เลี้ยงผีปู่แสะ-ย่าแสะ
http://www.openbase.in.th/files/u10/lannakhadee162.jpg http://www.openbase.in.th/files/u10/lannakhadee163.jpghttp://www.openbase.in.th/files/u10/lannakhadee164.jpghttp://www.openbase.in.th/files/u10/lannakhadee165.jpghttp://www.openbase.in.th/files/u10/lannakhadee166.jpgผีปู่แสะย่าแสะ เดิมเป็นผีที่ดูแลรักษาเมืองเชียงใหม่ แต่ต่อมาผีปู่แสะย่าแสะและลูกหลานดูแลเฉพาะในเขตนอกเมือง ( เพราะมีผีตนอื่นดูแลในเขตเมืองอยู่แล้ว ) เรื่องของผีปู่แสะย่าแสะปรากฎในตำนานเชียงใหม่ปางเดิม และตำนายวัดดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวกันว่า เดิมเป็นผีบรรพบุรุษของพวกลวะที่อาศัยอยู่ในบริเวณเชิงดอยสุเทพ มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงเชิงดอยคำได้พบยักษ์ สามตนพ่อแม่ลูก ซึ่งยังชีพด้วยเนื้อสัตว์และเนื้อมนุษย์ เมื่อยักษ์ทั้งสามเห็นพระพุทธเจ้าก็จะจับกิน แต่พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาจนยักษ์ทั้งสามเกรงในพระบารมีจึงยอมแสดงความเคารพ พระพุทธเจ้าจึงทรงเทศนาและให้ยักษ์ทั้งสามรักษาศีลห้า แต่ผีปู่แสะย่าแสะไม่อาจรับศีลห้าได้ตลอดจึงขอกินเนื้อมนุษย์ปีละสองคน เมื่อพระพุทธองค์ไม่อนุญาต ก็ขอต่อรองลงมาเรื่อย ๆ จนขอกินเนื้อสัตว์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสบอกให้ไปถามเจ้าเมืองเอาเอง แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไป โดยไว้พระเกศธาตุที่ต่อมากลายเป็นพระธาตุดอยคำผีปู่แสะย่าแสะได้รับอนุญาติจากเจ้า เมืองให้กินควายได้ปีละครั้ง จึงได้มีประเพณีฆ่าควายเอาเนื้อสดสังเวยผีปู่แสะย่าแสะ ส่วนบุตรของปู่แสะย่าแสะได้บวชเป็นฤาษีชื่อสุเทวฤาษีแต่เดิมนั้น กษัตริย์ ขุนนาง และชาวบ้านจะร่วมกันทำพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะเป็นประจำทุกปี ต่อมาชาวบ้านตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้จัดเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะในบริเวณที่อยู่ของปีปู่แสะ คือหอผีกลางหมู่บ้านดอยสุเทพ ( บริเวณใกล้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ) ในวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 9 เหนือ คือประมาณเดือนมิถุนายนของทุกปี ขณะเดียวกันชาวบ้านตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จะเลี้ยงผีย่าแสะที่ “ ดงย่าแสะ ” บริเวณเชิวดอยคำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ และชาวบ้านจากสองตำบลนี้จะเลี้ยงผีเองโดยไม่มีเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปร่วมพิธี และราว พ . ศ . 2480 ทางการได้ห้ามจัดการเลี้ยงผี แต่ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วจึงได้ฟื้นฟูขึ้นอีก แต่ให้ฆ่าควายดำเพียงตัวเดียวและทำพิธีรวมกันที่ดงย่าแสะเชิงดอยคำซึ่งก็ได้ ดำเนินตามนี้เรื่อยมาในการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะนี้ ชาวบ้านจะเลี้ยงผีขุนหลวงวิรังคะ ซึ่งหมายปองนางจามเทวีในอดีตไปพร้อมกันด้วยก่อนจะพิธีจะมีการขึ้นท้าวทังสี่ คือพิธีบอกกล่าวแก่ท้าวจตุโลกบาต มีการสร้างปราสาท คือหอผีชั่วคราวทำด้วยโครงไม้ไผ่ 12 หอ ซึ่งปราสาทของปู่แสะย่าแสะจะมีขนาดใหญ่กว่าผีอื่น ๆ โดยถือว่าผีปู่แสะย่าแสะนี้เป็นผียักษ์ หอทั้ง 12 นี้ จะปลูกยกพื้นเรียงเป็นแถวตามลำดับคือ 1. หอปู่แสะ 2. หอย่าแสะ 3. หอเจ้าแม่คำเขียว 4.-11. ไม่ทราบชื่อ 12. หอขุนหลวงวิรังคะ โดยหอปู่แสะย่าแสะมีขนาดกว้างประมาณ 50 x 50 เซนติเมตร ยกพื้นสูงประมาณ 1.5 เมตร หลังคามุงด้วยตองทึง ( อ่าน “ ต๋องตึง ” ) คือใบพลวง ส่วนหอผีอื่น ๆ ทุกหอมีขนาดประมาณ 40 x 50 เซนติเมตร ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร และไม่มีหลังคา
ตวัก คือกระทงที่บรรจุเครื่องเซ่นทำด้วยตองทึง กว้างประมาณ 25 เซนติเมตร และลึกพอสมควร รวม 12 กระทง นอกจากตวักขนาดใหญ่ดังกล่าวแล้ว ยังจะต้องทำตวักขนาดเล็กอีกประมาณ 40 กระทง บรรจุเนื้อดิบ เนื้อสุก แกง ชิ้นลาบ เนื้อปิ้ง ข้าวสุก ดอกไม้ ธูป เทียน แล้วนำกระทงดังกล่าวไปใส่ในกระทงใหญ่ทั้ง 12 กระทงนั้นให้พอดีแล้วนำไปวางไว้บนหอผี ส่วนพานข้าวตอกดอกไม้นั้นให้จัด 5 พานพร้อมทั้งเทียนเงินเทียนทอง ทั้งนี้ยังมีกระบอกไม้ไผ่บรรจุสุราอีก 22 กระบอกวางไว้ที่หอผีทั้ง 12 อีกด้วย และยังต้องวงด้ายสายสิญจน์ล้อมหอทั้ง 12 ไว้หมด ถือเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามคนที่ไม่เกี่ยวกับพิธีการเข้าในนั้น
สัตว์ที่จัดมาสังเวยผี ปู่แสะย่าแสะคือควายเขาดำ หรือควายรุ่นกระทงที่มีเขาสั้นเพียงหู เดิมนั้นให้สังเวยผีปู่แสะด้วยควายดำและสังเวยย่าแสะด้วยควายเผือก เมื่อฆ่าควายแล้วก็เอาเนื้อไปปรุงเป็นลาบและแกงต่าง ๆ และยังต้องนำเนื้อสันในสองชิ้นไปแขวนไว้ที่หอผีปู่แสะย่าแสะด้วยควายเผือก เนื้อที่เหลือก็จะนำไปปรุงเป็นอาหารเลี้ยงกัน ส่วนหนังควายที่ติดกับศรีษะนั้นจะนำไปปูไว้ที่หน้าปราสาทของผีปู่แสะย่าแสะ
เมื่อเริ่มพิธี ปู่อาจารย์หรือตั้งเข้าคือคนประกอบพิธีจะทำพิธีอัญเชิญผีปู่แสะย่าแสะก่อน อื่น ๆ โดยมีใจความว่าขอเชิญผีปู่แสะย่าแสะเปนเค้า ( อ่าน “ เป๋นเก๊า ” ) คือเป็นประธานของผีทั้งหลาย พร้อมทั้งผีลูกหลานเสนาอำมาตย์ทั้งปวงมารับเครื่องสังเวย และขอให้ผีทั้งหลายช่วยกันดูแลรักษาบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุข จากนั้นผีปู่แสะย่าแสะจะเข้าทรงม้าขี่หรือคนทรงก็จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ จัดไว้แล้วอวยชัยให้พรต่าง ๆ ต่อจากนั้นผีในร่างทางก็จะไปหยิบอาหารจากกระทงในปราสาททั้ง 12 มากินอย่างละเล็กละน้อยพร้อมทั้งดื่มสุราที่จัดไว้ให้ จากนั้นก็ไปนั่งบนหนังควายและโยกหัวควายไปมา พร้อมกับนำเอาเนื้อสดที่แขวนไว้ที่หอเคี้ยวกันไปด้วย เมื่อเคี้ยวกินเนื้อและดื่มสุราแล้ว ม้าขี่ก็จะนำเอาท่อนไม้มาทำที่แคะฟันแสดงว่าอิ่มหนำสำราญแล้ว และท้ายสุด ม้าขี่จะล้มลงนอนกับพื้นสักครู่หนึ่ง เมื่อผีลาทรงแล้วก็ลุกขึ้นมามีอาการเป็นปกติภายหลังการนำเอาพิธีกรรม ทางพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยมีการทำบุญเลี้ยงพระก่อนการทำพิธีสังเวยและในช่วงที่พระสงฆ์สวดอยู่นั้น ก็เชิญเอาพระบฎหรือแผ่นผ้าที่วาดรูปพระพุทธเจ้ามาแขวนให้แกว่งไกวไปมา เพื่อแสดงว่าพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เมื่อม้าขี่ไปถึงก็จะใช้ไม้ตีที่พระบฎนั้น เป็นที่ว่าพยายามทำร้ายพระพุทธเจ้าและตอนท้ายก็ยอมรับพุทธานุภาพการเลี้ยงผีโรงจะจัด เลี้ยงเฉพาะบ้านที่มีโรงเรือนผีปู่ย่าตายาย ( โรงเรือนจะสร้างเป็นแบบบ้านหลังเล็ก ๆ มีเสาสี่เสามีชานยื่นออกมาเล็กน้อย มีบันได 3 ขั้น มุงหลังคาด้วยสังกะสีหรือจะมุ่งด้วยหญ้าคาก็ได้ ) มักจะทำพิธีเลี้ยง 3 ปีต่อครั้ง (1 ครั้ง ) เครื่อเลี้ยงหรือเครื่องเซ่นในพิธี มีดังนี้มีผ้าม่าน ช้าง ม้า มีดดาบ เรือ ดอกบัว ขนมเครื่อง กระยาสารท หัวหมู บายศรี 1 คู่ น้ำมะพร้าวอ่อน หมูช่วง ใบตอง 3 ยอด เหล้าขาว หมี่ผัด 3 จาน กล้วยสีนวล กล้วยน้ำว้า อย่างละ 3 หวี มันหมู ( ใช้ข้าวเหนียวนึ่งโขลกกับงายัดเป็นตัวหมูยัดไส้ด้วยน้ำอ้อยโขลก ) เมี่ยงมอญ ขนมมอญ ( ขนมสบัดงา ) ลูกโทนดอกไม้มอญ พะโล้ ไก่ต้มยำ ขนมเปี๊ยะแผ่นใหญ่ หมูเผ็ด หมูหวาน ไก่เผ็ด ไก่หวาน ไข่แผ่น กระทงเล็ก ๆ สำหรับใส่เครื่องเซ่น ขันข้าง ซึ่งประกอบด้วยเหล้า ข้าวสาร ใส่กระทงธูป 1 ซอง เงิน 30 บาท ขันสำหรับทรง 4 คน ต่อจากนั้นก็นำของทั้งหมดวางบนโต๊ะหน้าโรงเรือน แล้วคนทรงจะเริ่มทำพิธีอันเชิญวิญญาณผีโรง ผีปู่ย่าผีเจ้าผีนาย และผีจากที่อื่น ๆ มาเข้าร่างทรง เมื่อผีมาเข้าร่างทรงแล้วก็จะเข้าไปกินของต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้จนอิ่นก็จะออกจากร่างทรง คนทรงก็จะทรงผีอื่นต่อไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะหมด ผีบางร่างที่เข้าคนทรงแล้วเกิดสนุกก็จะลุกขึ้นเต้นหรือมาร้องรำทำเพลงตาม ประสาผี แต่บางร่างจะมากินเฉย ๆ แล้วก็เอาไป เมื่อเสร็จจากการทำพิธีทรงร่างแล้ว จะมีการทำพิธีล่าน้ำ ( ลา ) โดยเอาของเซ่นต่าง ๆ ที่เหลือบนโต๊ะไปวางที่ยอดใบตองที่เตรียมไว้ซึ่งวางไว้ข้างล่าง จากนั้นคนทรงจะเต้นไปรอบ ๆ ของที่วางไว้ 3 รอบแล้วเอาของพวกเครื่องใช้ขึ้นวางบนโรงเป็นอันเสร็จพิธีที่มา : http://www.openbase.in.th/node/6528ที่มา :
ต้นฉบับโพสต์โดย Rolls-Royce เมื่อ 2012-6-20 10:10 static/image/common/back.gif
ผมอยู่เชียงใหม่เห็นข่าวทุกปี แต่ไม่เคยไปดูสักที กลั ...
รบกวนเก็บภาพมาให้ดูหน่อยนะครับ....ผมสนใจประเพณีนี้มากๆๆเลยครับ มันน่าสนใจดี ต้นฉบับโพสต์โดย mohpee เมื่อ 2012-6-21 22:59 static/image/common/back.gif
รบกวนเก็บภาพมาให้ดูหน่อยนะครับ....ผมสนใจประเพณีนี้ม ...
อ่านะครับ....งั้นรบกวนเป้นไกด์หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ
หน้า:
[1]