♫~TROY~♫ โพสต์ 2012-5-11 20:24:37

ดอยเวยเป่าซาน ดอยวิเศษสูงตระหง่านแห่งมณฑลยูนนาน

ดอยเวยเป่าซาน ตั้งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมืองอำเภอเวยซาน มณฑลยูนนาน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ดอยนี้มีเนื้อที่ 19.4 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาหลักสูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,509 เมตร ด้านใต้ของเวยเป่าซานเชื่อมโยงกับยอดเขาไท่จิ๊ ด้านตะวันตกอยู่ริมแม่น้ำหยางกวาเจียง ด้านตะวันออกติดกับแม่น้ำอู่เต้าเหอด้านเหนือมองเห็นภูเขาชางซาน

http://images.thaiza.com/38/38_20100925110538..jpg

http://images.thaiza.com/38/38_201009251105381..jpg


   เนื่องจากเวยเป่าซานเป็นภูดอยสูงตระหง่านเต็มไปด้วยต้นไม้อันเก่าแก่เขียวชอุ่ม เคยมีแสงสายัณห์สีเขียวสาดส่องจาก กลางดอย ดอกไม้ป่ามีสีสันสดใสแปลกตาคนโบราณลือว่าดอยนี้มีพลังวิเศษ จึงตั้งชื่อว่า เวยเป่าซาน ซึ่งมีนิยามว่าดอยวิเศษสูงตระหง่าน บนดอยมีแมกไม้เก่าแก่สูงชะลูดเขียวชอุ่มชุ่มฉ่ำ น้ำพุไหล ดอกไม้บาน พืชหญ้า หลากหลาย ปี 1992 ดอยเวยเป่าซานถูกจัดเป็นวนอุทยานระดับชาติ ในประวัติศาสตร์

   ดอยเวยเป่าซาน เป็นแหล่งกำเนิดของอาณาจักรน่านจ้าวที่โด่งดังในสมัยหนึ่งพี่น้องเผ่าหยี (โลโล) ที่นั่นยังมีคำบอกเล่าที่เกี่ยวกับน่านจ้าวตกทอดกันมาจนทุกวันนี้

   ดอยเวยเป่าซาน นับเป็นภูเขาชื่อดังทางศาสนาเต๋า 1 ใน 14 แห่งของจีนเอกสารทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนเมื่อ 2000 กว่าปีก่อน มีนักบวชชื่อเมิ่งยิวไปเผยแพร่ศาสนาเต๋าที่ ดอยเวยเป่าซาน ตู้ กวางถิง นักบวชชื่อดังของราชวงศ์ถังก็ไปเผยแพร่ศาสนาเต๋าที่เวยเป่าซาน

   ต่อมาสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง นักบวชจากภูเขาอู่ตังซานมณฑลเหอเป่ยและภูเขาชิงเฉิงซานมณฑลเสฉวนได้ย้ายมาอยู่ที่ดอยเวยเป่าซาน ในช่วงระหว่างปลายราชวงศ์หมิงถึงต้นราชวงศ์ชิง มีนักบวชศาสนาเต๋าเป็นอันมากพากันไปบำเพ็ญพรตและ รับลูกศิษย์แพร่ศาสนาที่ดอยเวยเป่าซานได้สร้างหอ จุ่นถีเก๊อะ ศาลากานลู่ถิง วิหารป้้าวเอินเตี้ยน เป็นต้น 20 กว่าหลังบนพื้นฐานซึ่งเดิมทีมีวังสุนซานกง วังเหวินชางกง ศาลเจ้าซานเสินเมี่ยว วิหารหลงหวางเตี้ยนอยู่แล้ว

   ภูมิประเทศของดอยเวยเป่าซานแยกเป็นสองส่วน คือส่วนหน้าและส่วนหลังของภูเขา ศาลเจ้าและวิหารก็สร้างกระจายตามทำเลของภูมิประเทศทั้งสองส่วนที่มีเอกลักษณ์ แตกต่างกันโดยดำเนินตามลักษณะ“ธรรมะแห่งเต๋าคือธรรมชาติ” คือส่วนหน้าของดอยยาวเหยียดมียอดเขา ขึ้นๆ ลงๆ ศาลเจ้าวิหารส่วนมากจะซ่อนตัวท่ามกลางป่าดง

http://images.thaiza.com/38/38_20100925111054..jpg

http://images.thaiza.com/38/38_201009251110541..jpg


   ส่วนหลังของดอยสูงชัน ศาลเจ้าวิหารส่วนมากจะสร้างที่ หน้าผาตามลักษณะของภูเขา ฝีมือการก่อสร้างของศาลเจ้าและวิหารละเอียดประณีต ปฏิมากรรมรูปปั้นและแกะสลักเสมือนคนจริงมีชีวิตชีวา ภาพวาดและลวดลายแกะสลักฝาผนังหลากหลายรูปแบบ มีสีสันทางศาสนาอย่างเข้มข้นและมีเอกลักษณ์ประจำชนชาติ ศาสนาเต๋า ดอยเวยเป่าซานพัฒนาสู่ช่วงเจริญรุ่งเรืองในสมัยราชวงศ์ชิง สมัยนั้นมีผู้เลื่อมใสไปสักการะบูชาอย่างมาก นักบวชที่บำเพ็ญพรตที่นั่นมีมากถึงหลายร้อยรูป กลายเป็นศูนย์ศาสนาเต๋าแห่งหนึ่ง

   ดอยเวยเป่าซาน เป็นแหล่งกำเนิดของอาณาจักรน่านจ้าวสมัยราชวงศ์ถัง (ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8-10) ก่อนที่อาณาจักรน่านจ้าวจะก่อตั้งขึ้นนั้นในอาณาบริเวณแถบทะเลสาบเอ๋อห่าย (หนองแส) มีหัวเมืองของเผ่าหยีหรือเผ่าโลโล ตั้งอยู่ 6 หัวเมืองที่เรียกกันว่า 6 จ้าว หัวเมืองที่อยู่ในทำเลดอยเวยเป่าซาน เรียกว่าม่งเสอจ้าวเมื่อ ค.ศ.649หัวหน้าเผ่าหยีชื่อสีนุโลได้เป็นเจ้าเมืองของเมืองม่งเสอจ้าว

   เนื่องจากม่งเสอจ้าวตั้งอยู่ด้านใต้สุดของกลุ่ม 6 หัวเมืองหรือ 6 จ้าว เลยถูกเรียกว่าน่านจ้าวคือหัวเมืองที่อยู่ใต้ สีนุโลเลยถูกเรียกเป็นเจ้าของเมืองน่านจ้าว สี นุโลเลื่อมใสศรัทธาต่ออิทธิพลของราชวงศ์ถัง ได้ส่งบุตรชายชื่อโลเซิ่นพีไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิถังไท่จง ต่อมาสีนุโล ได้ปราบปรามและผนวกอีก 5 หัวเมืองหรือ 5 จ้าว ก่อตั้งเป็นอาณาจักรน่านจ้าว

http://images.thaiza.com/38/38_201009251110542..jpg

   โดยตั้งเมืองหลวงที่เมืองไท่เหอ (นครต้าหลี่ปัจจุบัน) สีนุโลสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์น่านจ้าว ด้วยเหตุนี้ ดอยเวยเป่าซานจึงเป็นสถานที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมบวงสรวงเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเผ่าหยี

   วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของทุก ปี ศาลเจ้าเจ้าที่น่านจ้าวในดอยเวยเป่าซานจะจัดกิจกรรม บวงสรวงเซ่นไหว้บรรพบุรุษชนชาติหยี งานบวงสรวงบรรพชนที่หมู่บ้านเฉียนซินในดอยเวยเป่า ซานจะผลัดกันจัดโดยชาวหยีในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละครัวเรือนผลัดเปลี่ยนทำหน้าที่เป็นหัวหน้างานตามลำดับ หัวหน้างาน

   นอกจากนำคนทั้งหมู่บ้านบวงสรวงบรรพชนแล้ว ยังต้องรับผิดชอบทำอาหารเตรียมเครื่องดื่ม ต้องจัดโต๊ะเลี้ยงหลายสิบโต๊ะ ความจริงการเตรียมงานเริ่มตั้งแต่ 1 ปีก่อนแล้ว เพราะต้องเตรียมอาหารเครื่องดื่มของคนจำนวนมาก ยังต้องเซ่นไหว้บรรพชนด้วยหัวหมู ดังนั้นหัวหน้างานยังต้องรับผิดชอบการเลี้ยงหมูด้วย ตามระเบียบเดิม ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านต่างต้องนำเหล้าข้าวโพด 1 ลิตรให้หัวหน้างานเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงหมูของเขา

   หลังจากเสร็จสิ้นพิธีบวงสรวงบรรพชน คนในครอบ ครัวของหัวหน้างานจะแบกหัวหมูที่โต๊ะเซ่นไหว้ไปหาผู้จะเป็นหัวหน้างานปีถัดไป โดยกล่าวว่าพวกเราได้ทำกิจกรรมบวงสรวงของปีนี้เสร็จแล้ว ปีหน้าขอให้คุณเป็นหัวหน้าการบวงสรวงบรรพชนเถอะ ขณะเดียวกันก็ตัดหู หมูมอบให้หัวหน้างานปีถัดไป ครั้นแล้ว กิจกรรมบวงสรวงประจำปีจึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์

http://images.thaiza.com/38/38_20100925111104..jpg

   แม้การบวงสรวงบรรพชนเสร็จแล้ว แต่งานอันครึก ครื้นสนุกสนานของดอยเวยเป่าซานยังไม่จบ ถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือนยี่ตามปฏิทินจันทรคติก็เป็นงานนมัสการศาลเจ้า ภูดอยเล่ากันว่าศาสดาแห่งศาสนาเต๋าเคยเสกคาถาอาคมให้แก่พระเจ้าสีนุโลเมื่อวันขึ้น 1 ค่ำเดือนยี่ หลังจากพระ องค์ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์น่านจ้าวแล้ว ทรงรับสั่งให้บุตรหลานของพระองค์ต้องไปขอบพระคุณองค์พระศาสดาเต๋าที่นั่นเป็นเวลาครึ่งเดือน

   โดยเริ่มตั้งแต่วันนั้นของทุกปีเมื่อเวลาผ่านมานานเข้าก็กลายเป็นงานนมัสการ ศาลเจ้าภูดอยในทุกวันนี้ในระหว่างงานนมัสการชาวบ้านชนชาติต่างๆ ในอำเภอใกล้เคียงของอำเภอเวยซาน ต่างแต่งกายด้วยชุดประจำชนเผ่าไปร่วมงานนมัสการด้วย ชมรมปี่พาทย์พื้นบ้านของอำเภอเวยซานบรรเลงปี่พาทย์ ศาสนาเต๋าโบราณที่ไพเราะในศาลเจ้าวิหารต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มสีสันที่น่าหลงใหลให้แก่ภูดอยชื่อดังแห่งนี้ พ่อ ค้าแม่ค้าจากท้องที่ต่างๆ ไปตั้งแผงลอยขายอาหารเครื่องดื่มของป่า ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่ดอยเวยเป่าซาน

   จน ถึงวันขึ้น 13-14 ค่ำเดือนยี่ชาวบ้านเผ่าหยี จากหมู่บ้านปริมณฑลดอยเวยเป่าซานจะแต่งกายชุดประจำชนชาติ สีสันสดใส นำเครื่องดนตรีมาชุมนุมเข้าร่วมกิจกรรมร้องรำทำเพลงที่ลานหน้าหอเผยเฮ่อ กิจกรรมบวงสรวงบรรพชนของชาวหยีที่ศาลเจ้าเจ้าที่น่านจ้าว ถึงปัจจุบันนี้ได้สืบทอดกันมานับพันปีแล้ว ทุกวันนี้พี่น้องชาวหยี ต่างปรารถนาไปเซ่นไหว้บรรพชน เสาะหารากเหง้าของตนที่ดอยเวยเป่าซานจนทำให้เวยเป่าซานได้กลายเป็น ปูชนียสถานในการเซ่นไหว้บรรพชนเสาะหารากเหง้าของ พี่น้องชาวหยีไปแล้ว

   ศาลเจ้าเจ้าที่น่านจ้าวยังเรียกว่า สุนซานเตี้ยน (วิหาร ตระเวนดอย) เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 714 ถึงปัจจุบันมีประวัตินาน 1,200 กว่าปีแล้ว เป็นศาลเจ้าเจ้าที่ใหญ่ ที่สุดของดอยเวยเป่าซาน เมื่อปี ค.ศ. 714 จักรพรรดิถังเสียนจงทรงรับคำร้องขอของพระเจ้าโลเซิ่นพีแห่งน่านจ้าว ที่จะทำรูปปั้นชุบทองของพระเจ้าสินุโลรัชกาลที่1ของอาณาจักรน่านจ้าว

   โดยทรงพระราชทานสมญานาม “มหาเทพารักษ์ตระเวนดอยแห่งดอยเวยเป่าซาน”แก่พระเจ้าสีนุโล และทรงมีพระราชโองการให้สร้างศาลเจ้า ศาลเจ้าพันปีจึงเริ่มมีตั้งแต่สมัยนั้น ต่อมาได้ปฏิสังขรณ์อยู่เรื่อยๆ สิ่งก่อสร้างสำคัญของศาลเจ้ามีวิหาร ห้องโถง ห้องด้านข้าง เป็นต้น ในวิหารมีรูปปั้นพระเจ้าสินุโลในท่านั่งประดิษฐานอยู่ ปัจจุบันเป็นโบราณสถานในการศึกษาศาสนาเต๋ากับประวัติศาสตร์และความเชื่อของน่านจ้าวผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งก่อสร้างโบราณที่มีชื่อของจีน มาดูงานที่ดอยเวยเป่าซานแล้วเห็นว่าศาลเจ้านี้เป็นศาลเจ้า ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยูนนาน

   ศาลเจ้าเจ้าที่น่านจ้าวเป็นศาลเจ้าที่ที่เก่าแก่และมี ขนาดใหญ่ในประเทศจีน เป็นศูนย์กลางและต้นตอของการนับถือเจ้าที่ของชนชาติหยี รูปปั้นสัมฤทธิ์ของกษัตริย์ น่านจ้าว 13 รัชกาลและม่งเสอโหลงบรรพบุรุษราชวงศ์ม่งเสอจ้าวและพระเจ้าเฟิ่งเจียยี่ที่ได้เป็นแค่อุปราช เป็นต้นรวม 19 องค์ได้ประดิษฐานในวิหารแล้ว ถึงวันเพ็ญ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำเดือนอ้ายของทุกปี ประชาชนชาวหยีจะฆ่าหมูและแพะพากันไปเซ่นไหว้พระเจ้าสินุโล กษัตริย์องค์ปฐมฤกษ์ของน่านจ้าวที่ศาลเจ้าเจ้าที่ปัจจุบัน

   หลังจากที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอำเภอเวยเป่าซานได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ชื่อเสียงของศาลเจ้าเจ้าที่น่านจ้าวก็โด่งดังขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนชาวหยีที่ไปเสาะหารากเหง้าบรรพบุรุษและนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติที่ไปทัศนาจรได้หลั่งไหลสู่ดอยเวยเป่าซานอย่างไม่ขาดสาย

   ศาลเจ้าเจ้าที่น่านจ้าวได้สืบทอดประวัติศาสตร์การนับถือสักการะบรรพชนชาวหยี นับเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งการส่งเสริมเชิดชูคุณธรรมที่เคารพผู้สูงอายุ รักเด็ก กตัญญูกตเวที อันเป็นประเพณีอันดีงามที่ตกทอดกันมาของประชาชาติจีน

chabar0607 โพสต์ 2012-6-11 10:16:41

ขอบคุณมากมาก
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ดอยเวยเป่าซาน ดอยวิเศษสูงตระหง่านแห่งมณฑลยูนนาน