หอฟ้าเทียนถาน กับตำนวนการบวงสรวงฟ้าดิน
ความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมจีน คือสิ่งที่บ่งบอกถึงประวัติความเป็นมา ความแข็งแกร่งของเชื้อชาติ และวิวัฒนาการต่างๆที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลนั่นเอง หอฟ้าเทียนถาน ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกำแพงชั้นนอก เดิมเมืองปักกิ่งซึ่งอยู่ในตำแหน่งค่อนไปทางตะวันออกของด้านใต้พระราชวังหลวง ด้านนอกตรงฝั่งตะวันออกของประตูเมืองเจิ้งหยาง สร้างขึ้นในปีค.ศ.1420 (ปีที่ 18 แห่งรัชศกหย่งเล่อราชวงศ์ หมิง) เป็นสถานที่บวงสรวงสวรรค์ของจักรพรรดิจีนมา แต่โบราณ และถูกจัดเข้าเป็นมรดกโลกตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ค.ศ.1998http://images.thaiza.com/38/38_20100922154044..jpg
http://images.thaiza.com/38/38_20100922154312..jpg
หอฟ้าเทียนถานมีพื้นที่ 273 เฮกตาร์ เป็นโบราณสถานที่จักรพรรดิราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงใช้เป็น สถานที่ “บวงสรวงสวรรค์” และ “เซ่นไหว้เทพธัญญา หาร” พื้นที่กว้างใหญ่กว่าพระราชวังหลวง พื้นที่หอฟ้า เทียนถานทั้งหมดมีกำแพงเตี้ยล้อมรอบ กำแพงด้านใต้ ทรงเหลี่ยม ด้านเหนือทรงครึ่งวงกลม เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง “ฟ้ากลมแผ่นดินเหลี่ยม” กำแพงเตี้ยมีสองชั้น
บริเวณของหอฟ้าเทียนถานแบ่งเป็นเทียนถานด้านในและ ด้านนอกลานแท่นบูชาบวงสรวงสวรรค์เรียกว่า แท่นหยวนชิวถาน (แท่นเนินฟ้า) แท่นบูชาเทพธัญญาหารเรียกว่า หอฉี่เหนียนเตี้ยน (หอบนบานผลการเก็บเกี่ยว) อยู่ในเทียนถานด้านใน และอยู่ในแนวตั้งเดียวกัน
โดยแท่น หยวนชิวถานอยู่ใต้ หอฉี่เหนียนเตี้ยนอยู่เหนือ มีกำแพงเตี้ยคั่นกลาง สิ่งปลูกสร้างสำคัญของหอฟ้าเทียนถาน นอกจากแท่นหยวนชิวถานและหอฉี่เหนียนเตี้ยนแล้ว ยังมีตำหนักหวงฉุงยี่สำหรับสถิตแผ่นป้าย “หวงเทียน ซ่างตี้” (เทพราชสรวงสวรรค์)
ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ การบวงสรวงฟ้าดิน ของจีนโบราณมีมานานนับ 2,000 ปีก่อนคริสต์กาลตั้ง แต่สมัยราชวงศ์เซี่ยยังอยู่ในยุคสังคมทาสจักรพรรดิจีน สมัยโบราณถือว่าพระองค์เป็น “โอรสสวรรค์” จึงเคารพ บูชาฟ้าดินเป็นอย่างมาก จักรพรรดิทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์ล้วนถือพิธีการบวงสรวงฟ้าดินเป็นกิจกรรม การเมืองที่สำคัญยิ่ง และสิ่งปลูกสร้างสถานที่บวงสรวง ที่สร้างขึ้นในนครหลวงของจักรพรรดิก็มีความสำคัญไม่ น้อยเช่นกัน การก่อสร้างจึงต้องใช้กำลังคน กำลังวัสดุ และกำลังทรัพย์ ใช้เทคนิคขั้นสูง และอีกทั้งศิลปะที่สวยงามประณีตที่สุด
หอฟ้าเทียนถานสถานที่บวงสรวงซึ่ง ก่อสร้างในยุคสังคมศักดินา เป็นสถาปัตยกรรมเชิงสัญ- ลักษณ์ของสถานที่บวงสรวงทั้งหมดในจีน หอฟ้าเทียน ถานไม่เพียงเป็นไข่มุกเม็ดงามของสิ่งปลูกสร้างโบราณจีนเท่านั้น หากแต่ยังเป็นอัญมณีล้ำค่าแห่งประวัติศาสตร์การก่อสร้างของโลก
http://images.thaiza.com/38/38_201009221540441..jpg
http://images.thaiza.com/38/38_20100922154422..jpg
หอฟ้าเทียนถานเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ.1420 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 14 ปี โดยสร้างเสร็จ พร้อมกับพระราชวังหลวง เดิมชื่อว่าหอฟ้าดินเทียนตี้ถาน และเปลี่ยนชื่อเป็นหอฟ้าเทียนถานในปีค.ศ.1534 (ปีที่ 13 แห่งรัชศกเจียจิ้งราชวงศ์หมิง) ต่อมา ได้มีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงและกวางซวี้ราชวงศ์ชิง จึงมีสภาพเป็นหอฟ้าเทียนถานเช่นที่เห็นในปัจจุบัน
ภายหลังที่ชนเผ่าแมนจูได้ก่อตั้งราชวงศ์ชิงแล้ว พิธี การทุกอย่างยังคงดำเนินตามแบบราชวงศ์หมิง ยุคสมัยรัชศกเฉียนหลง เนื่องจากราชสำนักมีศักยภาพเข้มแข็ง จึงได้ปฏิสังขรณ์หอฟ้าเทียนถานขนานใหญ่ค.ศ.1747 (ปี ที่ 12 แห่งรัชศกเฉียนหลง) จักรพรรดิชิงกาวจงทรง ตัดสินพระทัยสร้างกำแพงเตี้ยทั้งด้านในและด้านนอกขึ้นใหม่ เปลี่ยนจากกำแพงดินเป็นกำแพงก่ออิฐ ตรงส่วน กลางถึงด้านบนสุดของกำแพงก่อด้วยอิฐกำแพงเมืองขนาดใหญ่สองชั้น
ตอนบนของกำแพงแท่นบูชาด้านใน ลดความกว้างลงเหลือ ๔ ฟุต ๘ นิ้ว ไม่ใช้เสาค้ำชายคากำแพง จึงมีลักษณะเป็นระเบียงทางเดินที่มีชายคาลอย หลังจากบูรณะปฏิสังขรณ์ปรับเปลี่ยนแล้ว กำแพงลานแท่นบูชาทั้งด้านในและด้านหน้าต่างก็หนายิ่งขึ้น เส้น รอบวงยาวออกไปอีก ๑๐ กว่าลี้ เป็นทิวทัศน์ที่งดงามอลังการ สิ่งปลูกสร้างสำคัญ เช่น หอฉี่เหนียนเตี้ยน ลาน แท่นหยวนชิวถาน ตำหนักหวงฉุงยี่ เป็นต้น ก็ได้รับ การบูรณะในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งยังคงสภาพมาจนถึงปัจจุบัน
http://images.thaiza.com/38/38_201009221543121..jpg
http://images.thaiza.com/38/38_20100922153525..jpg
มโนคติของการออกแบบสถาปัตยกรรมหอฟ้าเทียน ถานที่สำคัญคือ ต้องการเน้นถึงความกว้างใหญ่ไพศาลสุด สายตาของท้องฟ้า เพื่อสื่อความหมายว่า “ฟ้า” นั้นสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด ในการจัดวางแผนผัง เทียนถานด้านในตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเส้นแนวดิ่งของเทียนถาน ด้านนอก ส่วนแท่นหยวนชิวถานและหอแท่นบูชาฉี่เหนียนเตี้ยน ก็ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเส้นแนวดิ่งของเทียนถานด้านใน
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่ที่โล่งกว้างให้กับเทียนถานด้านนอกที่อยู่ทางฝั่งตะวันตก ทำให้ผู้คนเมื่อก้าวเข้าประตูใหญ่ฝั่งตะวันตก สายตาก็จะได้สัมผัสกับความโล่งกว้าง ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของสรวงสวรรค์และความเล็กนิดเดียวของมนุษย์ สถาปัตย- กรรมของสิ่งปลูกสร้างเช่น หอฉี่เหนียนเตี้ยนและตำหนัก หวงฉุงยี่ล้วนสร้างหลังคาทรงกลมยอดแหลม ไม่ว่าจะ เป็นฐานด้านนอกหรือหลังคาก็ทำเป็นชั้นล่างใหญ่กว่า ส่วนชั้นบนลดหลั่นขึ้นไป เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกถึงการเข้าใกล้สวรรค์
ทุกแห่งหนของหอฟ้าเทียนถานแฝงด้วยมโนคติและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล การออกแบบให้กำแพงเทียนถานทิศเหนือมีลักษณะเป็นทรงกลมและกำแพงทิศใต้เป็นทรงสี่เหลี่ยม เข้ากับสถาปัตยกรรมของอาคารที่สร้างเป็นทรงกลมกับกำแพงทรงสี่เหลี่ยม ทั้งหมดนี้เป็นการสะท้อนคติความเชื่อทางจักรวาลวิทยาที่ว่า “ฟ้ากลมแผ่นดินเหลี่ยม”
สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เลือกใช้กระเบื้องเคลือบสีฟ้า ลานแท่นหยวนชิวที่เน้น “เลขคู่” เสาหลัก 4 ต้นในหอฉี่เหนียน เตี้ยนเป็นสัญลักษณ์ของฤดูกาลทั้ง 4 เสาวงกลางอีก 2 วงๆ ละ 12 ต้น หมายความถึงเดือนและยามทั้ง 12 โดยล้วนแต่แฝงไว้ซึ่งมโนคติของวัฒนธรรมจีนโบราณ ทั้งสิ้น
หน้า:
[1]