พัฒนาการของธงชาติไทย
ภาพธงระยะเวลาการใช้การบังคับใช้ธงลักษณะ
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0a/Flag_of_Thailand_%28Ayutthaya_period%29.svg/100px-Flag_of_Thailand_%28Ayutthaya_period%29.svg.pngสมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325
(ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398
(ธงเรือเอกชน)ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแดงเกลี้ยง
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ef/Flag_of_Thailand_%281782%29.svg/100px-Flag_of_Thailand_%281782%29.svg.pngพ.ศ. 2325 - 2360พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปวงจักรสีขาว
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6c/Flag_of_Thailand_%281817%29.svg/100px-Flag_of_Thailand_%281817%29.svg.pngพ.ศ. 2360 - 2398พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกในวงจักรสีขาว
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d7/Flag_of_Thailand_1855.svg/100px-Flag_of_Thailand_1855.svg.pngพ.ศ. 2398 - 2459พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธง
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/dd/State_Flag_of_Thailand_%281916%29.svg/100px-State_Flag_of_Thailand_%281916%29.svg.pngพ.ศ. 2459 - 2460พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ)
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธง
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/2a/Flag_of_Thailand_%281916%29.svg/100px-Flag_of_Thailand_%281916%29.svg.pngพ.ศ. 2459 - 2460พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459 (ในชื่อ "ธงค้าขาย")ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 9 ส่วน กว้าง 6 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีแดงตรงกลางกว้าง 2 ส่วน
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a9/Flag_of_Thailand.svg/100px-Flag_of_Thailand.svg.pngพ.ศ. 2460 - ปัจจุบันพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีน้ำเงินขาบตรงกลางกว้าง 2 ส่วน
[แก้]
ขอขอบคุณภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
เกร็ดเล็กๆๆ เรื่องการเปลี่ยนธงชาติไทยจากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นได้มีสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แล้วต้องส่งทหารไทยไปรบ รัชกาลที่ 6 ต้องออกไปส่งทหารเพื่อไปรบ เลยสั่งให้ทหารชักธงขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อชาติก่อนที่จะส่งทหาร แต่ทว่าทหารกลับติดช้างกลับหัว รัชกาลที่ 6 เลยคิดว่ามันคงไม่ดีแน่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ ประกอบกับรัชกาลที่ 6 ปรสบปัญหาเรื่องการเมืองภายใน เลยต้องนำเอาธงไตรรงค์ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบนนี้มาใช้นั่นเอง
คำหมายของสีธงชาติ
ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ ใน พ.ศ. 2470 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงธงชาติจากบุคคลกลุ่มต่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีการเปลี่ยนธงชาติหลายครั้ง กรมราชเลขาธิการได้รวบรวมความเห็นเรื่องนี้จากที่ต่างๆ รวมทั้งในหนังสือพิมพ์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งในบรรดาเอกสารดังกล่าว ปรากฏว่าในหมู่ผู้ที่สนับสนุนให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป ได้มีการให้ความหมายของธงที่กระชับกว่าเดิม กล่าวคือ สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงพุทธศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ไปเล็กน้อย แต่ยังครอบคลุมอุดมการณ์ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้เช่นเดิม และยังเป็นที่จดจำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
สุดท้ายก็ขอฝากเพลงชาติไทยเอาไปไว้ให้ทุกท่านเสพกันได้นะครับ ^^คลิ้กเพื่อฟัง
ขอบคุณมากครับ {:5_146:}
หน้า:
[1]