รำวงมาตรฐาน
รำวงมาตรฐานคือ การรำที่มีท่ารำเป็นแบบแผนแน่นอนรำวงมาตรฐานวิวัฒนาการมาจากการรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทยโดยผู้เล่นเดินเป็นวง อาจยืนอยู่กับที่หรือเดินรำเรียงกันเป็นวง เป็นการรำคู่ระหว่างชายกับหญิง มีดนตรีหรือร้องเพลงประกอบการรำ ดนตรีที่ใช้ประกอบการร้องคือ ฉิ่ง กรับ โทน เสียงโทนจะดังเร้าใจสนุกสนานการรำโทนนั้นใช้ภาษาที่เรียบง่าย บทร้องไม่พิถีพิถันนัก เป็นเชิงเย้าแหย่ หยอกล้อ เกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างหนุ่มสาว ทำนองเพลง การร้อง ท่ารำ การแต่งกายก็เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนาน นิยมเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ เฉพาะท้องถิ่นในบางจังหวัด ต่อมาได้มีผู้นำไปเล่นท้องถิ่นอื่น ๆ อย่างกว้างขวางเล่นทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริง ในช่วงระยะเวลาที่รำโทนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายก็มีบทเพลงใหม่ ๆทำนองแปลก ๆ เกิดขึ้นเรื่อย บางบทเพลงก็เสื่อมความนิยมลง บทเพลงใจที่เพราะกินใจก็ยังจดจำกันต่อมา เช่น เพลงยวนยาเหล ช่อมาลี ตามองตา เป็นต้น
ระหว่างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2484 - 2488) ประชาชนในกรุงเทพมหานคร (พระนครและธนบุรี) พากันนิยมเล่นรำโทนอยู่ทั่วไป และเพื่อเชิดชูศิลปะการเล่นพื้นเมืองแบบนี้ให้มีระเบียบเรียบร้อยเป็นแบบฉบับอันดีงามตามแบบนาฏศิลป์ของไทย
รัฐบาล (สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม) เกรงว่าชาวต่างชาติที่ได้พบเห็นจะเข้าใจว่าศิลปะการฟ้อนรำของไทยมิได้ประณีตงดงาม ท่านจึงได้ให้มีการพัฒนาการรำโทนขึ้นอย่างมีแบบแผน ประณีตงดงาม โดยจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์)เป็นผู้ประพันธ์คำร้องขึ้นใหม่อีก 4 บท คือ งามแสงเดือนชาวไทยรำซิมารำคืนเดือนหงาย พร้อมทั้งจัดท่ารำให้งดงาม ถูกต้องตามแบบฉบับของนาฏศิลป์ไทยในการปรับปรุงครั้งนั้นกรมศิลปากร ได้เปลี่ยนชื่อเสียใหม่จากที่เรียกว่า "รำโทน"มาเป็น "รำวง" โดยที่เห็นว่า ผู้เล่นย่อมร่วมวงกันเล่น หรือเล่นเคลื่อนย้ายเวียนไปเป็นวง
ซึ่งในระยะต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้ กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐานอีก 6 เพลง ได้แก่ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดอกไม้ของชาติหญิงไทยใจงาม ยอดชายใจหาญดวงจันทร์ขวัญฟ้า และบูชานักรบ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ ประดิษฐ์ทำนองโดย กรมประชาสัมพันธ์และกรมศิลปากร โดยมีนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมต่วน) นางมัลลี คงประภัศร์ และ นางละมุล ยมะคุปต์ ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำตามแนวทางแบบนาฏศิลป์ขึ้นโดยใช้ท่ารำจากการรำ "แม่บท" และเรียกกันว่า"รำวงมาตรฐาน" มีทั้งหมด 10 เพลง
แม้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ศิลปะแห่งรำวง ยังได้รับความนิยมต่อมาจนบัดนี้ ทั้งมีผู้เอาไปเล่นสลับเต้นรำในงานลีลาศ งานต้อนรับแขกบ้าน แขกเมืองและงานแสดงศิลปวัฒนธรรม แม้ชาวต่างประเทศก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย {:5_127:}ขอบคุณครับ{:5_127:} ต้นฉบับโพสต์โดย bangpoo เมื่อ 2012-4-22 20:04 static/image/common/back.gif
ขอบคุณครับ
ดีใจที่มีคนสนใจติดตามครับ
หน้า:
[1]