ช้างเผือก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย moo2010 เมื่อ 2012-7-22 14:26http://gotoknow.org/file/moragot/DSC00500.JPG http://talk.mthai.com/uploads/2012/06/23/84237-saedang_barma2.jpg http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2011/06/ele2.jpghttp://www.uppicweb.com/x/i/if/dsc00491.jpghttp://learners.in.th/file/sutham-thongprom/SAMm.jpg
http://www.isnhotnews.com/wp-content/uploads/2012/03/%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81.jpgคำว่า ช้างเผือก เป็นคำสามัญที่คนทั่วไปเรียกช้าง ซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทา อันเป็นสีที่ผิดแปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา (ปกติเป็นสีเทาแกมดำ) โดยไม่คำนึงถึงลักษณะอื่น ๆ ประกอบด้วยฉะนั้นคำว่า ช้างเผือกตามความหมายที่เราเข้าใจกันจึงอาจจะเป็นทั้งช้างซึ่งมีมงคลลักษณะครบหรือไม่ครบก็ได้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนในเรื่องนี้ ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๘ หน้า ๗๕ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๔) มาตรา ๔ โดยระบุไว้ว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาวขนขาว พื้นหนังขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ขนหางยาว อัณฑโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ส่วน"ช้างสีประหลาด" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง ที่กล่าวไว้ในเรื่องช้างสำคัญจากความหมายตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า "ช้างสำคัญ" คือ ช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้างเผือกตามความหมายของคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะสีของผิวหนังนั้น อาจไม่ใช่ช้างสำคัญหรือช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วนก็ได้ เพราะสีของช้างเป็นแต่เพียงมงคลลักษณะข้อ ๑ ในจำนวนมงคลลักษณะ๗ ข้อ ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่เรียกว่า "ช้างสีประหลาด" เท่านั้นดังนั้น ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงไม่ใช้คำว่า "ช้างเผือก"เพราะเกรงว่าจะเข้าใจสับสนกัน
นอกจาก "ช้างสำคัญ" และ "ช้างสีประหลาด" แล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง "ช้างเนียม" ไว้ด้วย โดยระบุลักษณะของช้างเนียมไว้ ๓ ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย และเล็บดำ ซึ่งเป็นลักษณะของช้างที่แปลกประหลาดหายาก ดังนั้นในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า กำหนดให้ผู้ที่ครอบครองช้างสำคัญ ช้างสีประหลาด ช้างเนียม ต้องนำช้างดังกล่าวขึ้นทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับได้กำหนดบทลงโทษไว้ในมาตรา ๒๑ ว่า ผู้ใดมีช้างสำคัญ ช้างสีประหลาด หรือช้างเนียมแล้วปล่อยเสียหรือปิดบังซ่อนเร้นช้างนั้นไว้ ไม่นำขึ้นทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาทและโทษนี้ไม่ลบล้างการที่ช้างนั้นจะพึงต้องริบเป็นของหลวง ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
เป็นช้างพลายรูปงาม งาขวา-ซ้ายเรียวงามกายสีดอกบัวแดง ขนตัวขุมละสองเส้น ขนโขมดสีน้ำผึ้งโปร่ง ขนบรรทัดหลังสีน้ำผึ้งโปร่งเจือแดง ขนหูสีขาว ขนหางสีน้ำผึ้งเจือแดงแก่ ตาขาวเจือเหลืองเพดานปากขาวเจือชมพู อัณฑโกศขาวเจือชมพู เล็บขาวเจือเหลืองอ่อน หูและหางงามพร้อมเป็นเสียง แตรงอน
http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2011/06/ele2.jpg ขอบคุณมากมาก
หน้า:
[1]