หายใจช้าดีอย่างไร
http://www.thaihealth.or.th/sites/default/files/users/user-1490/34_20080910162848_.jpg"หายใจ" พฤติกรรมของร่างกายที่หลายคนมองว่า เป็นเรื่องที่สุดแสนจะง่าย เพราะหายใจใครๆ ก็ทำได้ทั้งนั้น แต่...เชื่อหรือไม่ว่า การหายใจของคนจำนวนไม่น้อยนั้น ต้องบอกว่า "ผิด" เพราะการหายใจที่ถูกวิธี ถูกกับสรีระและธรรมชาตินั้นคือ การที่หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ แต่ในความเป็นจริง วิธีการหายใจของหลายคนกลับกลับตาลปัตรไป ซึ่งหารู้ไม่ว่าการที่เราหายใจถูกวิธีจะช่วย ให้สุขภาพดีขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ที่ตามมา และเชื่อหรือไม่ว่า แค่หายใจถูกๆ ดีๆ ก็สามารถช่วย "ลดความดัน" ได้แล้ว
เรื่องของความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน นับว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวทีเดียว เพราะเมื่อเกิดอาการนี้ขึ้นไม่ใช่เพียงแค่ทำให้คุณรู้สึกวูบวาบ วิงเวียนศีรษะเท่านั้น แต่หากปล่อยให้ร่างกายมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานานจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงสมอง หัวใจและไต อันจะทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตัน นอกจากนั้นแล้วความดันโลหิตสูงยังทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นจนหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายจนถึงแก่ชีวิตได้...
เรื่องของเรื่องคือ เมื่อเกิดภาวะนี้ การหายใจ อย่างช้า...ช้า... ก็จะสามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้
น.พ.อนวัช เสริมสวรรค์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล กล่าวว่า การทำกิจกรรมเพื่อลดความดันโลหิตนั้นมีข้อจำกัดหลายประการ แต่ก็มีหลายวิธีที่อาจช่วย ลดความดันโลหิตได้ในผู้ที่ยังมีอาการไม่มาก เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปกับการใช้ยา
การควบคุมอาหาร และการหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น การเล่นโยคะ การนั่งสมาธิ และการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ การหายใจที่มีประสิทธิภาพ คือ การหายใจที่มีอัตราต่ำกว่า 10 ครั้งต่อนาที (อัตราปกติของการหายใจโดยเฉลี่ยเท่ากับ 13.8-19.4 ครั้งต่อนาที) การหายใจที่ยาวและลึกขึ้นนั้นจะส่งผลดีต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ
จากผลงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มี การฝึกการหายใจช้าและลึกวันละประมาณ 15 นาที ติดต่อกันเป็น ระยะเวลา 2 เดือนนั้น ค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกการหายใจ
นั่นเพราะการหายใจช้าและลึกนั้นจะมีผลไปกระตุ้นปลายประสาท ที่สัมพันธ์กับระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความดัน การเต้นของหัวใจและการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจ ซึ่งจะเป็นผล ต่อเนื่องกับความดันที่ลดลงและความต้านทานภายในหลอดเลือด ทั่วร่างกายด้วย
แต่การฝึกหายใจให้มีประสิทธิภาพด้วยตนเองนั้น อาจไม่ใช่เรื่องง่ายหากจิตใจไม่ผ่อนคลาย มีความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด โมโห กังวล ร่างกายไม่พร้อมฝึก รวมไปถึงสภาวะแวดล้อมที่อาจสร้างความรบกวนทางจิตใจ เช่น เสียงดัง อากาศที่ร้อนหรือหนาวเกินไป ล้วนแต่มีผลที่จะทำการฝึกทั้งสิ้น
หากการฝึกหายใจจะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป ด้วยเครื่องช่วยการฝึกหายใจที่เรียกว่า Device-Guided Breathing นวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงได้โดยปราศจากผลข้างเคียง
เครื่องทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์วิเคราะห์รูปแบบการหายใจและยังออกแบบการหายใจใหม่ให้เหมาะสม อย่างมีแบบแผนและแน่นอน นั่นคือหายใจช้าและลึกขึ้น
"การฝึกหายใจที่มีแบบแผนแน่นอนจะสามารถกำหนดได้ว่า ต้องปฏิบัตินานเท่าใดจึงสามารถลดความดันได้ เพราะการฝึกอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจำจะช่วยควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ ที่สำคัญ คือการใช้เครื่องมือนี้จะไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด"
การฝึกหายใจด้วยเครื่องจะส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบหลอดเลือดขยายทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจและอวัยวะต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง เพียงฝึกหายใจด้วยเครื่องวันละ 15 นาที หรือสัปดาห์ละ 45 นาที จะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ถึง 14/9 มิลลิเมตรปรอท และจะสามารถเห็นผลชัดเจนภายใน 4-8 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคความดันโลหิตสูงจะมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น หากใช้เครื่องควบคู่กับการรักษาโดยการใช้ยาและหรือ 1 วิธีการอื่นๆ ที่ไม่ใช้ยา
หน้า:
[1]