ประวัติ ของ กางเกงใน !!
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย SIR_BEER เมื่อ 2012-4-24 15:54แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย SIR_BEER เมื่อ 2012-4-24 15:51
กางเกงใน หรือที่เรียกกันเล่นๆ รู้จักกันในชื่อ กางเกงลิง ปัจจุบันมีหลากรูปแบบหลายลวดลายถูกใจผู้สวมใส่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยเฉพาะผู้หญิงนั้น แฟชั่นชุดชั้นในมีทั้งลวดลายน่ารัก สีหวานสดใส เซ็กซี่แบบสาย จีสตริง กางเกงชั้นในผ้าลูกไม้ ฯลฯ ซึ่งหากทวนถึงที่มาของกางเกงชั้นใน ว่ากันว่าน่าจะมาจากคำว่า ลิงเจอรี (lingerie) ที่หมายถึง ชุดชั้นในสตรี
ในวันวานการแต่งกายของผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุง โจงกระเบนซึ่งค่อนข้างมิดชิดรัดกุม ไพฑูรย์ ปานประชา นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้ความรู้เล่าถึงการแต่งกาย การรับวัฒน ธรรมการแต่งกายจากต่างชาติมีมานาน อย่างเช่น กระโปรงบาน เสื้อแขนพองแขนตุ๊กตาหรือแม้แต่กางเกงที่สวมใส่กันทั่วไปทั้งผู้ชายและผู้หญิงในเวลานี้
กางเกงชั้นในหรือที่เรียกกันในภาษาพูดว่า กางเกงลิง เป็นเครื่องแต่งกายที่คนไทยรับมาจากต่างประเทศและจาก คำว่า ลิงเจอรี ซึ่งมีความหมายถึงชุดชั้นในสตรี พอนำมาใช้ก็เรียกกันสั้นๆ ใช้คำหน้าและด้วยลักษณะการสวมเหมือนกับกางเกงจึงเรียกกันเป็นภาษาพูดว่า กางเกงลิง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดไขว้เขว เข้าใจกันไปว่าเป็นกางเกงที่ลิงนุ่ง แต่แท้จริงเป็นกางเกงที่สวมอยู่ด้านใน
"ชุดชั้นในของฝรั่งอาจเป็นแบบที่มีทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่อเนื่องกันมีสิ่งประดับสวยงาม แต่ด้วยที่บ้านเราเป็นเมืองร้อนจึงมีการตัดบางส่วนออกไปนำมาใช้เพียงส่วนที่เป็นกางเกงอย่างเดียว กางเกงลิงเรียกทับศัพท์ เช่นเดียวกับเสื้อเชิ้ตซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เวลาที่นำมาใช้ตัดเหลือเพียงคำสั้นๆ คำเดียว กางเกงชั้นในที่นำมาใช้มีความเหมาะสมทำให้เกิดการรัดกุมเกิดการยอมรับใช้กันมายาวนานเป็นวิถีชีวิต ซึ่งสิ่งเปรียบเทียบลักษณะเดียวกันนี้มีให้เห็นหลายเรื่อง อย่างการสวมใส่รองเท้า ซึ่งแต่เดิมก็ไม่มี แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีการสวมใส่รองเท้ากันอย่างแพร่หลายเป็นสิ่งหนึ่งที่ติดอยู่ในวิถีชีวิตคนไทย เป็นต้น"
วิถีชีวิตสิ่งที่สร้างขึ้นโดยนำมาปรับประยุกต์อย่างเหมาะสม จนกลายมาเป็นสิ่งที่ใช้กันเป็นปกติในชีวิต อีกตัวอย่างหนึ่งที่อยากยกมาให้เห็นซึ่งเป็นสิ่ง ที่นำมาจากต่างประเทศเช่นกันคือ เรื่องของการใช้ช้อนส้อมอีกตัวอย่างของการปรับประยุกต์วัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ในวัฒนธรรมไทยอย่างเหมาะสมต่อเนื่องมา
กางเกงชั้นในก็เช่นกันเป็นเรื่องของการปรับประยุกต์ใช้ที่ผสมกลมกลืนในวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหววิวัฒนาการของเสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่มที่เปลี่ยนไป และจากการยอมรับสิ่งดีงามนำมาปรับประยุกต์ใช้เหมาะกับวิถีชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมซึ่งหากสิ่งนั้นไม่เหมาะสมก็จะห่างหายไป
แต่หากเกิดการยอมรับก็จะมีการนำมาปฏิบัติใช้กัน และอะไรที่ยังคงทำหน้าที่รับใช้สังคมได้ก็จะยังคงอยู่ การจะรับสิ่งใดเข้ามาจึงควรพิจารณาให้รอบ คอบ รู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมตนเอง
เครดิต DEK-D
ขอบคุณมากครับ ขอบคุณครับ
ตั้งแต่อ้วนกางเกงคับ ใส่แล้วมันสีข้างขาเป็นแผลตอนนี้ไม่ใส่มันเลยอิอิเย็นสบายดี ขอบคุณครับ อิ..อิ.. พึ่งรู้
หน้า:
[1]