Medmayom โพสต์ 2012-5-22 11:11:12

พึงระวัง โรคร้ายหน้าฝน



http://img.kapook.com/image/iStock_000004881762XSmall_3_1.jpg
          แต่ละฤดูกาลมักมีโรคประจำฤดูให้เราต้องระมัดระวังอยู่เสมอ ยิ่งยามนี้ฤดูกาลเกิดปรวนแปรอันมีสาเหตุจากภาวะโลกร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็พัฒนาสายพันธุ์ตาม ก่อเกิดโรคใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะยากต่อการรับมือและการดูแลตัวเองอยู่บ้าง เราจึงจำเป็นต้องหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน
          1.โรคไข้สมองอักเสบ

          เกิดจากการอักเสบของเนื้อสมองทั่วๆ ไปหรือเฉพาะบางส่วนจากเชื้อไวรัส เนื่องจากสมองอยู่ติดกับเยื่อหุ้มสมองจึงอาจพบการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองร่วมกับการอักเสบของสมองด้วยได้ เมื่อเป็นแล้วมีอัตราการตายสูง หากรอดชีวิตมักมีความพิการหรือผิดปกติทางสมองตามมา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะแตกต่างไปตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก สภาวะอากาศฤดูกาล โอกาสในการสัมผัสกับสัตว์นำโรค และภูมิต้านทานของผู้ป่วย

          http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif อาการ

          มี 2 ลักษณะ คือติดเชื้อเฉียบพลัน มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร กลัวแสง คอแข็ง ชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงภายในเวลา 1 สัปดาห์ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่เป็นเรื้อรังอาการแสดงจะค่อยเป็นค่อยไป อาจมีไข้หรือไม่ก็ได้ โรคไข้สมองอักเสบยังไม่มียาเฉพาะรักษา เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ

          http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gifการป้องกัน


          1.หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ


          2.ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย


          3.ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง


http://img.kapook.com/image/iStock_000004545624XSmall.jpg
          2.โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

          คือ การที่ร่างกายมีภาวะการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้ง ต่อวัน หรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรียไวรัส โปรโตซัว ปรสิต และหนอนพยาธิ

         http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif อาการ

          ในทารกและเด็กเล็กๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจมีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด ต่อมามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายอุจจาระเหลวตามมา โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอยู่นาน 1-6 วัน สามารถป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหารและการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

          http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif การรักษา

          1.ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ


          2.ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหารเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
         
          3.เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้น ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้นอาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้ กระหายน้ำ กว่าปกติ มีไข้สูง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด ก็ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์


http://img.kapook.com/image/iStock_000009478907XSmall.j.jpg
          3.โรคเยื่อบุตาอักเสบ

          เยื่อบุตาอักเสบ อาจเกิดจากภูมิแพ้หรือเกิดจากการติดเชื้อโรคก็ได้ อาการทางภูมิแพ้มักจะเกิดที่ตาเนื่องจากตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก เส้นเลือดเหล่านี้ตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้ง่าย และที่สำคัญตาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม ภายนอก เช่น เกสรดอกไม้ รังแคสัตว์ ยา ควันบุหรี่ สารภูมิแพ้เหล่านั้นจะละลายในน้ำตา และกลับสู่เยื่อบุตาซึ่งจะสร้างสารต่อต้านสารภูมิแพ้ที่เรียกว่า Antibody IGE เมื่อภูมิจับกับAntibody จะเกิดการหลั่งสารหลายอย่างทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น ตาจะมีอาการเคืองแดงและมีน้ำตาไหล


            http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif การดูแลตัวเอง

          เมื่อเกิดอาการเคืองตาและสงสัยว่าเกิดจากการภูมิแพ้ ควรจะหลีกเลี่ยงจากสิ่งก่อภูมิแพ้ทันที อาจจะซื้อน้ำตาเทียมซึ่งจะทำให้ลดอาการบวมและชะล้างสารก่อภูมิแพ้ ใช้ผ้าเย็นปิดตาเพื่อลดอาการบวม อาจจะซื้อยาแก้แพ้รับประทาน หากดูแลตัวเองแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ ซึ่งจะให้ยาหยอดตาแก้แพ้

          http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif การใช้ยาเพื่อรักษา

          ใช้ยาแก้แพ้ antihistamine ซึ่งใช้ได้ทั้งชนิดยาหยอดตาและยารับประทาน ยาหยอดตาเพื่อให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อลดอาการบวมของเยื่อบุตา และยาหยอดตา steroid

http://img.kapook.com/image/shutterstock_26317564_300.jpg
          4.โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)


          เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียวมีชื่อว่า Leptospirosis จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือหนู แต่สัตว์ต่างๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย

          http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif การติดต่อ

          ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยอยู่ในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ซอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำหรือคนที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนานๆ

          http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif อาการ

          คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ ในผู้ที่มีอาการมักแสดงหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่องถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย หรืออาการทางสมองและระบบประสาท และอาจถึงตายได้ (อัตราการตายอาจสูง ถึงร้อยละ 10 –40)


          http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif การรักษา

          โรคนี้หากรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะโรคได้ผลดีกว่าปล่อยให้มีอาการรุนแรงแล้วจึงรักษา เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายจากการแพ้ยา หรือใช้ยาที่ไม่ถูกต้องได้ ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง


         http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gifการป้องกัน

          ไม่เดินย่ำหรือแช่น้ำอยู่ในที่ท่วมขัง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้ป้องกันการสัมผัสน้ำโดยใช้ รองเท้าบู้ทยาง ถุงมือยาง เป็นต้น ควรฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงเพื่อไม่ให้เป็นรังโรค กำจัดหนู และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู


http://img.kapook.com/image/shutterstock_32985316_300.jpg
          5.โรคปวดศีรษะ (Headache)


          ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ใหญ่เคยปวดศีรษะมาแล้วไม่มากก็น้อย หากเป็นมากก็จะมีผลกระทบต่อการทำงาน การปวดศีรษะมีหลายชนิดชนิดที่พบบ่อยคือ

          http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif ปวดศีรษะแบบเทนชั่น (tension headache ) เกิดจากกล้ามเนื้อหนังศีรษะและกล้ามเนื้อ โดยรอบมีอาการเกร็ง การปวดนี้จะปวดอยู่รอบนอก ส่วนมากจะมีปัจจัยมาจากความเครียด กังวลเรื่องงาน และความแปรปรวนทางอารมณ์ต่างๆ

          http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif ปวดศีรษะแบบไมเกรน (migraines) จะปวดรุนแรง ปวดแบบตุ๊บๆ ของศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง คนไข้บางคนมีอาการคลื่นไส้และมีความรู้สึกไวต่อแสง ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดแบบไมเกรนนี้จะปวดนาน ปัจจัยที่ทำให้เป็นไมเกรน คือพักผ่อนน้อย นอนดึก น้ำตาลในเลือดต่ำ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากอารมณ์หงุดหงิดบ่อย หรือร่างกายอ่อนเพลียหลังจากตรากตรำทำงานมาก ปวดแบบไมเกรนมักเกิดกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ มักปวดในขณะที่มีประจำเดือนหรือก่อนมีประจำเดือนและมักจะมาตามพันธุกรรม

          http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif การรักษา

          ยารักษาไมเกรนนอกจากจะมียาแก้ปวดทั่วไปแล้ว มักจะต้องใช้ยาพวกเออร์กอต (ergotderivatives) ร่วมด้วยจึงหายปวด หากรับประทานยาเออร์กอตภายใน 2 ชั่วโมงที่เริ่มเป็น มักจะหายปวดได้เร็ว สำหรับคนที่เป็นบ่อยจะใช้ยา flunarizine รับประทานก่อนนอนเพื่อป้องกันการปวดได้


http://img.kapook.com/image/1205918951_300.jpg
          6.โรคปอดอักเสบ

          โรคปอดอักเสบ (นิวโมเนีย-Pneumonia) หรือ “โรคปอดบวม” เป็นโรคที่อันตรายและพบว่าที่ป่วยเป็นโรคนี้มากในช่วงฤดูฝน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ไม่ค่อยแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคต่ำ โดยมากจะพบกับผู้ป่วยที่เคยมีอาการไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ต่อมทอมซิลอักเสบ หัด อีสุกอีใสไอกรน ฯลฯ อยู่แล้ว แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอันตรายเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอื่นๆ แทรกตามมา เช่น ฝีในปอด มีหนองในช่องหุ้มปอด, ปอดแฟบ, หลอดลมพอง, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, เยื่อบุช่องท้องอักเสบ, ข้ออักเสบเฉียบพลัน, โลหิตเป็นพิษ ที่สำคัญคือภาวะขาดออกซิเจนและภาวะขาดน้ำ ซึ่งถ้าพบในเด็กเล็กและคนแก่ อาจจะทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

          http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif สาเหตุ

          โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดมาจาก การติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย (ไข้หวัดใหญ่ หัด และอีสุกอีใส ) เชื้อรา และสารเคมี ฯลฯ โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมีหรือเศษอาหารเข้าไปในปอด การแพร่กระจายของเชื้อไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา ให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น

          http://img.kapook.com/image/icon/flower2.gif อาการ
         
          มีไข้ขึ้นสูงประมาณ 39 – 40 องศาเซลเซียส และอาจมีอาการจับไข้ตลอดเวลา หนาวสั่นหายใจเร็วแต่ถี่ๆ(หอบ) หน้าแดง ริมฝีปากแดง ลิ้นเป็นฝ้า ในระยะแรกอาจมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่ต่อมาเสมหะมีสีขุ่นข้นออกเป็นสีเหลือง สีเขียวหรือมีเลือดปน ส่วนอาการที่พบในเด็กโตและผู้ใหญ่นั่น อาจมีอาการเจ็บแปล๊บในหน้าอกเวลาหายใจเข้า หรือเวลาไอแรงๆ บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หัวไหล่ สีข้าง หรือท้องด้วย ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้องท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่าย หรือชัก ถ้าเป็นมากๆ อาจมีอาการตัวเขียว ริมฝีปากเขียว ลิ้นเขียว และเล็บจะเริ่มกลายเป็นสีเขียว

          http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif การรักษา
   
          1.สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มเป็น ยังไม่มีอาการหอบให้ดื่มน้ำมากๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ให้ยาลดไข้และยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการดีขึ้นใน 3 วัน ควรให้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือกลับมีอาการหอบควรไปโรงพยาบาล

          2.ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ รีบให้ยาปฏิชีวนะ แล้วส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ควรให้น้ำเกลือระหว่างเดินทางไปด้วย

http://img.kapook.com/image/1234234660_300.jpg
          7.ไข้เลือดออก

          เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู้คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

         http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif วิธีป้องกัน

          พยายามไม่ให้ยุงกัด ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยิ่งมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้

http://img.kapook.com/image/shutterstock_30306583.jpg
          8.โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1

          หรือเราอาจเรียกกันติดปากว่า "ไข้หวัดใหญ่ 2009" เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาก มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโก อเมริกา และแคนาดา กระทรวงสาธารณสุข ประกาศคำแนะนำเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ฉบับที่ 5 สำหรับประชาชนทั่วไป นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สร้างสุขนิสัยในการป้องกันโรคเน้นกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ และใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการไอ ผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศหากมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัว ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศภายใน 7 วัน แนะนำไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อตรวจโรค


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://img.kapook.com/image/Logo/Health%20plus_logo.jpg



dgb โพสต์ 2012-5-22 11:45:20

ขอบคุณครับ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: พึงระวัง โรคร้ายหน้าฝน