คนจริต ๖, คน ๔ เหล่า
คนจริต ๖
๑. ราคะจริต คือ คนที่มีนิสัยสั่งสมแสวงหามาในทางสิ่งที่ประณีตสวยงาม และสดใสในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และคิดนึก ล้วนเป็นไปในทางอกุศล
๒. ศรัทธาจริต คือ คนที่มีนิสัยสั่งสมแสวงหามาในทางสิ่งที่ประณีตสวยงาม และสดใสในทาน ศีล ภาวนา ล้วนเป็นไปในทางอกุศล
๓. โทสจริต คือ คนที่มีนิสัยสั่งสมปัญญากล้า ทิ้งขว้างได้ไม่ติดพันในอารมณ์ ไม่เอื้อเฟื้อในสัตว์ บุคคล แส่หาสิ่งที่ไม่เป็นจริงเป็นโทษ ล้วนเป็นไปในทางอกุศล
๔. พุทธิจริต คือ คนที่มีนิสัยสั่งสมปัญญากล้า ทิ้งขว้างได้ไม่ติดพันไม่เอื้อเฟื้อในสังขาร แส่หาสิ่งที่เป็นจริงเป็นคุณ ล้วนเป็นไปในทางกุศล
๕. โมหะจริต คือ คนที่มีนิสัยสั่งสมตรึกในอารมณ์ที่โอนเอน ไม่แน่นอน ตัดสินไม่ได้ สร้างวิมานในอากาศ สงสัยปักใจไม่ลง ไม่ครุ่นคิด ล้วนในทางอกุศล
๖. วิตกจริต คือ คนที่มีนิสัยสั่งสมตรึกในอารมณ์ ลักษณะคล้ายคลึงกับคนโมหะจริต สงสัยปักใจไม่ลงแต่ยังครุ่นคิด เช่น ทำไปแล้วจะได้บุญหรือไม่หนอ? เป็นต้น เป็นไปได้ทั้งในทางกุศลและอกุศล
ดอกบัวสี่เหล่า
พระพุทธองค์เปรียบคนที่เกิดมา ได้แก่ ดอกบัว ๔ เหล่า คือดังนี้
ดอกบัวเหล่าที่ ๑ ดอกบัวพ้นน้ำและบานแล้ว เปรียบได้กับคนที่มีปัญญาดีสอนง่าย เรียกคนประเภทนี้ว่า “อุคฆฏิตัญญู”
ดอกบัวเหล่าที่ ๒ ดอกบัวพ้นน้ำและจะบานในวันพรุ่งนี้ ได้แก่คนที่ฟังธรรมะเพียงหนเดียวก็เกิดปัญญา เรียกบุคคลประเภทนี้ว่า “วิปปจิตัญญู”
ดอกบัวเหล่าที่ ๓ ได้แก่ บัวใต้น้ำ พร้อมที่จะโผล่พ้นน้ำในวันรุ่งขึ้นและจะบานในวันต่อไป เปรียบได้กับคนที่จะต้องได้ฟังธรรมะบ่อยๆ ค่อยๆ เจริญสติปัญญาต่อไป เรียกคนประเภทนี้ว่า “เนยยะบุคคล”
ดอกบัวเหล่าที่ ๔ได้แก่ ดอกบัวอยู่ในโคลนตม อันจะเป็นอาหารของเต่าและปลา ไม่สามารถโผล่บานพ้นน้ำได้ เปรียบได้กับคนที่สอนไม่ได้รังแต่จะไปเกิดในอบายภูมิสถานเดียว เรียกคนประเภทนี้ว่า “ปทะปรมะ”
ทุกคนอยากเป็นบัวเหล่าที่ 4 แต่แต่ละคนจะเป็นได้ยาก
หน้า:
[1]