Micconn โพสต์ 2011-8-9 18:06:03

ตำนาน นางตะเคียน(เรื่องเล่ากันสืบต่อกันมาและมีเรื่องจริงอยู่ด้วยนะ)

ตำนาน นางตะเคียน(เรื่องเล่ากันสืบต่อกันมาและมีเรื่องจริงอยู่ด้วยนะ)
มาแล้ว มาแล้ว.....
ยูนะสาวซ่าประจำโรงเรียน
(ที่ไม่ค่อยมีใครอยากรังแก)
นี่คือครั้งที่ 3 ที่ฉันจะมาเล่าสู่กันฟังแล้วล่ะนะ
(และก็ยืมชื่อสมาชิกน้องสาวฉันรีนะมาอีกแล้วด้วยอ่ะนะ)
มันช่างไวจริงๆ เลยนะ
นั้นฉันเริ่มเล่าเลยนะ
เรื่องก็มีอยู่ว่า....................

คนไทยมีความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วว่า ต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุยืน
ยาวนานปี มักจะมีรุกขเทวดาสถิตอยู่ทุกต้น

รุกขเทวดาที่ประจำอยู่ตามต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ บางองค์มีฤทธิ์อำนาจสูง
สามารถบันดาลความสุขความสำเร็จมาสู่ผู้คนที่กราบไหว้บูชาได้ แต่ในขณะเดียวกัน
ก็สามารถนำความหายนะต่างๆมาสู่ผู้คนที่โค่นล้มทำลายจนถึงตายได้เช่นกัน ดังเช่นเหตุการณ์อาถรรพณ์ในหลายครั้งที่เราท่านเคยได้ยินได้ฟังมา

จิตวิญญาณอาถรรพณ์ที่ผสมผสานออกมาในรูปของความศักดิ์สิทธิ์ อันเป็น
ที่เคารพนับถือกันอย่างจริงจังนี่เอง ทำให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจน
พิธีกรรมหลายอย่างที่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับต้นไม้ หรือ ใช้ต้นไม้เป็นส่วนหนึ่ง
ในองค์ประกอบหลัก สำหรับจัดทำพิธีการสำคัญต่างๆ ด้วยเหตุนี้
จึงมีความเชื่อว่า หาทางราชการต้องการต้นไม้สูงใหญ่ไปใช้ในพิธีการ หรือ
ใช้สร้างสถานที่สำคัญต่างๆ นั้น จะต้องเข้าป่าเพื่อค้นหาไม้ใหญ่ที่มีขนาด
และลักษณะมงคลตามตำรา เมื่อพบเจอไม้ที่ถูกคุณลักษณะแล้ว
ต้องทำการอ่านประกาศดำเนินกระแสพระบรมราชโองการ ณ. ที่นั่น
ประกอบด้วยอาหารคาวหวานเป็นเครื่องบัตรพลีสังเวย
เพื่อบอกกล่าวของอนุญาตแก่รุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ ก่อนที่จะทำการตัดโค่น
นำมาใช้ประโยชน์ต่อไป การยึดถือปฏิบัติต่อๆ กันมาเช่นนี้ เป็นการบ่งชั้ได้ว่า
ความเชื่อในเรื่องราวของรุกขเทวดาประจำต้นไม้ใหญ่นั้น
นับเป็นสิ่งที่คนไทยเราให้ความสำคัญเสมอมา
แม้ในปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ หากจะกล่าวถึงสิ่งก่อสร้างที่ทำมาจากไม้ใหญ่
ซึ่งเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และมีอาถรรพณ์ในบ้านเมืองเรานั้นมีอยู่มากมายนัก
ที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็เห็นจะเป็นเสาหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประจำบ้านเมือง
ที่มีอยู่ทั่วทุกจังหวัดในไทย หรือ เสาพระเมรุ
ซึ่งจะมีให้เห็นก็แต่ในพิธีถวายพระเพลิงในราชวงศ์
รวมทั้งเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงการนำเอาความเชื่อ
ในเรื่องของจิตวิญญาณและความศักดิ์สิทธิ์ของรุกขเทวดาประจำต้นไม้
เช้าไปเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้เราจึงเชื่อกันตลอดมาว่า
ความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพณ์แห่งต้นไม้ใหญ่นั้นนับว่ามีอยู่มากมาย
โดยเฉพาะ ต้นตะเคียน ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งชั้นดี มีขนาดลำต้นเสมอกันตรงตลอด
จรดปลาย ซึ่งจัดว่าเป็นไม้หายากมีไม่มากนักในป่า
ไม้ตะเคียนนั้น ถือว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีรุกขเทวดาสถิตอยู่
ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้หญิง แต่ภาษาชาวบ้านเรียกขานกันว่า นางตะเคียนทอง
ด้วยสรรพคุณพิเศษของต้นตะเคียนดังกล่าวนี้เอง
ในสมัยก่อนต้นตะเคียนจึงกลายเป็นไม้มงคล และในขณะเดียวกันก็มี
ความอาถรรพณ์แรงกล้า ดังปรากฎเป็นตำนานจากบันทึก
ในประวัติศาสตร์ยืนยันแน่ชัดว่ามีอยู่จริงๆหลายเรื่อง
เช่น เรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เรือพระที่นั่งซึ่งใช้ไม้ตะเคียนขุดขึ้นมาทั้งลำและเก็บไว้ในคูน้ำที่แยกออกมา
จากคลองรอบพระนคร ตั้งแต่เมื่อมีการนำเรือพระที่นั่งลำดังกล่าวเข้าไปจอดเก็บอยู่นั้น
ก็มักมีคนได้ยินเสียงผู้หญิงกรีดร้องโหยหวนดังออกมาบ่อยครั้ง
จนกระทั่งต่อมามีผู้คนเรียกขานชื่อคูน้ำแห่งนี้ว่า คูไม้ร้อง
จนต้องยอมรับว่าอาถรรพณ์วิญญาณนางตะเคียน
ซึ่งสถิตอยุ่ในไม้ที่นำมาชุดเป็นเรือพระที่นั่งนั้นเฮี้ยนเอาเรื่องมากทีเดียว
ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสามารถทำให้ผู้คนที่ได้รับฟังแล้วขนหัวลุกชันขึ้นมาทันตาเห็น
ก็เป็นตำนานของ “เสาร้องไห้” ที่จังหวัดสระบุรี หรือที่เรียกกันติดปาก
จนกลายเป็นชื่ออำเภอ “เสาไห้” นั่นเอง ตามตำนานกล่าวว่า
ครั้งหนึ่งได้มีเสาตะเคียนทองต้นหนึ่งจมอยู่ในแม่น้ำมานาน
พออยู่มาก็เกิดแสดงอิทธิฤทธิ์ร้องไห้โหยหวน มาของเสาตะเคียนดังกล่าวนี้
มีมาตั้งแต่สมัยที่ทางราชการมีโองการให้ค้นหาไม้ตะเคียนมาเพื่อทำเสาชิงช้า
ที่บริเวณวงเวียนเสาชิงช้ากรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
ต้นตะเคียนดังกล่าวจึงถูกโค่นลงมา แต่ด้วยต้นตะเคียนดังกล่าวมีตรงส่วนปลายยอด
คดเล็กน้อยจึงไม่ได้ลักษณะตามที่ทางราชการต้องการ
ไม้ตะเคียนต้นนี้จึงไม่ได้รับความสนใจดูแลเท่าที่ควร
ในขณะที่นำตะเคียนต้นดังกล่าวนี้ล่องน้ำลงมาจากป่าเมืองเหนือนั่นเอง
เมื่อมาถึงบริเวณจังหวัดสระบุรี จึงถูกปล่อยให้หลุดจากเรือลากจูงและจมลง
จนในที่สุดก็เกิดเรื่องราวความเฮี้ยนของผีนางตะเคียนร้องไห้
ต่อมาจึงกลายเป็นชื่อเรียก “อำเภอเสาไห้” ในปัจจุบัน
ดังที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของต้นตะเคียนมาตั้งแต่ต้นนั้น
ก็เพื่อชี้ให้เห็นตามความเชื่อที่ว่าไม้ตะเคียนนั้นถือว่าเป็นไม้ ศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพณ์แรงกล้า ซึ่งหลายท่านก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าผีนางตะเคียนนั้นมีความดุ
และเฮี้ยนมากเพียงใด ถึงแม้ยุคนี้จะมีวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่เรื่องผีนางตะเคียนก็มักจะยังถูกเล่าขานกันอยู่ชนิดที่ว่าไม่มีวันหมด
โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีซากตอตะเคียน เรือไม้ตะเคียนโบราณที่ชาวบ้านขุดค้นพบ
หรือมีต้นตะเคียนขึ้นอยู่ ดังเช่นเรื่องราวความอาถรรพณ์แห่งป่าตะเคียน
หลังวัดแก้วตะเคียนทอง จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น
เป็นที่โจษจันกันว่าวิญญาณนางตะเคียนที่นั่นเฮี้ยนทั้งป่า
ทั้งยังมีเรื่องราวแปลกประหลาดรวมถึงอิทธิฤทธิ์ของผีนางตะเคียนในป่าแห่งนี้มากมาย
แต่เรื่องหนึ่งที่ไม่มีวันจางหายไปจากที่นี่ก็คือคำบอกเล่าที่ว่าวันดีคืนดีมักจะมีชาวบ้าน
พบเห็นดวงไฟล่องลอยออกมาจากป่าตะเคียน แล้วดวงไฟดังกล่าวนั้นจะพุ่งติดตามผู้
ที่พบเห็นไปตลอดจนถึงหน้าเรือนชานเลยทีเดียว ผู้ที่เคยพบเห็นดวงไฟประหลาดนี้
เล่าว่า ไม่ว่าจะพายเรือหนีวิ่งหนี ดวงไฟปริศนานั้นก็ยิ่งเร่งความเร็วไล่ตามไปอย่าง
ไม่ลดละ หรือเรียกว่ายิ่งกลัวก็ยิ่งหลอกหลอนอะไรทำนองนั้น
เป็นเรื่องประหลาดที่มีเกิดขึ้นมานานแล้ว
และจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีปรากฎอยู่ในบางโอกาส

ประวัติความเป็นมาของวัดแก้วตะเคียนทองแห่งนี้มีความเก่าแก่พอสมควร
นอกจากจะมีต้นตะเคียนอยู่มากมายเป็นพิเศษแล้ว ที่วัดนี้ยังมี “หลวงพ่อโต”
ปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือทุกคน
ดังที่กล่าวมานั้น เป็นเรื่องความเชื่อที่คาบเกี่ยวกับความงมงายหรือไม่
ขอได้ใช้วิจารณญาณของบรรพบุรุษของเรานั้น ก็คงจะไม่ใช่เรื่องเหลวไหล
ไปเสียทั้งหมด เพราะบางทีการเคารพต้นไม้ของพวกท่าน
อาจจะมีกลอุบายอันแยบยลซ่อนเร้นอยู่ลึกๆ
หาไม่แล้วต้นไม้ที่พวกท่านเหล่านั้นกราบไหว้คงไม่ยืนยงอยู่ได้มาจนถึงทุกวันนี้
การที่ไม่มีใครกล้าโค่นตัดต้นไม้ใหญ่ เนื่องเพราะมีความเชื่อเกี่ยวกับอาถรรพณ์เร้นลับ
ทำให้เป็นผลดีต่อไม้ใหญ่เหล่านั้น
เป็นส่วนหนึงที่ทำให้ต้นไม้ใหญ่หลายต้นสามารถยืนต้นสง่าแผ่กิ่งก้านสาขาอวดโฉม
อยู่ได้มานานนับร้อยปี หาไม่แล้ว บางทีวันนี้เราอาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นต้นไม้ใหญ่
ดังที่ได้เห็นอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นได้

ดังนั้น จึงต้องยอมรับว่าบรรพชนทั้งหลายเหล่านี้ เป็นบุคคลต้นแบบในการ
ปลุกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ให้เห็นถึงคุณค่าของต้นไม้ใหญ่รวมถึงผืนป่า
ถึงแม้ว่ามุมมองจะแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัยก็ตาม....

................................................................

ก็จบไปแล้วล่ะนะ
อย่าถามนะว่าทำไมยูนะถึงใช้สำนวน
ในการเล่าเรื่องขนาดนี้ล่ะ
นั่นก็เพราะว่าฉันอินไปกับการเล่าเรื่องในแนวนี้ไปหน่อย
น่ะนะ
...........................

ช่วยๆกันเม้นต์หน่อยนะ
หรือแนะแนวทางก็ได้นะ

เค โพสต์ 2011-8-10 02:57:17

ขอบคุณครับ

art101 โพสต์ 2011-8-12 18:25:13

ขอบจัยเน้อ...

bolero โพสต์ 2011-8-19 17:30:54

ขอบคุณครับ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ตำนาน นางตะเคียน(เรื่องเล่ากันสืบต่อกันมาและมีเรื่องจริงอยู่ด้วยนะ)