สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย moo2010 เมื่อ 2012-8-7 11:10http://www.bloggang.com/data/rattanakosin225/picture/1229824293.jpg
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/29/Maha_Vajirunhis.jpg/200px-Maha_Vajirunhis.jpg
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
ข้อมูล
วันประสูติ27 มิถุนายน พ.ศ. 2421
วันสิ้นพระชนม์4 มกราคม พ.ศ. 2437
พระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมาร
ฐานันดรเจ้าฟ้า
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (27 มิถุนายน พ.ศ. 2421 – 4 มกราคม พ.ศ. 2437) มกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี แต่หลังจากดำรงตำแหน่งสยามกุฎราชกุมารได้เพียง 8 ปี ก็ทรงทิวงคต ตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารจึงตกไปยังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวารวดี พระอนุชาต่างพระมารดา
เนื้อหา
[*]1 พระราชประวัติ
[*]2 ชีวิตส่วนพระองค์
[*]3 ความสนพระทัย
[*]4 สถานที่ที่เกี่ยวข้อง
พระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 แรม 12 ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จ.ศ. 1250 ตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2421
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2429 มีพระนามตามจารึกสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงศ์ อุกฤษฐพงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสดิ์สิริวัฒนราชกุมาร มุสิกนาม
นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร เป็นตำแหน่งรัชทายาท แทนตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ประชวรด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย เสด็จสวรรคตเมื่อวันศุกร์ เดือน 2 ขึ้น 9 ค่ำ ปีมะเมียฉศก จ.ศ. 1256 ตรงกับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437 ขณะทรงมีพระชนมายุ 16 พรรษา 6 เดือน กับ 7 วัน ปัจจุบันมีพระรูปครึ่งพระองค์ประดิษฐาน ณ โรงเรียนหอวัง
ชีวิตส่วนพระองค์http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/8/85/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A8_%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpg/120px-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A8_%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpghttp://bits.wikimedia.org/static-1.20wmf8/skins/common/images/magnify-clip.png
เมื่อทรงพระเยาว์
เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุเข้าสู่วัยหนุ่ม ทรงมีพระโฉมงดงามเป็นสง่า และทรงด้วยพระสติปัญญารอบรู้ ประกอบกับการอบรมสั่งสอนจากพระราชบิดาอย่างใกล้ชิด เมื่อครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระหฤทัยผูกพันกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี พระภคินีต่างพระมารดาที่มีพระชันษาแก่กว่าพระองค์เพียง 10 เดือน เหตุที่ทรงมีพระทัยสนิทเสน่หา สืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดเมื่อครั้งทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระราชชนกด้วยกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 112 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกิจอันเป็นความลับของประเทศ ทรงมิไว้วางพระทัยผู้ใดให้ทำหน้าที่ใกล้ชิดเกี่ยวกับการนี้ โปรดเกล้าฯให้แต่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์เข้าเฝ้าใกล้ชิดตลอดเวลา
ด้วยความผูกพันดังกล่าว สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ ทรงแสดงความในพระทัยออกมาเป็นสักวาที่ทรงนิพนธ์ในโอกาสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีพระราชชนกประทับอยู่ด้วย ซึ่งเจ้านายและชาววังแอบจำต่อกันมา ความว่า
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f3/Chulalongkorn_%282%29.jpg/150px-Chulalongkorn_%282%29.jpg
พระบรมชนกนาถและพระองค์
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/6/65/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A8-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1.jpg/150px-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A8-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1.jpg
พระองค์, เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช และสมเด็จพระปิยมาวดี
ได้ยลพักตร์ลักขณาสุดาพี่จะหาไหนไม่มีเสมอสอง
เสงี่ยมงามทรามสงวนนวลละอองไฉนน้องไร้คู่อยู่เอกา
ถ้าอยู่ได้ก็จะอยู่เป็นคู่ชื่นสำราญรื่นร่วมจิตขนิษฐา
จะบนบวงสรวงเทพเทวาขอให้สมปรารถนาครานี้เอย
แต่หลังจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 พระองค์ก็มีเรื่องให้พระราชบิดากังวลพระราชหฤทัย เป็นเหตุให้พระบรมชนกนาถทรงมีลายพระราชหัตถเลขาสาปแช่งผู่ใหญ่ที่ทำให้พระราชโอรสผู้นี้ หลงทาง แสดงให้เห็นถึงว่าพระราชชนกทรงรักและห่วงใยพระองค์ ซึ่งจะต้องเป็นเสาหลักในการปกครองประเทศต่อไป เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมฯ ไปเที่ยวงานภูเขาทองซึ่งเป็นงานใหญ่ และได้เสด็จออกมาประทับ ณ วังสราญรมย์ และพบปะกับหม่อมผู้หนึ่งที่บ้านของพระยานรรัตนราชมานิต ด้วยความที่ทรงเป็นห่วงพระโอรสที่มีพระชนมายุยังน้อย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้กำชับและสาปแช่งพระยาเทเวศรฯ (ซึ่งเป็นพระอภิบาลในมกุฎราชกุมาร) ด้วยทรงรังเกียจหม่อมผู้หนึ่ง ซึ่งในพระราชหัตถเลขาได้กล่าวถึงหม่อมผู้นี้ว่าไว้ว่า "...ประพฤติตนลามกต่างๆย่อมมาปรากฏแก่หูเราหลายสิบครั้ง" ทั้งยังทรงแช่งพระยานรรัตนราชมานิตที่ทำให้สมเด็จพระบรมฯ เจอกับหม่อมผู้นั้นที่บ้านของตน แต่ท้ายที่สุดสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงรับปฏิญาณตามคำสั่งของพระราชบิดา เรื่องพระราชวิตกครั้งนี้จึงจบสิ้นลง
อนึ่งจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ได้อ้างว่า ต้นฉบับเลอะเลือนทำให้ไม่ทราบชื่อหม่อมผู้นั้น แต่ทราบเพียงว่าเป็นหม่อมห้ามของเจ้านายพระองค์หนึ่ง
ความสนพระทัยพระองค์สนพระทัยการจดไดอารี ซึ่งไดอารีเล่มดังกล่าวพระองค์ได้รับพระราชทานมาจากพระราชบิดาในวันคล้ายวันประสูติเมื่อพระชนมายุครบ 5 ชันษาบริบูรณ์ และทรงเริ่มบันทึกทันทีที่ได้รับพระราชทาน ทรงโปรดฯให้ พระองค์เจ้าโสมาวดี หรือที่ทรงเรียกว่าป้าโสม เป็นผู้จดบันทึกตามคำบอกเล่าของพระองค์ ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุ 9-10 พรรษา จึงได้เริ่มจึงได้ทรงบันทึกเอง และช่วงท้ายๆ เมื่อมีพระชันษา 13-14 ปี ทรงบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งทรงศึกษาจากครูฝรั่ง และทรงเรียกพระบรมชนกนาถในไดอารีว่า Papa
แต่หลังจากวันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2436 ทรงบันทึกหลังจากนี้อีกสามวัน แต่เป็นข้อความสั้นๆ หลังจากนั้นก็มิได้บันทึกอะไรต่ออีก จนอีกสิบเดือนต่อมาก็เสด็จทิวงคต
ขอบคุณมากครับผม ขอบคุณมากมาก
หน้า:
[1]