พระที่นั่งวิมานเมฆ
พระที่นั่งวิมานเมฆ
http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/01.jpg
ประวัติ
พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกใน พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระราชวังดุสิต (ซึ่งในรัชสมัยของ พระองค์ เีรียกว่า พระราชวังสวนดุสิต) ใน พ.ศ. 2444 โดยโปรดเกล้าฯ ให้รื้อ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่เกาะสีชัง เมื่อ พ.ศ. 2435 แต่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโยธาเทพ (กร หงสกุล ต่อมาเป็น พระยาราชสงคราม) เป็นนายงานรื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ จากเกาะสีชังมาสร้างในสวนดุสิต และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งวิมานเมฆ" และทรงวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2443 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกำกับการออกแบบ และทรงพระำกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อวันที่ 27 มีนาม พ.ศ. 2445
พระที่นั่งวิมานเมฆสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม ที่งดงามประณีตและได้รับอิทธิพล การก่อสร้างแบบตะวันตก การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2444 และได้เสด็จมาประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆ จนกระทั่ง พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2445 สร้างเสร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถานเป็นการถาวร จนกระทั่งเสด็จวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 และพระที่นั่งวิมานเมฆยังคงเป็นสถานที่ประทับของเจ้านาย จนกระทั่งสิ้นรัชกาล เจ้านายฝ่ายในและข้าราชบริพาร จึงได้กลับมาประทับที่ พระบรมมหาราชวัง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆใน พ.ศ. 2468 แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชา ก็ทรงย้ายออกจากพระที่นั่งวิมานเมฆ และจากนั้นมา พระที่นั่งวิมานเมฆก็มิได้เป็นพระราชฐานที่ประทับของเจ้านายอีก
ในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงขอพระบรมราชานุญาตซ่อมพระที่นั่งวิมานเมฆ เพื่อจัดเป็นพิพิธภัฒฑ์ส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเ้จ้าอยู่หัว ปัจจุบันพระที่นั่งวิมานเมฆเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของ สำนักพระราชวัง รวมทั้งหมู่พระตำหนักของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในด้วยลักษณะขององค์พระที่นั่ง
พระที่นั่งองค์นี้ เป็นอาคารแบบวิตอเรีย ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมกับไทยประยุกต์ องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอล (L) ในภาษาอังกฤษ ยาวด้านละ 60 เมตร สูง 20 เมตร เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกเว้น ตรงส่วนที่ประทับซึ่งมีรูปร่างเป็นแปดเหลี่ยม มี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดก่ออิฐ ถือปูน ชั้นถัดขึ้นไปสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหมด ทาด้วยสีครีมอ่อนหลังคาสีแดง และหลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ มีลวดลายตามหน้าต่าง และช่องลมซึ่งฉลุเป็นลาย ที่เรียกว่า ขนมปังขิง
สำหรับพระที่นั่งวิมานเมฆนี้ จะแบ่งเป็นห้องชุดต่างๆ 5 สีด้วยกัน คือ สีฟ้า เขียว ชมพู งาช้าง และสีลูกพีช (ชมพูอมส้ม) แต่ละห้อง จะจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 รวมถึงเจ้านายชั้นสูง เช่น ห้องสีเขียว เป็นห้องเครื่องเงิน จากประเทศจีน ส่วนชั้นสองเป็นห้องทรงงานของรัชกาลที่ 5 และห้องบนชั้นสามจะเป็นห้องบรรทม แต่ห้องที่งดงามที่สุดในพระที่นั่งวิมานเมฆเห็นจะเป็นห้องท้องพระโรง ที่มีบรรยากาศขรึมขลังอลังการมากที่สุด
http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek01.jpg
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสทวีปยุโรป
ในปีพุทธศักราช2440 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดซื้อที่สวนและนาระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจรด คลองสามเสนด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดสร้างเป็นอุทยานสถานและพระราชทานนามอุทยาน
สถานแห่งนี้ว่า “สวนดุสิต” พระที่นั่งถาวรองค์แรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นภายในสวนดุสิตคือ “พระที่นั่งวิมานเมฆ”โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2443 โดยมีพระบรมราชโองการให้รื้อย้ายพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์จากพระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะสีชังมาปลูกสร้างขึ้นใหม่ มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกำกับการออกแบบและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ แปรพระราชฐาน จากพระบรมมหาราชวังมาประทับเป็นการถาวรณ พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นเวลาถึง 5 ปี จนการก่อสร้าง พระที่นั่งอัมพรสถานเสร็จสมบูรณ์ ในปีพุทธศักราช2449 จึงทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปีพุทธศักราช2453 พระที่นั่งวิมานเมฆก็ปิดร้างลง เพราะเจ้านายฝ่ายในต้องเสด็จกลับมา ประทับในพระบรมมหาราชวังตามราชประเพณีในปีพุทธศักราช 2468 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีพระวรราชชายาเสด็จมาประทับณ พระที่นั่งวิมานเมฆ และเมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักด์ศจีพระวรราชชายาได้ทรงย้าย ไปประทับ ที่พระตำหนักในสวนหงษ์ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพระที่นั่งวิมานเมฆนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระที่นั่งวิมานเมฆ ก็มิได้ใช้เป็นพระราชฐานที่ประทับของเจ้านายพระองค์ใดอีกได้แต่ปิดร้างและทรุดโทรมตามกาลเวลา
http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek02.jpghttp://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek03.jpg
http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek04.jpg http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/02.jpg http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek05.jpg
Vimanmek Mansion
Upon his return from Europe in1897, King Rama V (1868-1910) used his personal money to purchase orchards andpaddy fields between Padung Krungkasem Canal and Samsen Canal for theconstruction of a royal garden which he named “ the Dusit Garden “ The first permanent residence in Dusit Gardenwas Vimanmek Mansion, built in 1900 by royal commandof King Rama V. The King had the Munthaturattanaroj Residence inChuthathujrachathan at Koh Sri Chang, Chonburi, dismantled and rebuilt in the Dusit Gardenunder the supervision of HRH Prince Narissaranuwaddhiwongse. The celebrationfor the completion of Vimanmek Mansion was held on March 27,1901.King Rama Vthen moved his residence from the Grand Palace to stay permanently at VimanmekMansion for five years unil the completion of Amporn Satan Residence in 1906where he live until his death in 1910. VimanmekMansion was than closed down and membersof the royal family moved back to the Grand Palace. Near the end of his reign, KingRama VI (1910-1925) gave permission to Her Majesty Indharasaksaji to stay at Vimanmek Mansion. After the King’s death, shemoved to stay another residence in Suan Hong compound north of Vimanmek Mansion and the Mansion was closed. King Rama VII (1925-1934) renovatedthe Mansion several times. For example, he ordered the installation of neweletrical wires and the repair of columns of the main pier at the artificial lakein the garden. But starting in 1932, Vimanmek Mansion was used only asa storage of the Bureau of the Royal Household.
In 1982, on the auspicious occasionof the Bicentennial Anniversary of Bangkok, Her Majesty Queen Sirikit, who haddiscovered that Vimanmek Mansion, with its elaborate architectural style wasstill intact, asked permission of His Majesty King Rama IX to renovate themansion for use as a museum to commemorate King Rama V by displaying hisphotographs, personal art and handicrafts, and to serve as a showcase of theThai national heritage for future generations. Vimanmek Mansion is the world’s largest goldenteakwood mansion with its elaborate architectural style reflecting a westerninfluence. The building has two right-angled wings, each wing is 60 meters longand 20 meters high, and is three-storied except for the part where King Rama Vresided, which is octagonal and four-storied. Although the ground floor isbrick and cement,the upper floors are built of beautiful golden teakwood. Altogetherthere are 31 exhibition rooms, with the bedrooms, the throne room and bathroomsmaintaining the atmosphere of the Thai past. Some display house exhibitions ofThai art including silverware, ceramics,crystal ware, and ivory. Besides VimanmekMansion and Amporn Satarn Residence inthe compound of Dusit Garden( or Dusit Palace as it was laterrenamed by King Rama VI), King Rama V allocated plots of land for theconstruction of residences for his consort, princesses, and other wives.
He also named gardens, canals,gates and roads after the ancient Chinese ceramics ( commonly called “ Khruengkim tung” ), which were very popular at the time. Thus, the residence thatbelonged to H.M. Queen Savang Vadhana, was named Suen Hong Residence (SwanGarden Residence). The residences in Dusit Palace compound have beenturned into exhibition buildings and a hall for royal coaches on show to thepublic.
http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/03.jpghttp://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek10.jpg
http://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek06.jpghttp://www.grad.kmutnb.ac.th/grad14/pic/pic001/vimanmek07.jpg
สุดยอดเลยครับ
หน้า:
[1]