ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ คืออะไร?
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ
คนดีเมื่อมีทรัพย์สมบัติและบริวารแล้ว ควรปฏิบัติธรรมเรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ธรรมอันเป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ในปัจจุบัน คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจหน้าที่การงานหรือการศึกษาเล่าเรียน (ขยันหา)
๒. อารักขสัมปทา รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ หรือรักษาความดีให้คงอยู่ (รักษาดี)
๓. กัลยาณมิตตา คบแต่คนดีเป็นมิตร (มีกัลยาณมิตร)
๔. สมะชีวิตา ใช้จ่ายเลี้ยงชีพให้เหมาะสมแก่ฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย หรือ สุรุ่ยสุร่าย หากบุคคลใดตั้งอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ (เลี้ยงชีวิตตามควร)
หลักทางศาสนาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเลี้ยงชีพ เป็น “สมะชีวิตา” นั้น ให้แบ่งทรัพย์ที่หามาได้เป็น ๕ ส่วน ดังนี้
“ทิ้งเหว – ใส่ปากงู – ให้เขากู้ – ฝังดินไว้ – ใช้หนี้เก่า”
๑. ใช้หนี้เก่า ๑ ส่วน ให้บำรุงเลี้ยงดูบุพพการี บิดามารดา ญาติ พี่น้องและมิตรสหาย
๒. ทิ้งลงเหว ๑ ส่วน สำหรับใช้จ่ายบริโภค
๓. ใส่ปากงู ๑ ส่วน ให้ภรรยาเก็บไว้ยามขาดแคลนและป่วยไข้ ได้รักษา
๔. ให้เขากู้ ๑ ส่วน ให้เลี้ยงดูบุตรธิดาศึกษาเล่าเรียน
๕. ฝังดินไว้ ๑ ส่วน ให้ทำบุญให้ทานฝากไว้ในพระพุทธศาสนา ทำลายมัจฉริยะตระหนี่ พ่อแก่ – แม่เฒ่า
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า จำจากเจ้าไม่อยู่นาน
จะพบจะพ้องพาน เพียงเสี้ยววารของคืนวัน
ใจจริงไม่อยากจาก เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน
แต่ชีพมิทนทาน ย่อมร้าวรานสลายไป
ขอเถิดถ้าสงสาร อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ
คนแก่ชะแรวัย คิดเผลอไผลเป็นแน่นอน
ไม่รักก็ไม่ว่า เพียงเมตตาช่วยอาทร
ให้กินและให้นอน คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ
เมื่อยามเจ้าโกรธขึ้ง ให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย
ร้องไห้ยามป่วยไข้ ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน
เฝ้าเลี้ยงจนโตใหญ่ แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน
หวังเพียงจะได้ยล เติบโตจนสง่างาม
ขอโทษถ้าทำผิด ขอให้คิดทุกทุกยาม
ใจแท้มีแต่ความ หวังติดตามช่วยอวยชัย
ต้นไม้ที่ใกล้ฝั่ง มีหรือหวังอยู่นานได้
วันหนึ่งคงล้มไป ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง
วันผู้ให้กำเนิด
งานวันเกิด ยิ่งใหญ่ ใครคนนั้น ฉลองกัน ในกลุ่ม ผู้ลุ่มหลง
หลงลาภยศ สรรเสริญ เพลินทะนง วันเกิดส่ง ชีพสั้น เร่งวันตาย
ณ มุมหนึ่ง ซึ่งเหงา น่าเศร้าแท้ หญิงแก่แก่นั่งหงอย และคอยหาย
โอ้วันนี้ ในวันนั้น อันตราย แม่คลอดสายโลหิต แทบปลิดชนม์
วันเกิดลูก เกือบคล้าย วันตายแม่ เจ็บท้องแท้ เท่าไร ก็ไม่บ่น
กว่าอุ้มท้อง กว่าคลอด รอดเป็นคน เติบโตจน บัดนี้ นี่เพราะใคร
แม่เจ็บเจียน ขาดใจ ในวันนั้น กลับเป็นวัน ลูกฉลอง กันผ่องใส
ได้ชีวิต แล้วก็เหลิง ระเริงใจ ลืมผู้ให้ ชีวิต อนิจจา
ไฉนเรา เรียกกันว่า “วันเกิด” “วันผู้ให้กำเนิด” จะถูกกว่า
คำอวยพร ที่เขียน ควรเปลี่ยนมา “ให้มารดา คุณเป็นสุข” จึงถูกแท้
เลิกจัดงาน วันเกิด กันเถิดนะ ควรแต่จะ คุกเข่า กราบเท้าแม่
รำลึกถึง พระคุณ อบอุ่นแด อย่ามัวแต่ จัดงาน ประจานตัวง
ค่าน้ำนม
อันพระคุณชนนีนี้ใหญ่หลวง แม่เฝ้าห่วงลูกยามาแต่หลัง
ลูกเจริญเติบใหญ่มีพลัง เพราะแม่หลั่งน้ำนมให้ดื่มกิน
หยาดน้ำนมแม่นี้มีค่านัก ลูก ยากจักทดแทนให้หมดสิ้น
พระคุณแม่ใหญ่กว่าฟ้าและดิน มิรู้สิ้นสุดทางจะอ้างคุณ
น้ำใจแม่ล้ำเลิศประเสริฐพร้อม แม่ถนอมโอบเอื้อช่วยเกื้อหนุน
เฝ้ากล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกด้วยการุณย์ แม่เจือจุนแผ่เผื่อเอื้ออารี
โอ้พระคุณเหนือเกล้าของลูกเอย ลูกไม่เคยลืมบุญคุณแม่นี้
สุดร่ำซึ้งถึงค่าความปรานี ที่แม่มีต่อลูกจิตผูกพัน
ลูกจะแทนคุณได้อย่างไรหนอ เพื่อให้พอเพียงบุญคุณแม่นั้น
ลูกบวชเรียนเพียรพากมากอนันต์ แต่ดูมันเล็กน้อย ด้อยเกินไป
อันน้ำนมแม่นี้มีค่าล้น ลูกสุดค้นสรรหาคำปราศรัย
หาค่าอื่นหมื่นแสนในแดนใด จะยิ่งใหญ่เกินกว่า “ค่าน้ำนม”
นกน้อยทำรังแต่พอตัว
นกน้อยขนน้อยแต่ พอตัว
รังแต่งจุเมียผัว อยู่ได้
มักใหญ่ย่อมคนหัว ไพเพศ
ทำแต่พอตัวไซร้ อย่าให้คนหยัน
พึงไม่เพียรหาทรัพย์ใน ๔ อย่าง
อย่าเรียนเพียรคิดค้น ขุดทอง
อย่าตริตรึกนึกปอง บ่อนเหล้น
อย่าเรียนเวทย์มนต์ลอง สาวสวาท
แปรธาตุหนึ่งพึงเว้น สี่นี้เบียนตน
สามสิ่งนี้ถึงมีก็เหมือนไม่มี
มีเงินให้ท่านกู้ ไปนา
ศิลปศาสตร์ฤาศึกษา เล่าไว้
มีเมียอยู่เคหา ไกลย่าน
สามลักษณะนี้ใกล้ แกล่แม้นไป่มี
ทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบ
สินใดบ่ชอบได้ มาเรือน
อยู่แต่เจ็ดเดือนเตือน ค่ำเช้า
ครั้นนานย่อมเลือนเบือน ปนอยู่
มักชักของเก่าเหย้า มอดม้วยหมดโครง
โคลงโลกนิติ
แม้จะได้ยึดครองอยู่ถึงเจ็ดเดือนก็ต้องระมัดระวังให้ดีเพราะผ่านไปย่อมปะปนกับสมบัติเก่าแล้วจะพลอยดึงทั้งของเก่าและของใหม่ไปใช้จนร่อยหรอหมดได้ในที่สุด
คิดผิด...ทำผิด
ผมผิดคิดสิบห้า วันวาร
ทำไร่ผิดเทศกาล ขวบเข้า
เลี้ยงเมียผิดรำคาญ คิดหย่า
ทำผิดไว้คิดเศร้า ตราบเท้าวันตาย
โคลงโลกนิติ
หน้า:
[1]