พระประวัติ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss097.jpgเจ้าจอมมารดาเอมน้อย เจ้าจอมมารดาเอมน้อย ในรัชกาลที่ 3 ได้ให้ประสูติพระโอรส มีพระนามว่า พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์ ประสูติวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2358 และในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี และโปรดเกล้า ฯ ให้ทรงกำกับกรมช่างสิบหมู่ และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2417http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss091.jpgพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ( พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 3 ) ( หลาน ) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าสาย และมีพระนามที่เรียกเล่น ๆ ในหมู่พระญาติใกล้ชิดว่า " เป๋า " เป็นพระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2406 ทรงดำรงยศเป็นหม่อมเจ้าจนถึง พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏได้ทรงปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณในหน้าที่อำนวยการห้องพระเครื่องต้นของเสวยคาวหวาน ส่วนตำหนักที่ประทับของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือของพระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ซึ่งในปัจจุบันตำหนักที่ประทับของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ไม่มีแล้วคาดว่าจะถูกรื้อลงเนื่องจากสภาพความชำรุดทรุดโทรมที่ยากจะซ่อมแซม http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss082.jpgพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏห้องพระเครื่องต้น ห้องพระเครื่องต้นเป็นที่ประกอบพระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงกำกับดูแล ห้องพระเครื่องต้นมีลักษณะเป็นอาคารโถงชั้นเดียวขนาดใหญ่เดิมเป็นอาคาร 3 หลังในหมู่เดียวกัน มีหลังกลางเป็นหลังประธานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูงประมาณ 90 เซนติเมตร อีก 2 หลังเป็นเรือนบริวารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บางส่วนยกพื้นสูง 1.35 เมตร ซึ่งตอนล่างเป็นที่เก็บของ ที่มุมด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของเตาไฟและปล่องควัน ส่วนด้านหน้าและด้านหลังของเรือนประธานเป็นลานโล่งมีกำแพงเตี้ย ๆ กั้นระหว่างเรือนบริวารทั้ง 2 หลัง ตรงกลางเป็นซุ้มประตูทำเป็นแบบตะวันตก เมื่อรวมลานทั้งด้านหน้าและด้านหลังแล้วจะเป็นอาคารโถงขนาดใหญ่http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss083.jpgภายในห้องพระเครื่องต้นhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss084.jpgภายนอกห้องพระเครื่องต้น อาคารหลังนี้มีโครงหลังคาเป็นไม้ ตอนกลางหลังคายกโครงสร้างเป็น 2 ชั้น ทำเป็นช่องระบายอากาศ ผนังโดยทั่วไปก่ออิฐฉาบปูน เสามีบัวหัวเสาเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก อาคารหลังประธานพื้นปูด้วยหินอ่อนสีดำสลับขาวเป็นลายทแยงมุม พื้นที่ทางเดินโดยรอบปูด้วยอิฐทางตั้งเรียกว่า " อิฐตะแคง " ปูเป็นลายก้างปลา บานประตูและหน้าต่างเป็นบานไม้ลูกฟัก เปิดออก ใช้บานพับ มีขอสับ มีลูกกรงเหล็ก ( เหล็กดัด ) ที่บานหน้าต่างโดยรอบ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ มีพระราชโอรส 1 พระองค์ และพระราชธิดา 3 พระองค์ รวมทั้งหมด 4 พระองค์ http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss086.jpgสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร 1. สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงศ์ อุภัยพงศพิสุทธิ์ วรุตโมภโตสุชาตบรมนฤนาถราชกุมาร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ประสูติวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 รวมพระชนมายุ 49 พระชันษาhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss087.jpgสมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี 2. สมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ประสูติวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 สิ้นพระชนม์วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2432 รวมพระชนมายุ 5 พระชันษาhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss088.jpgสมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา 3. สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา สิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา ประสูติวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 สิ้นพระชนม์วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2467 รวมพระชนมายุ 39 พระชันษาhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss089.jpgสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล 4. สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ประสูติวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 ทรงเป็นพระราชธิดาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้วางพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง ได้รับการโปรดเกล้า ฯ ให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีและเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่เสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก็ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขากลับมาสู่ประเทศไทย ถึงสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล ฯ พระองค์นี้เพื่อทรงเล่าเรื่องการเสด็จอย่างละเอียดลออ ซึ่งทำให้เกิดหนังสือรวบรวมพระราชหัตถเลขาเหล่านั้นว่า ชื่อว่า " ไกลบ้าน "หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล ฯ ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศชวา และเสด็จสิ้นพระชนม์วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2483 ณ ประเทศชวา รวมพระชนมายุ 49 พระชันษา http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss090.jpgพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ฯ กับพระราชโอรสและพระราชธิดา ในรัชกาลที่ 5
จากซ้ายไปขวา
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ , สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา , สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร , สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ได้ทรงกำกับราชการห้องเครื่องต้นถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตลอดรัชกาล เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับซึ่งเป็นข้าหลวงของ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ เล่าว่า " เรื่องห้องเครื่องที่จริงเป็นงานที่หนักมาก เงินหลวงปีละเก้าพันบาท สำหรับใช้จ่ายในการเลี้ยงดูองครักษ์ มหาดเล็ก กรมวัง ทหารรักษาวังเวร และแขกพิเศษ ดังนั้นเงินหลวงที่ได้รับพระราชทานจึงไม่พอใช้จ่าย ต้องเอาเงินส่วนพระองค์จ่ายเพิ่มเติม เพราะว่าข้าหลวงในพระองค์ ก็กินอยู่ในห้องเครื่องต้นด้วย จึงไม่สามารถแยกออกได้ ครั่นจะขอพระราชทานเพิ่มอีกก็ทรงเกรงว่าจะได้รับคำครหาว่าโลภมาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถแยกรายจ่ายออกจากส่วนกลางได้ ดังนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยไม่กราบบังคมทูล และเมื่อเงินส่วนพระองค์ไม่พอจ่ายก็ต้องขอยืมเงินพระญาติ แต่เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทราบความดังกล่าวจึงทรงเป็นตัวตั้งตัวตีเป็นพระธุระนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทราบถึงพระเนตรพระกรรณแล้ว จึงทรงได้รับพระราชทานเงินค่าเครื่องต้นเพิ่มจนเพียงพอ " http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/763/26763/images/ss085.jpgพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ (ซ้าย) และ เจ้าจอมเอื่ยม (กลาง) ถือหม้อขณะทรงกำลังเตรียมพระกระยาหารในห้องพระเครื่องต้น พระกระยาหารที่ทรงทำถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงทำสนองพระยุคลบาทด้วยความจงรักภักดี เช่นเดียวกับที่ทรงทำถวายพระโอรสและพระธิดา สำหรับพระองค์เองแล้วอย่างไรก็ทนได้ เสวยได้ เล่ากันว่า เมื่อคราวหนึ่งทรงซื้อเงาะ 100 ผล ราคา 100 บาท เพื่อที่จะคว้านเงาะตั้งเครื่องเสวยให้สมเด็จพระธิดาทุกพระองค์ ส่วนเครื่องเสวยของพระองค์เองไม่โปรดให้มีเงาะผลละ 1 บาท เพราะแพงเกินไป ทรงรับสั่งว่า " ขอให้ลูกให้ผัวสุขสบายก็เป็นที่พอใจแล้ว " พระกระยาหารก็เหมือนกัน ข้าวเสวยของพระองค์เองโปรดอย่างข้าวกรากร่วงพรู ( ข้าวธรรมดา ) ส่วนพระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และข้าวเสวยของสมเด็จพระธิดาทุกพระองค์ นุ่มเหมือนกันหมดผลไม้ก็โปรดที่จะปอกเสวยเอง ไม่ต้องคว้านเหมือนกับอย่างเครื่องต้น จนเมื่อทรงพระชราจึงทรงให้คนอื่นปอกถวายและเงาะก็เปลี่ยนมาเป็นการคว้าน ทรงพิถีพิถันในเรื่องเครื่องต้นที่จะตั้งถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างยิ่ง ต้องทั้งสะอาด ปลอดภัย สวยงาม และมีรสชาติที่อร่อยด้วย ทรงระวังรอบคอบแม้ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ทรงจัดผลไม้ทั้งผลลงในภาชนะ ถ้าจะต้องใช้ใบไม้รอง จะทรงเลือกใบไม้หรือดอกไม้ที่ทานได้ เช่น ใบเล็บครุฑ ใบมะม่วง ใบชมพู่ เพราะว่าในใบไม้บางชนิดอาจมียางหรือสิ่งที่เป็นพิษแก่มนุษย์ที่จะเข้าไปโดยไม่ทันรู้สึกตัว จึงทรงงดเว้นโดยเด็ดขาด นอกจากจะมีฝีพระหัตถ์ทางด้านปรุงอาหารแล้ว ยังมีอีกข้อหนึ่งที่ทรงได้รับการยกย่องมาก คือ ทรงมีความฉลาดลึกซึ้ง และทรงแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างฉับพลัน เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ เล่าไว้ว่า มีอยู่งานหนึ่ง ที่มีการเลี้ยงพระที่วัดเบญจมบพิตร เจ้าหน้าที่จะทำกันท่าไหนไม่ทราบ สำรับพระขาดไปหนึ่งที่ พอถึงเวลาสวดมนต์จบเจ้าหน้าที่ก็ยกสำรับพระขึ้นเทียบอาสนสงฆ์ สำหรับทรงประเคน จึงเอะอะกันขึ้นมาว่าสำรับขาดหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นก็ทรงตรัสถาม ได้ความว่าสำรับพระขาดหนึ่งที่ ก็เสด็จลุกจากพระราชอาสน์เข้ามาในม่านที่ฝ่ายในเฝ้า ( เมื่อในอดีตจะแยกกันระหว่างฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน ไม่ร่วมกันเหมือนในปัจจุบัน ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำเนินตรงไปที่ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ซึ่งกำลังยืนขึ้นรับเสด็จตามธรรมเนียม พระอิริยาบถแสดงชัดว่าทรงฉุน และมีพระราชดำรัสกับ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ว่า " สำรับพระขาด " พร้อมกันก็ทรงจับพระขนอง ( แขน ) ให้เสด็จออกไปที่อาสนสงฆ์ แต่ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงมิได้เก้อเขินงงงันแต่อย่างใด ทรงบัญชาให้เจ้าหน้าที่เอากระบะไม้เท่าจำนวนของคาวหวานจากสำรับพระที่มีอยู่ และทรงแบ่งของคาวหวานจากสำรับพระที่มีอยู่อย่างละเล็กละน้อย ใส่ฝาชามที่จัดเป็นสำรับ แล้วก็ให้เจ้าหน้าที่ยกไปตั้งถวายพระองค์สุดท้ายได้ทันเวลา นับว่าทรงมีพระปฏิภาณไวพริบที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้สำเร็จลุล่วงเป็นที่เรียบร้อย เล่ากันว่าพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ในเวลานั้นต่างพากันสรรเสริญพระปัญญาที่เฉียบแหลม ในสมัยนั้นการทำอาหารเลี้ยงพระไม่ได้อยู่ในความควบคุมของห้องพระเครื่องต้น แต่เป็นหน้าที่ของ " ทรงประเคน " ซึ่งมีหน้าที่จัดของเลี้ยงพระถวาย สำรับที่ขาดไปในคราวนี้เป็นความบกพร่องของพนักงานประเคน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเผลอว่าเป็นหน้าที่ของห้องพระเครื่องต้นจึงทรงให้ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ มาแก้ปัญหา ซึ่งพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ก็รับแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปโดยไม่ทรงปริพระโอษฐ์ ( ปาก ) เลยว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ทรงประเคน พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงกำกับห้องพระเครื่องต้น ทรงทำที่ในพระบรมมหาราชวัง และที่พระราชวังสวนดุสิต เมื่อช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่พระราชวังสวนดุสิตเกือบจะเป็นการถาวร ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ได้สนองพระเดชพระคุณ ตลอดแผ่นดินจนสิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ ในปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักในพระราชหฤทัยว่า พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงมีความจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระชนกนาถเป็นที่สุด จึงทรงพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศให้สูงขึ้นเป็น " กรมพระ " และถวายสร้อยพระนามว่า " ปิยมหาราชปดิวรัดา " อันมีความหมายว่า พระภรรยาเจ้าที่ซื่อสัตย์ต่อพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชยิ่งนัก จึงมีพระนามเติมว่า " พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา " พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ทรงประชวรด้วยพระโรคมะเร็งในช่องพระโอษฐ์ ( ปาก ) สิ้นพระชนม์ ณ พระตำหนักที่ประทับในสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงไป สรงน้ำพระศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญพระศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งนงคราญสโมสรในพระราชวังสวนดุสิต และในการพระราชทานเพลิงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโกศทองใหญ่อันเป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพ สมเด็จพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินี มาทรงพระศพ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในการพระราชกุศลออกพระเมรุ และในการเชิญพระศพสู่พระเมรุ ก็ดี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเลื่อนพระเกียรติยศพระศพเป็นกรณีพิเศษ ให้สมฐานะที่ทรงเป็น " ปิยมหาราชปดิวรัดา "
คุณย่าทวดผมเคยเป็นคุณข้าหลวงในตำหนักพระวิมาดาเธอ ที่วังสวนสุนันทาเป็นลูกมือหม่อมเจ้าหญิงสะบาย นิลรัตน์ ดูแลห้องเครื่อง ตอนหลังทูลลาออกมาแต่งงานกับคุณปู่ทวด
หน้า:
[1]