moo2010 โพสต์ 2012-7-14 13:58:21

ประมวลภาพ “สุสานหลวง” วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_51_964.jpg

สุสานหลวง

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

http://www.dhammajak.net/board/files/3_185.jpg

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ แห่งบรมราชจักรีวงศ์
ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวของกรุงรัตนโกสินทร์
ที่เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์

วัดราชบพิธฯ แบ่งเขตพื้นที่ภายในวัดออกเป็น ๓ ส่วน
คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง
เขตพุทธาวาส ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัด
คือบริเวณที่เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตั้งอยู่บนพื้นไพทีหรือยกพื้นสูงกว่าพื้นปกติ ปูด้วยหินอ่อน
เขตสังฆาวาส ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัด
คือบริเวณที่เป็นอาคารจำพรรษาของพระภิกษุสามเณร
เขตสุสานหลวง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด

เขต “สุสานหลวง” ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัดนั้น
ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม
โดยตั้งอยู่นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด
แต่เดิมสุสานหลวงมีพื้นที่อาณาบริเวณกว้าง ๔ ไร่กว่า
ต่อมาในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และทางกรุงเทพมหานคร
ได้ตัดถนนอัษฎางค์ซึ่งกินพื้นที่สุสานหลวงไปบางส่วน
จนกระทั่งปัจจุบันสุสานหลวงเหลือพื้นที่เพียง ๒ ไร่ครึ่งเท่านั้น

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_100_594.jpg
ป้ายชื่อสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


“สุสานหลวง” วัดราชบพิธฯ เป็นสุสานหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ผู้เป็นพระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างอนุสาวรีย์ในเขตสุสานหลวงขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก)
และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) เพื่ออุทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี
พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจน พระราชโอรส พระราชธิดา
พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิด
คือ พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจน
พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา
ได้อยู่ร่วมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
สภาพโดยทั่วไปในสุสานหลวงจะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์
ของพระบรมราชเทวี พระราชเทวี หรือเจ้าจอมมารดา
เพื่อให้ลูกได้อยู่กับแม่ หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่
เว้นแต่ในกรณีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดา
ก็สร้างอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน

สุสานหลวงที่วัดราชบพิธฯ แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
เป็นแม่กองก่อสร้างขึ้นในที่รอบๆ ชานกำแพงด้านทิศตะวันตกของวัด
และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านิลวรรณ เป็นแม่กองก่อสร้างสืบต่อมา
ทั้งนี้ มีอนุสาวรีย์บางส่วนที่พระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างขึ้นในสมัยหลัง
อาจกล่าวได้ว่าเป็นสุสานหลวงสำหรับ “จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์” นั่นเอง

โดยตามความเชื่อแล้ว หลังจากพิธีเผาศพของผู้ตาย
จะมีการนำอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์หรือสถูป
ครั้นต่อมาก็พัฒนาไปสู่การบรรจุอัฐิหรืออังคาร
ไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปหรือตามช่องกำแพงแก้ว
ซึ่งแม้แต่พระบรมราชสรีรางคารของพระมหากษัตริย์
ก็มีการอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พุทธบัลลังก์แห่งพระพุทธปฏิมาพระประธาน
ด้วยการบรรจุอัฐิหรืออังคารไว้ตามสถานที่ดังกล่าว
จะเป็นการกระทำให้บรรดาลูกหลานในวงศ์ตระกูลใช้เป็นสถานที่เคารพบูชา

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_2_152.jpg
บริเวณสุสานหลวง ร่มรื่นไปด้วยไม้ดอกไม้ใบนานาพันธุ์

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_paragraph_992.jpg
อนุสาวรีย์พระเจดีย์สีทอง ๔ องค์ มีลักษณะคล้ายกัน เรียงลำดับจากเหนือไปใต้
ได้แก่ สุนันทานุสาวรีย์, รังษีวัฒนา, เสาวภาประดิษฐาน และสุขุมาลนฤมิตร์
ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างอุทิศพระราชทานแก่พระมเหสีเทวี ๔ พระองค์


ลักษณะของสถาปัตยกรรมของอนุสาวรีย์ต่างๆ ภายในสุสานหลวงแห่งนี้
ทำเป็นรูปแบบพระเจดีย์ พระปรางค์ พระวิหาร และอาคาร เป็นต้น
ทั้งที่เป็นศิลปะแบบยุโรป ศิลปะแบบขอม และศิลปะแบบไทย
อันเป็นพุทธศิลปแห่งหลักแนวคิดการพัฒนาเมืองไทยให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ

บริเวณสุสานหลวงได้รับการตกแต่งซ่อมแซมดูแลอย่างดีจากสำนักพระราชวัง
จึงเป็นสวนที่ร่มรื่นไปด้วยไม้ดอกไม้ใบนานาพันธุ์ หลายต้นเป็นไม้โบราณ
เช่น กล้วยทอง กรรณิการ์ สารภี เข็ม ตะแบก ลั่นทม (ลีลาวดี) เป็นต้น
ปัจจุบันถูกดัดแปลงให้มีลักษณะกึ่งสวนหย่อม กึ่งอนุสรณ์สถาน

ในวันที่ ๒๐ กันยายน ของทุกปี “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”
(ครั้งยังมีพระชนม์ชีพอยู่) จะทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในนาม
ของคณะพระราชนัดดา-ปนัดดาสายสัมพันธ์ในราชกุลรัชกาลที่ ๕
ในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๘
ซึ่งทั้งสองพระองค์มีวันประสูติ (วันพระราชสมภพ) ร่วมกัน
การบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ ๘ นั้น
เป็นพระดำริในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
ที่ทรงริเริ่มจัดถวายสังฆทานเป็นการส่วนพระองค์ในวันนี้
ทั้งนี้ พระองค์มีพระประสงค์ให้เชื้อพระวงศ์มีความรักสามัคคีกัน
โดยทุกครั้งที่เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย
จะร่วมเสวยพระกระยาหารกับพระบรมวงศานุวงศ์เพื่อถามถึงความเป็นอยู่
และหลายครั้งมีพระดำรัสให้เชื้อพระวงศ์ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
ในปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จะทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในนามของคณะพระราชนัดดา-ปนัดดา
สายสัมพันธ์ในราชกุลรัชกาลที่ ๕ บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายดังกล่าว

ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ต่างๆ ในสุสานหลวงมีทั้งหมด ๓๔ องค์
โดยมีการจัดตั้ง “มูลนิธิจุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์” ขึ้นมา
ให้เป็นหน่วยงานกลางคอยดูแลรักษาทำนุบำรุงสุสานหลวง
ให้มีความงดงามเพื่อชนรุ่นหลังได้เข้ามาสักการะสืบต่อไป

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถานในเขตสุสานหลวงที่โดดเด่นเป็นสง่า
เป็นสถูปองค์หลักเป็นแนวประธาน คือ พระเจดีย์สีทอง ๔ องค์
(๑ องค์เล็ก กับ ๓ องค์ใหญ่) มีลักษณะคล้ายกันเรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ได้แก่
สุนันทานุสาวรีย์, รังษีวัฒนา, เสาวภาประดิษฐาน และสุขุมาลนฤมิตร์
โดย ‘สุนันทานุสาวรีย์’ เป็นพระเจดีย์สีทองที่มีขนาดองค์เล็กที่สุด
ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างอุทิศพระราชทานแก่พระมเหสีเทวี ๔ พระองค์
อาจกล่าวได้ว่าพระเจดีย์สีทอง ๔ องค์เป็นสื่อความหมายอาลัยรัก

“เปิดพระโกศมิ่งมิตรพิศพักตร์ โศกสกลักทรวงไหม้ฤทัยหมอง
สะอื้นอ้อนกรกอดพระโกศทอง ชลเนตรตกต้องพระปรางนาง”

บทร้องตอนหนึ่งเมื่อครั้งเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค)
ได้จัดให้มีการเล่นละครเรื่องลักษณวงศ์ แสดงเฉพาะหน้าพระพักตร์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ซึ่งเข้าใจว่าบทร้องนี้ไปกระทบพระราชหฤทัยจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
พระองค์จึงสั่งห้ามมิให้ร้องอีกต่อไป และต่อมาพระองค์ทรงโปรดให้
สร้างพระเจดีย์สีทอง ๔ องค์ภายในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์ต่างๆ ในสุสานหลวงองค์อื่นๆ ที่สำคัญหลายองค์ ดังนี้

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_56_180.jpg
สุสานหลวงได้รับการประดับตกแต่งภูมิทัศน์เพื่องานพระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคาร
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ณ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”
http://www.dhammajak.net/board/files/_55_119.jpg

สุนันทานุสาวรีย์

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุนันทานุเสาวรีย์”
เป็นพระเจดีย์สีทอง อาคารยอดสถูปขนาดใหญ่บุด้วยโมเสคสีทอง
เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

ใช้เวลาก่อสร้างถึง ๓ ปี จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำพระสรีรางคาร
ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และพระราชธิดา
มาประดิษฐานไว้ ณ สุสานหลวงแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗

เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม)
ผู้เป็นพระมเหสีเทวีสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโศกเศร้าโทมนัสเป็นอย่างยิ่งถึงกับบางครั้งได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดพระโกศ
เพื่อทอดพระเนตรพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เนืองๆ
หลังจากพระราชทานเพลิงพระศพ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระเจดีย์สีทอง ๔ องค์ ในที่อุปจารชานกำแพงวัดราชบพิธฯ
ด้านตะวันตก พระเจดีย์สีทององค์หนึ่งทรงพระราชกุศลพระราชทานแด่
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชทานนามว่า “สุนันทานุเสาวรีย์”

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_45_652.jpg
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุนันทานุสาวรีย์”

http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_165.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_50_104.jpg

รังษีวัฒนา

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”
เป็นพระเจดีย์สีทอง อาคารจตุรมุขยอดสถูป มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน
ตรงกลางเป็นสถูปขนาดใหญ่บุด้วยโมเสคสีทอง
ส่วนสถูปอีก ๓ องค์มีขนาดย่อมกว่าทาด้วยสีขาว
ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์อันร่มรื่น
มีต้นลีลาวดี (ต้นลั่นทม) อายุ ๑๐๐ ปียืนต้นอวดโฉมดอกสีขาว
และมีต้นไม้พันธุ์ไทยอีกหลายต้น เช่น ต้นปีบ ต้นแก้ว เป็นต้น

เป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า (ยังไม่มีพระนาม สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๔ วัน)
พระราชธิดาในลำดับที่ ๘๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (ต้นราชสกุลมหิดล)
- สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
- สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- “สมเด็จย่า” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ประดิษฐานไว้เคียงข้าง
พระสรีรางคารสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม สมเด็จพระบรมราชชนก)
- พระประยูรญาติแห่งราชสกุล “มหิดล”

และครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระสรีรางคารของ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ก็ได้นำมาบรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา” แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
เพื่อประทับเคียงข้างพระสรีรางคารสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี

อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา” นั้น ภายในจะแบ่งเป็น ๒ ฝั่ง
ฝั่งหนึ่งเก็บพระอัฐิ (กระดูก) ส่วนอีกฝั่งหนึ่งเก็บพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก)
ส่วนตรงกลางจะประดิษฐานพระพุทธรูปที่เป็นพระประจำพระชนมวารของแต่ละพระองค์

มีข้อน่าสังเกตว่า “พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘” นั้น
ไม่ได้ประดิษฐานรวมอยู่ ณ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา” แห่งนี้ด้วย
เนื่องจากตอนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
ไม่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี

เพิ่งจะมามีในตอนหลัง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกาศ
เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ขึ้นเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
อดุลยเดชวิมล รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช”
รวมทั้งยังได้ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลเศวตฉัตร
ซึ่งใช้ในการกางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ

ดังนั้น พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานชั้น ๓
บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนพระบรมราชสรีรางคารนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญ
พระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ไปยัง วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และอัญเชิญบรรจุลงในหีบ
พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ “พระศรีศากยมุนี”
พระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘

ส่วนหนึ่งของพระบรมราชสรีรางคารอัญเชิญไปประดิษฐาน
ณ พระเจดีย์ราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
ซึ่งที่พระเจดีย์แห่งนี้มีพระตัจจะพระนลาฏ (ผิวหนังหน้าผาก) รัชกาลที่ ๘
พระทนต์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระราชสรีรางคารสมเด็จพระบรมราชชนก พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชชนนีบางส่วน
และพระทนต์สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
ดังนั้น พระเจดีย์ราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนาราม จึงมีครบทุกพระองค์ที่ล่วงลับ

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_25_145.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_46_103.jpg
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_49_408.jpg
ระหว่างสถูปขนาดใหญ่สีทองกับสถูปสีขาวอีก ๓ องค์ มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน

http://www.dhammajak.net/board/files/ae_168.jpg

สุขุมาลนฤมิตร์

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุขุมาลนฤมิตร์”
พระเจดีย์สีทอง เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
และเจ้าคุณจอมมารดาสำลี บุนนาค
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “บริพัตร”

http://www.dhammajak.net/board/files/ae_110.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/_54_186.jpg
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุขุมาลนฤมิตร์”

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph___2_175.jpg

อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี

ศิลปะแบบขอม เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
- พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายา
- สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเกียรติมงคล
- พระประยูรญาติแห่งราชสกุล “ยุคล”

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph___11_181.jpg
อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี (ราชสกุลยุคล)
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_1_777.jpg
ด้านหน้า : อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ (ราชสกุลรพีพัฒน์)
ด้านหลัง : อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์


อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร เจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต
และพระราชโอรส-พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ผู้ได้รับพระสมญานามว่า พระบิดาและปรมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “รพีพัฒน์”

ด้านหน้าอนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ มีป้ายชื่ออันเป็นลายเซ็น
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ว่า รพีพัฒนศักดิ์ ติดไว้เป็นเอกลักษณ์

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_11_358.jpg
อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ (ราชสกุลรพีพัฒน์) ตั้งอยู่ใกล้กับ
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”, อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี,
อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และอนุสาวรีย์สรีรนิธาน
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_15_932.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_2_104.jpg

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์

ศิลปะแบบยุโรป เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกสร (หม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์)

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_2_195.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_39_126.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_275.jpg
อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_564.jpg

อนุสาวรีย์สรีรนิธาน

ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็น รูปโบสถ์ศิลปะแบบโกธิคของยุโรป
เป็นที่บรรจุพระสรีรางคารเจ้าจอมมารดาพร้อม อิศรางกูร ณ อยุธยา
ธิดาเจ้าพระยาพิษณุโลกาธิบดี (บัว)
และพระราชโอรส-พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_28_347.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_16_911.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/_3_486.jpg
อนุสาวรีย์สรีรนิธาน มีลักษณะเป็นรูปโบสถ์ศิลปะแบบโกธิคของยุโรป
http://www.dhammajak.net/board/files/_51_500.jpg

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_14_959.jpg

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_54_109.jpg

- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน
- อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_55_621.jpg

- อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_44_805.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_10_513.jpg

- อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_11_358.jpg

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_22_777.jpg

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_ae_337.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_ae_2_206.jpg

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาอ่วม

ลักษณะของสถาปัตยกรรมคล้ายถ้ำ เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
เจ้าจอมมารดาอ่วม พิศลยบุตร และพระราชโอรส คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “กิติยากร”

ทั้งนี้ ครั้งล่าสุด อังคารของหม่อมราชวงศ์อดุลยกิติ์ กิติยากร
พระบิดาของพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
และ อัฐิของคุณพุ่ม เจนเซ่น ก็ได้นำมาบรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์นี้ด้วยเช่นกัน

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_4_105.jpg
อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาอ่วม (ราชสกุลกิติยากร)
http://www.dhammajak.net/board/files/_6_811.jpg

อนุสาวรีย์เอิบอนุสรณ์ ๒๔๘๗

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร เจ้าจอมเอิบ บุนนาค
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_250.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraphae_paragraph__1_194.jpg

อนุสาวรีย์ฉัตรชยานุสสรณ์ ๒๔๘๐

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
(ต้นราชสกุลฉัตรชัย) ผู้ได้รับพระสมญานามว่า พระบิดาแห่งการรถไฟไทย
พระชายา พระโอรส และพระธิดา พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “ฉัตรชัย”

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraphae_paragraph__2_620.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/_56_887.jpg
อนุสาวรีย์ฉัตรชยานุสสรณ์ ๒๔๘๐ (ราชสกุลฉัตรชัย)
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_9_179.jpg
ซ้ายมือ : อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์
ขวามือ : อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเนื่อง (ราชสกุลรังสิต)


อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลื่อน นิยะวานนท์

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_26_164.jpg

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเนื่อง

ศิลปะแบบโกธิคของยุโรป เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
เจ้าจอมมารดาเนื่อง (หม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์)
และพระราชโอรส-พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “รังสิต”

‘อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเนื่อง’ ตั้งอยู่ใกล้กันกับ
อนุสาวรีย์อรอนุสรณ์ ๒๔๗๖, อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุขุมาลนฤมิตร์”
และอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_44_101.jpg
อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเนื่อง (ราชสกุลรังสิต)
อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาย้อย

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
เจ้าจอมมารดาย้อย (หม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร)
และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_43_181.jpg
อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาย้อย

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_3_353.jpg

อนุสาวรีย์อรอนุสรณ์ ๒๔๗๖

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค
และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph__1_104.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/_11_858.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph__3_630.jpg
อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (พระวิหารน้อย)


อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์

อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระวิหารน้อย
เป็นที่บรรจุพระสรีรังคาร เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค)
พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระราชธิดา
พร้อมทั้ง เจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค
(น้องสาวร่วมบิดา-มารดาเดียวกันกับเจ้าคุณพระประยุรวงศ์)
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระราชโอรส-พระราชธิดา
อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ต้นราชสกุลอาภากร)
พระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “อาภากร” และราชสกุล “สุริยง”

ภายในของอนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (พระวิหารน้อย)
จะเปิดให้สักการะเฉพาะวันที่ ๑๙ ธันวาคม และวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ของทุกปีเท่านั้น
เนื่องจาก วันที่ ๑๙ ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันประสูติ และ
วันที่ ๑๙ พฤษภาคม “วันอาภากร” เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย

http://www.dhammajak.net/board/files/__246.jpg

http://www.dhammajak.net/board/files/__2_125.jpg
ภายใน “อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์หรือพระวิหารน้อย” (ราชสกุลอาภากรและสุริยง)
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_18_115.jpg
ด้านหน้า : อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเรือน
ขวามือ : อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดามรกฎ


อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเรือน

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร เจ้าจอมมารดาเรือน สุนทรศาลทูล
และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์


อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดามรกฎ

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร เจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล
พร้อมทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดา
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “เพ็ญพัฒน์”


อนุสาวรีย์พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

เป็นที่บรรจุพระสรีรังคาร พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี (เสด็จเจ้าน้อย)
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
แผนผังสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

http://www.dhammajak.net/board/files/268_1245900375.jpg_239.jpg

moomnakub โพสต์ 2012-7-14 16:00:42

เป็นครั้งแรกจริงๆที่ได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้ ขอขอบคุณผู้โพสด้วยครับ...

chabar0607 โพสต์ 2012-7-15 10:12:27

ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ขอบคุณมาก

nuto01 โพสต์ 2012-7-21 15:55:21

เพิ่งเคยเห็นจิงๆ ขอบคุนนะ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ประมวลภาพ “สุสานหลวง” วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม