ภัยมือถือพกที่เอวมีสิทธิ์เป็นหมัน
ภัยมือถือพกที่เอวมีสิทธิ์เป็นหมัน สธ.เฝ้าระวังหวั่นโทร.นานๆ สมองเสื่อมแพทย์ระบุชัดพกมือถือที่บริเวณเอว ทำอสุจิน้อยลง 10-20% เสี่ยงเป็นหมัน
มีเอกสารยืนยันจากอเมริกาถึงผลวิจัย พวกชอบคุยนานๆ มีโอกาสเป็นโรคความจำเสื่อม ผิวหนังเหี่ยวย่น
ด้านสถาบันประสาทวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ระบุ เฝ้าระวังใกล้ชิด หากพบมีผลต่อสมองจะเตือนประชาชนทันที
ด้านสวทช. พบผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย ส่วนกลุ่มที่นิยมใช้
\"บลูทูธ\"จะยิ่งอันตรายมากกว่า
\"ระวัง!ใช้มือถือนานๆ ทำให้เป็นมะเร็งได้\"
\"อาการปวดศรีษะ หูอักเสบ ความจำเสื่อม...\"
และอีกหลากหลายกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต... โดยเฉพาะชายหนุ่ม ระวัง! อันตรายจากมือถือ
ที่ชอบพกบริเวณเอว ทำให้เป็นหมันได้ เพราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งผลให้การผลิตอสุจิลดลง
แม้เรื่องนี้จะไม่มีผลทดลองทั้งในและต่างประเทศที่ยืนยันออกมาชัดเจนก็ตาม
แต่ข้อถกเถียงและผลการพิสูจน์ก็ปรากฏให้เห็นเป็นระยะๆ
หมอชี้เสี่ยงเป็นหมันได้
น.พ.สักกะ ณ ตะกั่วทุ่ง แพทย์ด้านหู คอ จมูก โรงพยาบาลพญาไท เปิดเผยกับ ๑ผู้จัดการรายสัปดาห์๎
ว่า ตามรายงานฉบับล่าสุดของอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือ
มีฤทธิ์ที่ส่งผลให้จำนวนอสุจิของเพศชายลดลง ประมาณ 10-20 %โดยเฉพาะการพกพาโทรศัพท์มือถือบริเวณเอว
มีเอกสารฉบับหนึ่งที่ยืนยันเรื่องนี้ว่าปริมาณอสุจิลดลง ไม่แข็งแรงเช่น อสุจิที่เป็นหัว
หรือหางอาจจะขาด ไม่สมบูรณ์ที่จะวิ่งเข้าไปผสมพันธุ์ได้ แต่เรื่องนี้ไม่ได้ส่งผลถึงการเป็นหมัน
เพราะการเป็นหมันนั้น คงต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น อายุ เพศ วัย พฤติกรรมการบริโภค
การใช้ชีวิต ล้วนมีผลทั้งสิ้น๎แพทย์จากพญาไทระบุ
ส่วนระยะเวลานานเท่าไรถึงจะส่งผลกระทบดังกล่าว น.พ.สักกะ กล่าวว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า
นานขนาดไหน ซึ่งต้องใช้เวลาที่นานพอสมควร ทั้งนี้คงต้องขึ้นอยู่กับภูมิป้องกันร่างกายของแต่ละคนด้วย
สำหรับผลกระทบในด้านอื่นๆที่มาจากมือถือ เช่น การคุยโทรศัพท์นานๆ ผู้ใช้อาจเกิดอาการปวดศีรษะ
ผิวหนังเหี่ยวย่น ความจำแย่ลง เนื่องมาจากคลื่นความร้อนจากเครื่องโทรศัพท์
ซึ่งเป็นปัจจัยที่เสริมกันกับการใช้มือที่ฟุ่มเฟือย และพร่ำเพรื่อ
เพศและวัย จะไม่มีผลตอบสนองต่ออาการ และ ปฎิกริยาดังกล่าวชัดเจน
หมายถึงทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับเท่าๆกัน ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุของการเสี่ยงที่จะเกิดอาการและโรคได้
หรือการโทรคุยนานๆ โดยกดแนบทับโทรศัพท์ไว้กับหู หรือเอียงคอคุย คลื่นความร้อนที่มี
จะผสมกับความร้อนของแบตเตอรี่ส่งผลต่อประสาทหูได้เช่นกัน เช่น อาการปวดคอ ปวดหู ที่พบในบางคน๎
นอกจากนี้ ยังพบว่า อารมณ์และความเครียดของผู้ที่คุยมือถือนาน ๆ
ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นระบบประสาท ส่งผลให้เกิดอาการที่ประสาทหูได้
ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยที่มารักษาอาการหู
ที่มีสาเหตุอันเชื่อว่ามาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากมือถือ เพราะหากชี้ชัดลงไปเช่นนั้นแล้ว
ก็อาจจะส่งผลให้เกิดการฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหายติดตามได้
จึงเป็นเรื่องยากในทางการแพทย์ที่จะระบุยืนยันได้
สธ.เฝ้าระวังกระทบ ๑สมอง๎เตือนภัยทันที
ก่อนหน้านี้ ในวงการผู้ทำการวิจัยได้ตั้งข้อสมมุติฐานที่ว่า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่อาจทำให้เกิดการรั่วของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
ซึ่งจะสะสมในระบบหมุนเวียนโลหิตลงผลให้เกิดโรคความดันสูง ทั้งยังทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เป็นผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ และอาจเป็นมะเร็งในสมองได้ โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นที่นิยมโทรนานๆ
น.พ.พิชิต อนุวุฒินาวิน รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันประสาทวิทยา กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
จากผลการวิจัยของโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา จากการทดลองในคนไข้จำนวนมาก เมื่อปีที่แล้ว
ไม่พบว่าคลื่นแม่เหล็กจากโทรศัพท์มือถือส่งผลต่อระบบประสาท และความทรงจำ
ไม่พบว่าทำให้เกิดเนื้องอกในสมอง หรือสร้างปัญหาต่อระบบประสาทโดยเฉพาะในส่วนของความทรงจำ
แต่อย่างใด๎ รักษาการ ผอ. สถาบันประสาทวิทยา ระบุ
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวหากได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากมือถือนานๆ จะส่งผลหรือไม่นั้น น.พ.พิชีต
กล่าวว่า ขณะนี้ในผลการวิจัยยืนยันชัดเจนว่ายังไม่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว แต่ในระยะยาวนั้น
ยังตอบไม่ได้
ซึ่งทางสถาบันก็ติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้เป็นข้อมูลบอกกล่าวให้สาธารณชนได้รับรู้เพื่อป้องกันตนเองด้วย
เด็กและสตรี ใช้มือถืออันตรายกว่าชาย
แหล่งข่าวจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบุว่า
ข้อถกเถียงถึงอันตรายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือมีอยู่ตลอดเวลา
เนื่องจากมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ในส่วนของสวทช.ก็ติดตามอย่างใกล้ชิด
\"อันตรายจริงถึงขั้นเป็นหมัน เป็นมะเร็งนั้น ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชี้ชัดได้
ที่แน่ๆมีผลกับเซลในร่างกายของคนเรา เพราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีฤทธิ์เทียมเท่ากับโคบอลเพราะมีรังสีแกมม่า
แต่ไม่รุนแรงในระดับที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเช่นกัน๎
อย่างไรก็ดีแหล่งข่าว คนเดิมให้ความเห็นอีกว่า
คนที่ชอบพกพามือถือที่บริเวณเอวนั้นมีโอกาสเสี่ยงเป็นหมัน ตัวอสุจิลดลง 10-20 % นั้นมีโอกาสเป็นได้สูง
โดยเฉพาะในระยะเวลาต่อไป หรือในกรณีของผู้ที่ป่วยจากการเป็นมะเร็ง
หรือโรคอื่นๆคลื่นมือถือก็อาจจะเป็นตัวเร่ง-กระตุ้นที่ทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงได้
อีกทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากมือถือ จะส่งผลกระทบต่อเด็ก และเพศหญิง มากกว่าเพศชาย
โดยเฉพาะมีผลต่อการ การทำลายระบบโครงสร้างร่างกาย กรณีเด็กพบว่ากะโหลกศรีษะยังไม่แข็งแรงพอ
การกระจายของคลื่นเข้าถึงได้ง่ายและทำอันตรายได้มากกว่าในกรณีที่ใช้นานๆติดต่อกัน
นอกจากนี้ในโครงสร้างของผู้หญิงมีความสลับซับซ้อนก็มีผลได้รับอันตรายมากกว่าเช่นกัน
อุปกรณ์เสริมยังไร้มาตราฐาน
แนวทางป้องกันการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากมือถือ อุปกรณ์สื่อสารเสริม เช่น หูฟัง บลูทูธ
หรือซองหนังหุ้มมือถือ เพื่อให้มือถืออยู่ในรังสีของคลื่นไม่ทำอันตรายนั้น แหล่งจากสวทช. กล่าวว่า
กลับเป็นอันตรายมากกว่า เพราะการใช้หูช่วยฟังจะทำให้คลื่นแม่เหล็กกระจายเข้าสู่ระบบประสาทหูได้ง่ายขึ้น
เพราะสามารถกระจายเข้าถึงหูด้านใน
ขณะเดียวกันซองหนังหุ้ม
เพื่อลดคลื่นความถี่ให้น้อยลงขณะนี้ก็ไม่ได้มาตรฐานตามที่สากลให้การยอมรับ
นับเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
หรือมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.)ที่ต้องเข้ามาดูแลเรื่องนี้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทั้ง สวทช.และแพทย์ที่เกี่ยวข้องระบุตรงกันว่า การที่จะมีชีวิตไม่เสี่ยงก็คือ
การหลีกเลี่ยงให้การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือพยายามใช้ให้น้อยลง หากไม่ใช้ได้จะเป็นเรื่องดี
ที่ไม่ต้องเสี่ยงต่อคลื่นแม่เหล็ก
ขอบคุณครับ{:5_119:}{:5_146:} ขอบคุณครับ ขอบคุณมากครับ
หน้า:
[1]