อย่าจำนนต่อชะตากรรม
วันนี้ย่อมดีกว่าเมื่อวานและ:time:พรุ่งนี้ย่อมดีกว่าวันนี้:D
ความไม่แน่นอนของชีวิต:L
เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกชีวิตต้องเจอ:(
สติที่มั่นคง และปัญญาที่สมบูรณ์:P
จะช่วยเราได้ :handshakeอย่า..
อย่าจำนนต่อชะตากรรม:victory: ผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของความเพียรแล้ว อาจคิดว่าความขยันหมั่นเพียรในภารกิจต่าง ๆ มันเป็นทุกข์ลำบากเหนื่อยยากมิใช่หรือ จริงดังนั้นคนตกน้ำไม่ยอมว่ายมีหวังตายโดยถ่ายเดียว จะรอดมาได้แต่เฉพาะคนที่ว่ายน้ำได้หมายพึ่งตนเองเท่านั้น...(พระราชนิโรธรังสี หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี) จิตฺตสุทฺโธ ภิกฺขุ
ผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งแล้ว ผู้นั้นย่อมชนะได้ซึ่งความร้อน
อุณหัสสคือความร้อนอันเกิดแก่ตน มีทั้งภายในและภายนอก
ภายนอกมีเสือสางคางแดง ภูตผีปีศาจ เป็นต้น ภายในคือกิเลส วิชัยคือความชนะ
ผู้ที่มาน้อมเอาสรณะทั้งสามนี้เป็นที่พึ่งแล้ว
ย่อมจะชนะความร้อนเหล่านั้นไปได้หมดทุกอย่างที่เรียกว่า อุณหัสสวิชัย (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
หมากสีซูสุกอยู่ฟากนา หมากสีดาสุกอยู่ฟากนน้ำ สองสลึงบึ่งมากำเอานาหลาน
(หลวงปู่จันทา ถาวโร)
จริต
ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีมากบ้าง น้อยบ้างต่างกัน
เป็นเรื่องของสัตว์โลกที่เกิดมา ได้สร้างความดีไว้ที่ต่างกัน
ทุกคนจึงต้องเป็นตามกรรมนั้นๆ จริตของคนเราที่เกิดมาในโลก มี ๖ ประการ คือ
ราคจริต เป็นผู้ที่รักสวยรักงาม เป็นเจ้าเรือน โทสจริต เป็นผู้มักโกรธง่าย
ผูกโกรธไว้เป็นเจ้าเรือน โมหจริต เป็นผู้หลงงมงาย มืดมน วิตกจริต
เป็นผู้ไม่แน่นอน ตกลงใจไม่ได้ สัทธาจริต เป็นผู้มักเชื่อง่ายถือมงคลตื่นข่าว และพุทธิจริต เป็นผู้ใช้ปัญญาตรึกตรองมาก จริตทั้ง ๖
ประการ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้และหมั่นพิจารณาเนืองๆ ว่า
ตนนั้นตกอยู่ในจริตข้อใด หรือจริตข้อใด เป็นเจ้าเรือน เมื่อรู้แล้ว
จงกำหนดจิตของตน ให้แน่วแน่ละจริตนั้นๆ เสีย ทำบ่อยๆ จนจิตสงบ เยือกเย็น
ได้ชื่อว่า เป็นผู้ละกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นได้”
“คนเราเกิดมาทุกรูปทุกนาม รูปสังขารเป็นของไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าพระราชามหากษัตริย์ พระยานาหมื่น คนมั่งมี เศรษฐี และยาจกล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้นมีทางพอจะหลุดพ้นได้ คือ ทำความเพียรเจริญภาวนาอย่าสิมัวเมาในรูปสังขารของตน มัจจุราชมันบ่ไว้หน้าผู้ใดก่อนจะดับไป ควรจะสร้างความดีเอาไว้” (หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ)
ไผเด้น้า...ที่เคยปั่นหูกฝ้ายให้เจ้านุ่งทรงถือ ไผเด้น้า...ที่เคยบายต่างมือยามพ่อวางคราวน้อย
ไผเด้น้อ...ที่เอาหอยเอากุ้งปูปลามาทานทอด กอดสองมือแล้วหอมอุ้ม...ม่องเฮาเห็นนวนในๆ(พากันเมือบ้านแน่เด้อ...คำเอ้ย) กายและจิตจะไม่หวั่นไหวมั่นคงอยู่ตลอดไปได้ ก็ต่อเมื่อการอบรมสติกำหนดลมหายใจเข้าออกได้แล้วบริบูรณ์ดี ถ้ายังไม่บริบูรณ์ดีจริง ก็ยังต้องมีหวั่นไหวเป็นครั้งคราว เป็นบางกรณี ผู้เห็นความสุขสงบอันเกิดจากกายและจิตไม่หวั่นไหวว่าเป็นความสำคัญ จึงพากเพียรอบรมสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก หรืออบรมสมาธินั่นเอง ให้บริบูรณ์ดี เมื่ออบรมสมาธิบริบูรณ์ดีแล้ว ย่อมไม่มีเหตุการณ์ใดมาทำให้กายและจิตหวั่นไหวได้ ความทุกข์ทั้งปวงอันเกิดแต่ความอ่อนแอหวั่นไหวของกายและจิตย่อมไม่มี
ขอบคุณมากนะครับ ขอบคุณมากๆครับ ขอบคุณนะครับ
หน้า:
[1]