ที่มาของคำว่า "ก ะหรี่" "ดอ กทอง" "ลำยอง"
ที่มาของคำว่า "กะหรี่"เรื่องนี้มีคนเคยโทรศัพท์ไปถามอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ท่านจึงนำมาตอบในหนังสือ ภาษาของเรามีรายละเอียดว่า
"กะหรี่ ที่เป็นภาษาปาก อันหมายถึงหญิงโสเภณีนั้น คงพูดย่อมาจากคำว่า "ชอกกาลี"นั่นเอง ครั้งแรกผมก็คิดว่าคงจะมาจากภาษาแขกกะมังจึงได้ถามท่านศาสตราจารย์ ดร.บรรจบ พันธุเมธา ว่าเป็นคำในภาษาแขกหรือเปล่า ท่านก็บอกว่า เป็นคำในภาษาแขกแน่ แต่คำในภาษาแขกไม่ได้หมายถึงผู้หญิงโสเภณี เขามีคำว่า โฉกกฬา แปลว่า เด็กชาย และคำว่า โฉกกฬี แปลว่าเด็กหญิง
คำว่า โฉกกฬี ก็คงจะพอใกล้กลับภาษาปากของเราที่ชอบเรียกผู้หญิงสาว ๆ ที่หากินทางนี้ว่า อีหนู นั่นเอง
เข้าใจว่า คำว่า โฉกกฬี นี่เอง ที่ได้เพี้ยนมาเป็น ชอกกาลี และกร่อนมาเป็น กะหรี่ ในภาษาไทย แต่ในภาษาแขก คำว่า โฉกกฬี หาได้หมายถึงหญิงโสเภณีไม่ คำที่เขาใช้หมายถึงหญิงโสเภณีนั้น เขามีอีกคำหนึ่ง คือคำว่า รัณฑี (ผมลอกมาจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม เล่ม ๘ ครับ)
ที่มา
http://board.siamphone.com/viewtopic.php?t=229313&sid=1a43535551ea6543e4127d6231d26666
ด อกทอง เป็นคำเรียกลวดลายบนผิวหนังของตัวเห้ ที่เป็นสัตว์เลื่อยคลานนะครับ จึงนำมาใช้เป็นคำด่า
...หรืออีกที่มาหนึ่ง...
มาจากชื่อว่านในตำนานครับ ว่ากันว่าว่านชนิดนี้ หากขึ้นใกล้บ้านไหนเมื่อว่านออกดอกแล้วจะมีสีเหลืองกลิ่นลอยไปถึงไหนจะทำให้หญิงที่ได้กลิ่นนั้น เกิดอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรงจนไม่มีสติ เห็นผู้ชายคนไหนก็จะอยากร่วมด้วยไม่ว่าพ่อ หรือลูกตัวเองก็ตาม ชื่อเพราะๆ ก็ว่านสุวรรณมาลีครับ
ลำยอง น่าจะมาจากนิยายเรื่องทองเนื้อเก้าของโบตั๋น ลำยองจะเป็นผู้หญิงที่สำส่อนมาก ทั้งชีวิตมีแต่เรื่่องตัณหาราคะ แต่กลับมีลูกชายที่ดีอย่างวันเฉลิม ทองยังไงก็ยังเป็นทอง
ขอบคุนมากมายคราบ ขอบคุนคราบบ อ้าว..ดอกทองมิใช่มาจากคำประชดประชันดอกหรือ
เคยได้ยินว่าเป็นคำที่นางสนมใช้เรียกนางสนมด้วยกันที่พระราชาทรงโปรดมาก
โดยธรรมเนียมพระราชาจะเสด็จไปหานางสนมคนไหนก็จะให้ทหารเอาดอกไม้ทองไปวางที่พานหน้าห้องก็จะเป็นที่รู้กันมีนางสนมคนนึงปรนนิบัติถูกใจพระราชามาหาบ่อยมากจนเพื่อนอิจฉาเลยตั้งฉายาว่าดอกทองแบบนี้มิใช่หรือ ขอบคุณครับ ส่วนลำยองนั้นไม่เถียงอ่าน่าจะมาจากละครเจง ๆ
หน้า:
[1]