งาน นวราตรี 6 ต.ค. 2554
ขอเชิญบรรดาผู้ที่นับถือองค์เทพทางฮินดูทุกท่านไปเที่ยวงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ ของผู้ที่นับถือ บรรดาองค์เทพต่าง ๆ นะครับที่ วัดแขกสีลมการเดินทางไปสะดวกครับ นั่งบีทีเอส ไปลงสถานี้ช่องนนทรีแล้วเดินขึ้นไปทางเส้นสีลมหรือสถานีสุรศักดิ์ครับ เดินลงมาก็จะจเอเลยครับ คนเยอะมากเป็นแสนเลยครับประวัติคร่าว ๆ ของงานนวราตรี
นวราตรี – ทุรคาบูชา
ตามปฏิทินฮินดูในรอบปีมีเทศกาลงานสำคัญต่างๆ เริ่มจากขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ไปจนถึงแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ อยู่ ๓๖ งาน หากงานที่ชาวฮินดูในสยามประเทศเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกว้างขวางคืองานนวราตรี
งานนวราตรีจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือในช่วงปีใหม่ (ขึ้น ๑ – ๙ ค่ำ เดือนห้า ) และในช่วงกลางปี (ขึ้น ๑ -๙ ค่ำ เดือน ๙ เรียกว่า สรัททิยะนวราตรี (Shardiya Navaratri) ความเชื่อเก่าแก่ของชาวอินเดียนั้นถือกันว่าในหนึ่งปีประกอบไปด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว ฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์ จึงเกิดการบวงสรวงเทพเจ้าผู้คุ้มครองเพื่อขอพลังแห่งชีวิต
http://myblog.idea2mobile.com/wp-content/uploads/2009/09/na1_log-300x225.jpg
http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTsEzp4j7E9S6QPsCGE58pKxI0zeMOe3WDvALYqx6paOo-F3GRHzZe6VC4http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSBgh50llQAQLXeoNiZMTGlZ8zFnqNw30egbkvkj8aoXy-PMsTgIIuxco8
เทศกาลนวราตรีที่ส่งมายังแดนไทย ถือเป็นช่วงที่พระแม่อุมาและขบวนเทพจะเสด็จมาสู่พื้นพิภพเพื่อประทานพรแก่ชาวโลก จึงมีการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีเก้าปางในเก้าคืน คือ
คืนแรก ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา
คืนที่สอง ปางพรหมจาริณี พระแม่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และอยู่เป็นโสด
คืนที่สาม ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง
คืนที่สี่ ปางกูษามาณฑา ทรงปราบอสูร ด้วยอาวุธ (บ้างว่าเป็นปางทุรคา)
3 ปี ผ่านไป
คืนที่ห้า ปางสกันทมาตา ทรงเลี้ยงพระขันทกุมาร โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ
คืนที่หก ปางกาตยานี ทรงปราบอสูร (บ้างว่าทรงปราบมหิษาสูร)
คืนที่เจ็ด ปางกาลราตรี หรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร
คืนที่แปด ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์
คืนที่เก้า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ
http://www.siamganesh.com/peeblur/peeblur_05.jpghttp://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSzV6JJqHmMdh_kyL7lWATnb82pJFSAOYXcYVKLEWym8Md-WyfZ8zOsLwณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม ในช่วงนวราตรีเดือนสิบเอ็ดนั้นนอกจากงานบูชาในแต่ละคืนแล้ว สิ่งที่หลายคนรอคอย คือขบวนแห่เทพเจ้าในคืนที่สุดท้าย ขบวนแห่จะเริ่มเคลื่อนไปตามท้องถนนตั้งแต่ราวหนึ่งทุ่ม โดยมีพราหมณ์ประทับทรงพระแม่อุมาทูนหม้อกลศัม บรรจุทราย น้ำ เหรียญ และเครื่องบูชา นำขบวนแห่ออกไปยังท้องถนนในย่านใกล้เคียงเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้บูชาและเทพเจ้ารับของเซ่นไหว้จากโต๊ะบูชา
นอกจากนี้ยังมีร่างทรงเจ้าแม่กาลี ขันทกุมาร และขบวนราชรถ เมื่อร่างทรงแห่ผ่าน ผู้ศรัทธาจะทุ่มมะพร้าวลงพื้น บ้างว่าเพื่อชำระล้างให้พื้นธรณีเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ บ้างก็ว่ามะพร้าวนี้แทนหัวกะโหลกที่นำมาเซ่นสังเวยพระแม่
ขอบคุณมากครับผม
หน้า:
[1]