ญี่ปุ่นเจอ แร่หายาก ในทะเลหลวง
http://hilight.kapook.com/img_cms2/ocean-13472.jpgญี่ปุ่นเจอ แร่หายาก ในทะเลหลวง (ไทยโพสต์)
ญี่ปุ่นพบแหล่งทรัพยากรแร่หายากใต้ก้นทะเลน่านน้ำสากลมหาสมุทรแปซิฟิก อัดแน่นไปด้วยแร่หายากจำเป็นต่อการผลิตสินค้าไฮเทค ทั้งทีวีจอแอลอีดีไปจนถึงรถยนต์
ยาซุฮิโระ คาโตะ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยโตเกียว ค้นพบแหล่งตะกอนเหมืองแร่ใต้ทะเลอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่หายาก พื้นที่เพียงแค่ 1 ตร.กม.ของแหล่งตะกอน มีแร่หายากเพียงพอต่อ 1 ใน 5 ของการบริโภคทั้งโลกในแต่ละปี
การค้นพบครั้งนี้เป็นผลงานของทีมสำรวจที่นำโดยคาโตะ และนักวิจัยจากสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพใต้ทะเลแห่งญี่ปุ่น ซึ่งได้ตีพิมพ์การค้นพบครั้งนี้ลงในวารสาร "Nature Geoscience" ฉบับออนไลน์ของอังกฤษในวันจันทร์ โดยระบุว่า แหล่งตะกอนแร่ธาตุที่ค้นพบตั้งอยู่ในน่านน้ำสากลทางด้านตะวันออกและด้านตะวันตกของฮาวาย รวมทั้งทางด้านตะวันออกของเกาะตาฮิติในเฟรนช์โปลินีเซีย
คาโตะให้สัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์ว่า ทีมสำรวจค้นพบแร่ธาตุหายากในดินโคลนใต้ทะเล ที่ขุดขึ้นมาจากความลึก 3.5-6.5 กม. ใต้ก้นทะเลทั้งหมด 78 แห่ง ทั้งนี้ 1 ใน 3 ของตัวอย่างที่เก็บขึ้นมา พบว่ามีแร่ธาตุหายาก "อิทเรียม" ปะปนอยู่
เขาคาดว่า ปริมาณแร่ในแหล่งตะกอนน่าจะมีสูงถึง 8 หมื่นล้านถึง 1 แสนล้านตัน มากกว่าสถิติของสำนักงานธรณีวิทยาสหรัฐที่ระบุว่า เหมืองแร่หายากที่มักพบในประเทศจีน, สหรัฐ, รัสเซีย, และสหภาพโซเวียต (เก่า) มีปริมาณแร่เพียงแค่ 110 ล้านตันเท่านั้น
นอกจากนี้ ปริมาณแร่กัมมันตรังสี "ยูเรเนียม" และ "ทอเรียม" ที่มักปะปนในเหมืองแร่หายาก และก่อความเสี่ยงจากรังสีเมื่อทำการขุดแร่ ยังมีปริมาณน้อยกว่าที่พบในเหมืองบนพื้นแผ่นดินถึง 1 ใน 5
คาโตะชี้แจงว่า แหล่งตะกอนยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ "กาโดลิเนียม", "ลูเทเทียม", "เทอร์เบียม" และ "ไดสโปรเซียม" ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตทีวีจอแบนแอลอีดีและรถยนต์ไฮบริด
เขาแจงว่า การขุดแร่จากแหล่งตะกอนจะใช้วิธีการปั๊มโคลนจากพื้นทะเลขึ้นสู่เรือ เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการแยกธาตุบนเรือด้วยสารละลายชนิดกรด หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงก็จะสามารถแยกแร่ธาตุ 80-90% ออกจากโคลนได้ คาโตะกล่าวว่า ยิ่งแหล่งตะกอนอยู่ใกล้ชายฝั่งฮาวายและตาฮิติมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งอุดมด้วยแร่ธาตุมากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะเริ่มขุดแร่อย่างเป็นทางการเมื่อใด
โดยปกติแร่ธาตุหายากที่จำเป็นต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอยู่เป็นประจำ รวมทั้งจีนที่เป็นผู้ส่งออกแร่ธาตุถึง 97% ของตลาดโลกเริ่มควบคุมการส่งออกแร่หายาก ส่งผลให้แร่ธาตุหายากมีราคาสูงขึ้น
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ได้รับผลกระทบจากราคาแร่ธาตุอย่างหนัก จนจำเป็นต้องหาแหล่งทรัพยากรผ่านหนทางอื่น โดยเฉพาะแร่ "ไดสโปรเซียม" ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตแบตเตอรี่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
http://hilight.kapook.com/img_cms2/logo/thaipost.jpg
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก graphicshunt.com ขอบคุรครับ{:5_146:} แร่ธาตุแต่ละตัวกว่าจะได้ทีวีแทบรากเลือดเลย
ขอบคุณสาระดีคับ
{:5_136:}
หน้า:
[1]