อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี มีอายุยืนยาวถึง 133 ปี แล้ว
https://encrypted-tbn1.google.com/images?q=tbn:ANd9GcTuafU7iBxh2fJmn9g5X3aTnsEqjCaroQbm7Yr_gbgp-YyTphI3Yg https://encrypted-tbn2.google.com/images?q=tbn:ANd9GcSIuaUW3oXR3fYlz4ekf-E1InTGdFyy8yGmqtq9tfXX6IAntRAAwA
อ่างศิลาในปัจจุบัน คนพื้นที่ดั้งเดิมเรียกกันว่า "อ่างหิน" สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวตะวันตกและคนบางกอก มาพักตากอากาศกันมาก ชื่ออ่างหินก็เริ่มเปลี่ยนแปลงให้ดูเป็นสากลมากขึ้น โดยมีหลักฐานบันทึกถึงชื่อ "อ่างศิลา" ดังนี้...
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี ได้ประทับแรมที่อ่างศิลา โดยมีลายพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2419พรรณนาอ่างศิลา ตอนหนึ่งว่า
https://encrypted-tbn1.google.com/images?q=tbn:ANd9GcR2dWupf_P2KWw7y4izlOvUjEdiT1b0rYIKuj5lNJV7P4st2lkSBw
"...เรียกชื่อว่าอ่างศิลานั้น เพราะมีแผ่นดินสูงเป็นลูกเนิน มีศิลาก้อนใหญ่ๆ เป็นศิลาดาด และเป็นสระยาวรี อยู่ 2 แห่งๆหนึ่งลึก 7 ศอก กว้าง 7 ศอก ยาว 10 วา แห่งหนึ่งลึก 6 ศอก กว้าง 1 วา 2 ศอก ยาว 7 วา เป็นที่ขังน้ำฝน น้ำฝนไม่รั่วซึมไปได้
ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบตี เห็นว่าเป็นประโยชน์กับคนทั้งปวงจึงให้หลวงฤทธิ์ศักดิ์ชลเขตร ปลัดเมืองชลบุรี เป็นนายงานก่อเสริมปากบ่อกั้นน้ำ มิให้น้ำที่โสโครกกลับลงไปในบ่อได้ ราษฎร ชาวบ้านและชาวเรือไปมาได้อาศัยใช้น้ำฝนในอ่างศิลานั้น บางปีถ้าฝนตกมาก ถ้าใช้น้ำแต่ลำพังชาวบ้านก็ได้ใช้น้ำทั้งสองแห่งและบ่ออื่นๆ บ้างพอตลอดปีไปได้ บางปีฝนน้อย ราษฎรได้อาศัยใช้แต่เพียง 5 เดือน 6 เดือน ก็พอหมดน้ำในอ่างศิลา แต่น้ำในบ่อแห่งอื่นๆ ที่ราษฎรขุดขังน้ำฝนไว้ใช้นั้น มีอยู่หลายแห่งหลายตำบล ถึงน้ำในอ่างศิลา สองตำบลนี้แห้งไปหมดแล้วราษฎรก็ใช้น้ำบ่อแห่งอื่นๆ ได้จึงได้เรียกว่า "บ้านอ่างศิลา" มาจนถึงทุกวันนี้"
https://encrypted-tbn2.google.com/images?q=tbn:ANd9GcRhHL7eclXqAxbcDWkgZfJNzGAQHeBvpWAS-Mv5b9HD9FxQwDUHyw
ปัจจุบันอ่างศิลายังเป็นชุมชนชาวประมง มีสินค้าอาหารทะเลแปรรูปจำหน่ายมากมาย รวมทั้งมีสินค้าหัตถกรรมขึ้นชื่อคือ ครกหิน และผ้าทออ่างศิลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมารับประทานอาหารทะเล และซื้อของฝากกันมาก
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในอ่างศิลา
https://encrypted-tbn3.google.com/images?q=tbn:ANd9GcTyQtFSGRt2V-LieRI9URwBhG219b2SOqh9nrnoZiqKwONIZOFICw
http://img.kapook.com/image/travel/ico-1728.gif พระตำหนักมหาราช พระตำหนักราชินี
เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "อิทธิพลทางตะวันตกแบบเมืองขึ้น" ตึกทั้งสองหลังนี้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ในระหว่างที่ทรงสำเร็จราชการแทน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จประพาสยุโรป พระราชทานนามตึกหลังใหญ่ว่า "ตึกมหาราช" ตึกหลังเล็กว่า "ตึกราชินี"กรมศิลปากรได้ประกาศให้ตึกทั้งสองหลังขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539
https://encrypted-tbn3.google.com/images?q=tbn:ANd9GcQKFNb-YBXVPaZak4J-Apu1QXm8uQFcUvCPffojEPsPTuBb12E-Ow
http://img.kapook.com/image/travel/ico-1728.gif วัดอ่างศิลา
เดิมชื่อ "วัดนอก" ตั้งอยู่ใกล้กับ "วัดใน" ภายหลังรวมกันเป็น วัดอ่างศิลา พระอุโบสถของวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2243 อายุกว่า 300 ปี ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีหมู่เจดีย์ 3 องค์ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอีกด้วย ปัจจุบันวัดอ่างศิลาเป็นที่รู้จักของนักสะสมพระปิดตา และหลวงปู่หิน ซึ่งเป็นที่สักการะและนับถือของชาวอ่างศิลา
https://encrypted-tbn0.google.com/images?q=tbn:ANd9GcRv2RDk1HsBDj8GeoOhQ6nsI5zs1yEE8UM59gMjc0nLLKCwup-7rQ
http://img.kapook.com/image/travel/ico-1728.gif สะพานปลาอ่างศิลา
เดิมเรียกว่า "สะพานหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาดีกรมท่าสร้างสะพานหินให้ยาวออกไปในทะเลจนพ้นเขตศิลาใต้น้ำ ปัจจุบันเป็นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลา มีสินค้าท้องถิ่นและอาหารทะเลจำหน่ายหลากชนิด
http://img.kapook.com/image/travel/ico-1728.gif ฟาร์มหอย
มีการเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลองภู่ฟาร์มหอยนางรม เป็นหอยนางรมปากจีบ เลี้ยงแบบพวงอุบะแขวน โดยแขวนใต้นั่งร้านไม้ไผ่ ส่วนฟาร์มหอยแมลงภู่ เลี้ยงแบบปักหลักลงใต้น้ำทะเล
http://img.kapook.com/image/travel/ico-1728.gif จุดแวะชมค้างคาว ป่าโกงกาง
เป็นป่าชายเลนตามแนวชายฝั่ง มีค้างคาวแม่ไก่ อาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนบริเวณป่าโกงกางเป็นจำนวนมาก
https://encrypted-tbn3.google.com/images?q=tbn:ANd9GcTjNppe5tGF9WpuWaK7M-7A8Ors1IYq1gP5n8KqE7tNNXYAKa09
http://img.kapook.com/image/travel/ico-1728.gif ศาลเจ้าหน่าจาไท้จื้อ
อยู่ระหว่างทางจากตลาดอ่างศิลา ไปเขาสามมุข สร้างขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 เดิมสร้างเป็นศาลเจ้าขนาดเล็ก บนเนื้อที่ 200 ตารางวา เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2541สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 องค์ และประทานนามศาลเจ้าแห่งนี้ว่า "วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม" โดยมีการขยายอาคารและเนื้อที่ รวม 25 ไร่
https://encrypted-tbn1.google.com/images?q=tbn:ANd9GcSVNvkjQ_RozUJSweiFGeFar09x8pN760eFNIlmoZv93oHyLWWX4g http://img.kapook.com/image/travel/ico-1728.gif ตลาดอ่างศิลา
เดิมตลาดอ่างศิลามีถนนเพียงสายเดียว สร้างในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ พ.ศ. 2501 ต่อมาจึงมีการสร้างถนนสายลงทะเลขึ้นอีกสายหนึ่ง และเชื่อมต่อยาวไปจนถึงเขา สามมุข อาคารบ้านเรือนทั้งสองฝั่งถนนในตลาดเก่ามีจำนวนประมาณ 180 หลัง ด้วยลักษณะทางธรณีวิทยาในเขตอ่างศิลาประกอบด้วยหินแกรนิตซึ่งมีสีขาวนวลและ สีเหลืองอ่อน มีความแกร่งมาก ทำให้เกิดเป็นอาชีพการทำ "ครกหิน" ปัจจุบันเป็นสินค้าที่ระลึกที่ขึ้นชื่อที่สุดของอ่างศิลา
ในปี 2552 อ่างศิลามีอายุ 133 ปี ชาวอ่างศิลาได้ร่วมกันฟื้นฟูบรรยากาศตลาดเก่าให้คึกคัก โดยมีสินค้าอาหารมาจำหน่ายมากมายในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 10.00 – 19.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะกรรมการตลาดเก่า อ่างศิลา 133 ปีโทร. 0 3839 8497, 08 0993 6743
http://hilight.kapook.com/img_cms/dookdik/ann-181.gifรักการท่องเที่ยว
ขอขอบคุณข้อมูล
http://img.kapook.com/image/travel/TOT_2.jpg
น่าเที่ยวมาก เดียวนี้เหมือนกะถูกตัดออกนอกทางเที่ยวเลยคับ
หน้า:
[1]