การป้องกันและดูแลโรคน้ำกัดเท้า
แพทย์แนะควรใส่ใจซอกนิ้วเป็นพิเศษแม้ว่าจะกันฝนได้ แต่กันไม่ให้เท้าเปียกน้ำไม่ได้ ถ้าฝนตกหนัก ต้องเดินย่ำน้ำสกปรกตามพื้นถนนไปทำงานหรือกลับบ้านติดต่อกันหลายวันในช่วงหน้าฝน นอกจากเท้าจะชื้นหรือเปื่อยแล้ว ยังอาจจะติดเชื้อโรค ซึ่งปะปนอยู่ในน้ำสกปรกได้ ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำ หลังจากเข้าบ้านแล้วควรรีบล้างเท้าทำความสะอาด แล้วเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า หากเท้ามีบาดแผล ควรชะล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ก็จะช่วยป้องกันโรคน้ำกัดเท้าได้
โรคน้ำกัดเท้าในระยะแรกนี้ ยังไม่มีเชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้นและสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คันและแสบ การรักษาในระยะนี้ควรใช้ยาทาสเตียรอยด์อ่อนๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบมากขึ้น
ถ้าผิวเปื่อยเป็นแผล เมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ในน้ำ จะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้เกิดอาการอักเสบ บวมแดง เป็นหนองและปวด ต้องให้การรักษาโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมกับการชะล้างบริเวณแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำด่างทับทิม แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ
โรคน้ำกัดเท้า ในระยะแรกเป็นแค่ผิวแดงลอกจากการระคายเคือง เมื่อผิวลอกเปื่อยและชื้นอยู่นาน จะมีการติดเชื้อรา โรคเชื้อราที่ซอกเท้าอาจเกิดขึ้นหลังจากน้ำกัดเท้าอยู่บ่อยๆ เป็นเวลานาน เชื้อราจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผิวหนัง เมื่อเป็นเชื้อราแล้วจะหายยาก ถึงแม้จะใช้ยาทาจนดูเหมือนหายดี แต่มักจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่ เมื่อเท้าอับชื้นขึ้นเมื่อใด ก็จะเกิดเชื้อราลุกลามขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดอาการเป็นๆ หายๆ เป็นประจำ ไม่หายขาด
การดูแลป้องกันโรคเชื้อราที่เท้าไม่ให้กลับเป็นซ้ำอีกจึงมีความสำคัญ การรักษาความสะอาดให้เท้าแห้งอยู่เสมอ โดยการล้างน้ำฟอกสบู่ และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษที่บริเวณซอกนิ้วเท้า เมื่อเช็ดให้แห้งแล้ว ให้ทายารักษาโรคเชื้อรา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเรื้อรัง ทายาไม่ได้ผล อาจต้องพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเองซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อตับไต และควรรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดใช้ยาเองแม้ว่าจะดีขึ้น การหยุดยาเร็วเกินไปขณะที่เชื้อยังไม่หมด มีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีกได้ง่าย ขอบคุณมากครับ
หน้า:
[1]