ธัมมเมกขสถูป : อนุสรณ์สถานแห่งการแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย moo2010 เมื่อ 2012-8-30 21:58ธัมมเมกขสถูป
หรือ
ธรรมเมกขสถูป”
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานขึ้นในโลก
นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๒,๖๐๐ ปีมาแล้ว
(พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
เมื่อย้อนไปครั้งอดีตกาลในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร”
แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
จนกระทั่งท่านอัญญาโกญฑัญญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้บรรลุโสดาบัน
และทูลขอบวชกับพระพุทธองค์ นับเป็นพระอริยสาวกรูปแรกในโลก
รวมทั้งเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ
พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เราเรียกวันนี้ว่า “วันอาสาฬหบูชา”
ป่าอิสิปตนมฤคทายวันหรือป่ากวางในอดีตนั้น
ปัจจุบันคือตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี
ซึ่งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
และที่เรียกว่า “สารนาถ” นั้น สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “สารังคนาถ”
แปลว่า ที่พึ่งของเนื้อ เหตุเพราะในป่าแห่งนี้บรรดาเนื้อทั้งหลาย
อยู่ด้วยความปลอดภัย เพราะมีพระโพธิสัตว์และพระราชาเป็นที่พึ่ง
สำหรับสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
คือเทศน์กัณฑ์แรกเพื่อประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรกในโลกนั้น
ได้มีพุทธานุสรณ์สถานอันเป็นที่ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นั่นก็คือ “ธัมมเมกขสถูป” ๑ ในพุทธสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง
ที่สำคัญของพุทธศาสนิกชน
ธัมมเมกขสถูปหรือธรรมเมกขสถูป มีหลายท่านสันนิษฐานว่า
มาจากคำว่า ธัมม+มุข หมายถึง พระธรรมจากพระโอษฐ์
บางท่านก็สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ธัมมะ+อิกข
ตามหลักไวยากรณ์บาลี แปลงตัว อิ ให้เป็น เอ
สนธิกับคำว่า ธัมมะ เป็น “ธัมมเมกขะ” หมายถึง เห็นธรรม
ส่วน “สถูป” หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่บรรจุของควรบูชา
เป็นอนุสรณ์เตือนใจให้เกิดกุศลธรรม
ดังนั้น ธัมมเมกขสถูปนี้เป็นตัวแทนแห่งการเห็นธรรมจักษุ
หรือในอีกความหมายหนึ่ง สถูปนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่
ท่านผู้เห็นธรรมจักษุในครั้งนั้น คือพระอัญญาโกณทัญญะ นั่นเอง
บริเวณสถานที่แสดงปฐมเทศนาได้มีการสร้างพระสถูปใหญ่
ความเป็นมาของธัมมเมกขสถูปนี้ ไม่แน่ชัดว่าเริ่มสร้างขึ้นในสมัยใด
สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.๒๖๙-๓๑๑)
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด
และอาจมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมขึ้นมาในสมัยราชวงศ์คุปตะ
(ราวปี พ.ศ.๙๐๐-๑๑๐๐) จากการขุดค้นสำรวจพบว่า
แผ่นอิฐด้านในพระสถูปนั้น มีอายุเก่าแก่กว่าแผ่นอิฐด้านนอก
และลวดลายที่ปรากฏบนองค์พระสถูปด้านนอกนั้นเป็นลวดลายใบไม้
ดอกไม้ นก และรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งเป็นศิลปะที่นิยมมากในสมัยคุปตะ
ธัมมเมกขสถูปเป็นสถูปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนที่เนิน
มีความสูง ๓๓ เมตรครึ่ง และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ เมตรครึ่ง
ส่วนล่างก่อด้วยหินมีภาพสวัสดิกะเป็นแผ่นหินอยู่โดยรอบ
สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งทำเป็นช่องๆ แต่ละช่องประดิษฐานพระพุทธรูปแบบต่างๆ
ช่องเหล่านั้นมีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างคละกันไป
สำหรับช่องใหญ่รอบองค์พระสถูปนั้นมี ๘ ช่อง
ซึ่งมีความหมายถึงมรรคมีองค์ ๘ ประการ (อัฏฐังคิกมรรค)
เป็นเวลากว่า ๒,๖๐๐ ปีแล้วที่สังเวชนียสถานแห่งนี้
ได้น้อมนำให้ผู้พบเห็นได้เข้าไปสู่เรื่องราวแห่งครั้งพุทธกาล
ที่พระพุทธองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ด้วยการขับเคลื่อนวงล้อแห่งธรรมให้หมุนออกไปสู่ทุกผู้นาม
และ ณ วันนั้นเองที่พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นและเริ่มเผยแผ่ออกไปแล้ว
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_12_153.jpg
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_11_157.jpg
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_17_168.jpg
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_5_260.jpg
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_3_284.jpg
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_13_144.jpg
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_9_975.jpg
http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph_15_100.jpg
ปื้มใจ เป้นบุญตา ที่ได้เห็นสถานที่ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” สาธุสาธุสาธุ ขอบคุณครับ ความปรารถนาสูงสุดในชีวิตนี้คือได้ไปถวายสักการะสักครั้ง
... ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ ขอบคุณครับ{:5_119:} ขอบคุณครับ เก่งจังครับ
หน้า:
[1]