MACK_ZAA โพสต์ 2012-6-21 17:08:35

ดินหนุนดิน


http://www.creditonhand.com/images/Ghost/H1-07-55.gif

นอกเหนือจากสมาธินิมิตอันบังเกิดขึ้นในพรรษาที่ 3 ณ วัดเลียบ อุบลราชธานี อันมีรากฐานมาจากการดำเนินไปตามแนวแห่งอสุภกรรมฐานแล้ว

หนังสือ "รำลึกวันวาน" สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มีรายละเอียดพิเศษ

เป็นรายละเอียดในห้วงที่พอนั่งสมาธิจิตก็ส่งออกไปอยู่สถานที่อันเป็นโบสถ์ มีความรู้สึกขึ้นมาว่าสถานที่นี้ี่คือพระนิพพาน

แต่พอออกมาเป็นจิตธรรมดามากระทบกระทั่งกับอารมณ์ภายนอก เห็นรูปที่น่ารักโดยเฉพาะเพศตรงข้ามก็ยังเกิดรัก เห็นหรือได้ยินเสียงที่น่าชังก็ยังชังอยู่ เลยมาเฉลียวใจว่า เอ๊ะ เรามาถึงพระนิพพานแล้วทำไมจึงมาหลงรักหลงชังอยู่ได้เล่า

เห็นจะไม่ใช่พระนิพพานกระมัง นั่งสมาธิทีไรก็ไปที่นั่นทุกที

พอนึกได้ดังนี้แล้วจึงตั้งใจใหม่แต่ไม่ให้จิตมันรวม เดินจงกรมก็เอาจิตไว้ที่กาย จะบริกรรมพุทโธหรือมูลกรรมฐานก็แล้วแต่ไม่ให้จิตรวม ไม่นั่งสมาธิ เวลาจะนอนก็นอนเลย

ทำอย่างนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดสติ

พอวันที่ 3 เอาไม่อยู่ เพราะความพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ พอนั่งสมาธิจิตก็รวมใหญ่รวมคราวนี้ไม่ออกไปข้างนอกอยู่กับที่ ปรากฏว่าร่างกายนี้พังทลายลงไปเลย ปรากฏเป็นไฟเผาเหลือแต่กองเถ้าถ่าน

แล้วจมหายลงไปในแผ่นดิน

แรกที่ได้อ่าน ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร เรียบเรียงโดย พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) มาถึงตอนที่ระบุถึงการเคลื่อนไหวของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ว่า

"เมื่ออายุพรรษาพอสมควรแล้วจึงได้ลงไปศึกษาทางกรุงเทพมหานครอันเป็นแหล่งนักปราชญ์ สำนักที่วัดปทุมวัน หมั่นไปสดับพระธรรมเทศนา อบรมปัญญา กับ เจ้าคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันทเถร จันทร์) ที่วัดบรมนิวาส"

ความน่าสนใจอยู่ตอนนี้

"ในวันหนึ่ง เมื่อกลับจากวัดบรมนิวาสเดินตามถนนหลวงไปกับสหธรรมิก 4-5 รูป กำหนดพิจารณาไปพลาง

พอไปถึงโรงเรียนกรมแผนที่ (วังกรมพระสวัสดิ์เก่า) จึงได้อุบายแห่งวิปัสสนาเอาที่โรงเรียนนั้นเป็นนิมิตว่า "ของอะไรทั้งหมดเกิดจากของที่มีอยู่ (ดินหนุนดิน)" ตั้งแต่นั้นมาก็กำหนดพิจารณาอุบายแห่งวิปัสสนามิได้ลดละ"

ปมเงื่อนอยู่ตรงนิมิตที่ว่า "ของอะไรทั้งหมดเกิดจากของที่มีอยู่ (ดินหนุนดิน)"

สถานการณ์นี้สอดรับกับสำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ อย่างช่วยให้มองภาพได้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น





ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ http://www.creditonhand.com/images/ks.gif

หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ดินหนุนดิน