ถูกทำลายในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ ส่งผลให้เกิดขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภาวะโลกร้อนหรือปรากฏการณ์เรือนกระจกขึ้นเช่นกัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนจำนวนมหาศาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในชั้นบรรยากาศเป็นส่วนสำคัญสำหรับปรากฏการณ์เรือนกระจก ทำให้สภาพแวดล้อมในบรรยากาศเลวร้ายลง นอกจากนี้ไนตรัสออกไซด์และคลอโรฟลูออโรคาร์บอนในชั้นโทรโพสเฟียร์ดูดกลืนรังสีอินฟราเรดไว้ ซึ่งเป็นส่วนทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศสูงขึ้น นอกจากนี้โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ลดลง ส่งผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจก กล่าวคือเมื่อโอโซนดีลดลงเป็นเหตุให้มีการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตจำนวนมากมายังชั้นโทรโพสเฟียร์และเป็นผลต่อเนื่องให้เกิดโอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (โอโซนที่ไม่ดี)ตามปฏิกริยาที่กล่าวข้างต้น และเนื่องจากโอโซนดูดซับรังสีอินฟราเรดได้ดี จึงเก็บความร้อนไว้ในชั้นโทรโพสเฟียร์ทำให้ชั้นบรรยากาศร้อนขึ้น จะเห็นว่าการลดลงของโอโซนและภาวะโลกร้อนเป็นผลสืบเนื่องต่อกัน ทำให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์เพิ่มสูงขึ้น

การตรวจติดตามชั้นบรรยากาศด้วยดาวเทียม
ปริมาณโอโซนในบรรยากาศจะถูกวัดในหน่วยดอบสัน(Dobson Unit) โดยการวัดความแตกต่างของปริมาณรังสี UV ที่ถูกดูดกลืนไปโดยโอโซนในสองความยาวคลื่นที่ใกล้กันมากๆ ทั้งนี้ก๊าซโอโซนจะดูดกลืนรังสี UV เพียงหนึ่งในความยาวคลื่นทั้งสองนี้เท่านั้น

ในเดือนกันยายน ค.ศ.1984 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้นำเสนอในการประชุมวิชาการเพื่อเตือนถึงปริมาณโอโซนที่วัดได้จากสถานีวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติ-กา อยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่ไม่ได้รับความสนใจ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1985 นิตยสาร Nature ได้ตีพิมพ์บทความจากนักวิทยาศาสตร์ตะวันตก เพื่อเตือนถึงโอโซนที่ทวีปแอนตาร์กติกากำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และต่อมาได้รับยืนยันถึงความเป็นไปได้ของการทำลายล้างโอโซนโดยสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_05.gif
ดาวเทียม Nimbus-7
(ที่มา : http://www.theozonehole.com/ozoneholehistory.htm)

การสำรวจโอโซนในชั้นบรรยากาศด้วยดาวเทียม ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปีค.ศ.1978 เมื่อสหรัฐฯได้ส่งดาวเทียม Nimbus-7 เพื่อการสำรวจโอโซนและส่วนประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องในชั้นบรรยากาศ ประกอบด้วยอุปกรณ์รับรู้สามชนิด คือ Stratospheric Aerosol Measurement II (SAM II), Solar Backscatter Ultraviolet (SBUV) และที่สำคัญที่สุด Total Ozone Monitoring System (TOMS)

อาจเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อสหรัฐฯได้ส่งดาวเทียมเพื่อสังเกตโอโซนตั้งแต่ปี 1978 เพราะเหตุใดไม่มีรายงานการลดลงของโอโซนที่ขั้วโลกใต้จนกระทั่งปี 1985 เหตุผลที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ ก็คือ ข้อมูลของชั้นบรรยากาศบริเวณแอนตาร์กติกาในช่วงเดือนที่วัดค่าได้ต่ำสุดที่ได้รับมานั้น ถูกตัดทิ้งไปเนื่องจากค่าที่วัดได้มีค่าต่ำมากจนถูกพิจารณาว่าเป็นความผิดพลาดของอุปกรณ์รับรู้ หลังจากที่มีข่าวการลดลงของโอโซนอย่างรุนแรงจากวงการวิทยาศาสตร์ในปี 1985 ข้อมูลเก่าๆจากอุปกรณ์รับรู้ TOMS ทั้งหมดถูกนำมาปัดฝุ่นโดยศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด (Goddard Space Flight Center, GSFC) องค์การนาซา (NASA) ตั้งแต่นั้น TOMS จึงกลายเป็นอุปกรณ์รับรู้ที่ดีที่สุดสำหรับการวิเคราะห์และการตรวจติดตามมหันตภัยในชั้นบรรยากาศ หลังจาก Nimbus-7 ในปี 1978 เป็นต้นมา TOMS ถูกนำไปติดตั้งกับดาวเทียมของรัสเซีย Meteor-3 (สิงหาคม 1991 -พฤศจิกายน 1994), Adeos ของญี่ปุ่น (กรกฎาคม 1996 – มิถุนายน 1997) และล่าสุด Earth Probe ของสหรัฐฯ (กรกฎาคม 1996 – ธันวาคม 2005) ทำให้อุปกรณ์รับรู้ TOMS เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์ปริมาณโอโซนบ่อยครั้งและต่อเนื่องที่สุด


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_06.jpg
ความละเอียดเชิงคลื่นของอุปกรณ์รับรู้ TOMS ดัดแปลงจาก
Center for Global Environmental Research, National Institute for Environmental Studies Japan
(http://www-cger.nies.go.jp/)

อุปกรณ์รับรู้ TOMS วัดการดูดกลืนของรังสี UV ในชั้นบรรยากาศ 6 ช่วงความยาวคลื่น เพื่อคำนวณปริมาณโอโซน TOMS จะเก็บข้อมูลชั้นบรรยากาศได้เฉพาะเมื่อมีแสงอาทิตย์ส่องผ่านเท่านั้น ในช่วงฤดูหนาวที่ขั้วโลกใต้จะเป็นกลางคืนตลอดหลายเดือน ทำให้ TOMS ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ สังเกตได้จากข้อมูลภาพในช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_07.jpg
ภาพแสดงปริมาณโอโซนในช่วงปี 1972 ถึง 1992 ที่ได้จากการประมวลข้อมูลจาก TOMS ที่ละติจูดต่างๆ
ที่มา : Stratospheric Ozone : An Electronic Textbook
(http://www.ccpo.odu.edu/SEES/ozone/oz_class.htm)

การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศต่ำสุดเกิดขึ้นที่บริเวณขั้วโลกใต้เหนือทวีปแอนตาร์กติกา อากาศเย็นจัดไหลเวียนรอบขั้วโลก (Polar Vortex) ทำให้ไม่มีการแลกเปลี่ยนมวลอากาศกับเขตละติจูดใกล้ศูนย์สูตร และอุณหภูมิจะต่ำลงจนถึง -80๐C ก่อให้เกิดเมฆบนชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ขั้วโลก (Polar Stratospheric Cloud) ประกอบ ด้วยกรดไนตริกและน้ำ ในรูปของอนุภาคน้ำแข็ง ช่วงกลางคืนที่ยาวนานในฤดูหนาวที่ขั้วโลกใต้ จะมีการสะสมสารเร่งปฏิกริยาทำลายโอโซนเป็นจำนวนมาก เมื่อเริ่มมีแสงแดดส่องในเดือนกันยายนถึงตุลาคม แสงจะเปลี่ยนสภาวะสารเร่งปฏิกริยา และเริ่มการทำลายโมเลกุลโอโซนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดปริมาณโอโซนลดต่ำสุดบริเวณกว้างในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม เมื่ออุณหภูมิในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น การเร่งปฏิกริยาสลายตัวของโอโซนจะลดต่ำลง


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_08.jpg
ภาพแสดงโอโซนที่ขั้วโลกใต้กินบริเวณกว้างที่สุดในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม
ที่มา : http://www.nasa.gov/centers/goddard/news/topstory/2003/1208toms.html


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_09.jpg
ภาพแสดงการขยายตัวของบริเวณที่มีปริมาณโอโซนเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนตุลาคมตั้งแต่ปี 1980 ถึง 2004
ที่มา : http://www.environment.gov.au/soe/2006/publications/drs/indicator/2/index.html

ข้อมูลปริมาณโอโซนที่ขั้วโลกใต้ ได้จาก TOMS ตลอดระยะเวลาหลายปี ถูกนำมาหาค่าเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนตุลาคมและพล็อตกราฟเทียบเคียงกับข้อมูลที่วัดได้จากสถานีวิจัยภาคพื้นดิน Halley Bay ทวีปแอนตาร์กติกา และข้อมูลจาก Back-scatter UV (BUV) ที่ติดตั้งกับดาวเทียม Nimbus-4 (เข้าสู่วงโคจร 8 เมษายน 1970 และปฏิบัติภารกิจเพียงสองปีครึ่ง) พบว่าค่าเฉลี่ยต่ำสุดของปริมาณโอโซนมีค่าลดต่ำลงอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_10.gif
กราฟแสดงปริมาณโอโซนบริเวณขั้วโลกที่มีแนวโน้มลดต่ำลงเรื่อยๆ
ที่มา : http://code916.gsfc.nasa.gov/Public/EOS/Chapter_9/

ข้อมูลจาก TOMS สิ้นสุดลงในปลายปี 2005 อุปกรณ์รับรู้อีกหลายหลายชนิดที่ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีสูงขึ้นเพื่อการวัดปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศแทนที่ TOMS หนึ่งในนั้นคือ Ozone Monitoring Instrument (OMI) ติดตั้งบนดาวเทียม Aura ซึ่งเป็นดาวเทียมที่มีภารกิจในการสำรวจชั้นบรรยากาศเป็นการเฉพาะ ถูกยิงเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2004

นอกจากการวัดปริมาณโอโซนในบรรยากาศแล้ว OMI ได้รับการออกแบบมาให้สามารถวัดส่วนประกอบอื่นๆในบรรยากาศด้วย เช่นไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โบรมีนออกไซด์ และคลอรีนไดออกไซด์ และละอองลอย ที่ทำลายชั้นโอโซน และก่อให้เกิดโอโซนระดับพื้นดิน


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_11.jpg
ภาพแสดงความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ปกคลุมบริเวณเมืองใหญ่
ข้อมูลจากอุปกรณ์ OMI ติดตั้งบนดาวเทียม Aura เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2004
ที่มา : http://svs.gsfc.nasa.gov/vis/a000000/a003000/a003074/

ดาวเทียม Aura ยังติดตั้งอุปกรณ์รับรู้อีกหลายชนิด ที่สมควรกล่าวถึงในที่นี้คือ TES (Tropospheric Emission Spectrometer) ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้สามารถเก็บข้อมูลสัดส่วนของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน มีเทน ไอน้ำ ฯลฯ ในหน้าตัดแนวตั้ง (vertical profile) ของชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ เนื่องจากการเก็บข้อมูลจากแนวดิ่งเพียงอย่างเดียว ชั้นบรรยากาศด้านล่างอาจถูกเมฆปกคลุม TES จึงเป็นอุปกรณ์รับรู้ที่สามารถเก็บข้อมูลในแนวข้าง ทำให้ได้ข้อมูลชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงต่างๆ


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_12.gif
การเก็บข้อมูลในแนวดิ่งและแนวข้าง ของอุปกรณ์รับรู้ TES
ที่มา : http://tes.jpl.nasa.gov/mission/index.cfm


http://www.space.mict.go.th/knowledge/img/climatechange01_13.jpg
ข้อมูลสัดส่วนของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซ้อนทับกับแผนที่ Google Earth
ที่มา : http://tes.jpl.nasa.gov/gallery/samplePlots_L2_Profile_Nadir_CO_5110.cfm

ภารกิจของดาวเทียมและอุปกรณ์วัดต่างๆเพื่อการเฝ้าติดตามชั้นบรรยากาศจากอดีตถึงปัจจุบันและอนาคต สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บหน้า Ozone Mission ของศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด (Goddard Space Flight Center, GSFC)http://disc.gsfc.nasa.gov/acdisc/ozone/ozone_satellite.shtml


หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ภาวะโลกร้อน > ดาวเทียมสำรวจ: ภารกิจการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก