นอนกรนแก้ไขได้
นอนกรน เป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการนอนที่ไม่ควรละเลย เพราะผลกระทบจากการนอนกรนสร้างปัญหาต่อการดำเนินชีวิตและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย การนอนกรนมีทั้งประเภทที่อันตรายและไม่อันตราย ซึ่งมีลักษณะดังนี้1. ประเภทที่ไม่อันตราย คือการกรนที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน ซึ่งจัดเป็นชนิดไม่อันตราย ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ใกล้ กลุ่มนี้มักมีการอุดกลั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย
2. ประเภทที่อันตราย เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากเวลาหลับ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีเสียงกรนไม่สม่ำเสมอ เมื่อยังหลับไม่สนิทจะยังเป็นการกรนที่สม่ำเสมอ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีเสียงกรนที่ไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีช่วงที่กรนเสียงดังและค่อยสลับกันเป็นช่วงๆ และจะกรนดังขึ้นเรื่อยๆ แล้วจะมีช่วงหยุดกรนไปชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจ
อันตรายจากการนอนกรนที่มีการหยุดหายใจขณะหลับ
1. ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกนอนไม่พอ ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ซึ่งเป็นผลเสียต่อการเรียน การทำงาน หรือเกิดอุบัติเหตุในการขับรถหรือการควบคุมเครื่องจักรกล
2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสามารถในการจดจำลดลง หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ
3. มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ มากขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง เช่น อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด (อาจทำให้เสียชีวิตทันที เพราะหัวใจทำงานผิดปกติขณะเกิดภาวะหยุดหายใจในช่วงนอนหลับ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าไหลตาย) ได้มากกว่าคนปกติ เป็นเหตุให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
4. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
การรักษาการนอนกรน
1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์
2. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
3. หลีกเลี่ยงการนอนหงาย โดยพยายามนอนในท่าตะแคงข้าง และนอนศีรษะสูงเล็กน้อย
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทก่อนนอน
5. กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย รักษาโดย
เครื่องช่วยหายใจ เป็นเครื่องครอบจมูกขณะหลับ เพื่อทำให้หายใจสะดวกขึ้น วิธีนี้ปลอดภัยและได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกราย
จี้กระตุ้นให้เพดานอ่อนหดตัวลง โคนลิ้นหดตัวลง
การผ่าตัวเอาส่วนที่ยืดยานออก
อาการนอนกรนไม่ได้เป็นเพียงการส่งเสียงที่สร้างความรำคาญเท่านั้น แต่อันตรายจากการนอนกรนอาจรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจและนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้ หากสังเกตุเห็นคนใกล้ตัวมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการนอนกรนควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษา
ขอบคุณครับ
หน้า:
[1]