นอน นอน นอน..เรื่องที่ควรเข้าใจ
http://www.thaihealth.or.th/sites/default/files/users/user-12897/22sleeping1.jpgบางคนไม่ยอมหลับยอมนอน บ้างก็มีอาการตาค้างข้ามวันข้ามคืนกันเลยเชียว บางคนก็โชคดีหัวถึงหมอนปุ๊บหลับปั๊บ บ้างก็นอนหลับปุ๋ยเหมือนเด็กทารก หลายคนก็เกิดอาการขี้เซาจะขอนอนอยู่นั่นแหละไม่อยากตื่น เรื่องของการนอนก็แตกต่างกันไปตามแต่ละคน ทว่าเรื่องการนอนที่ดูเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่คิดอยากนอนก็นอน จะนอนท่าไหนอย่างไรก็ได้ เพราะการนอนนั้นสามารถส่งผลร้ายและดีต่อร่างกายได้
นอน...หลับตื้น-หลับลึก
"นพ.กฤษดา ศิรามพุช"ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติได้อรรถาธิบายเกี่ยวกับการนอนว่า ยามนิทรานั้น แม้จะแบ่งเป็นระยะละเอียดหลายช่วง แต่ถ้าแบ่งง่ายๆ ก็มีตอนสำคัญอยู่เพียง 2ช่วงคือ "หลับตื้น" กับ "หลับลึก" ซึ่งจะสลับกันไปตลอดช่วงการนอน ไม่ใช่ว่าเริ่มจากตื้นก่อนแล้วลึกยาวไปเลย คืนหนึ่งเราจะหลับสลับกันไปมานี้ราว 4-5รอบ และแต่ละรอบก็จะมีของแถมเป็นความฝัน (REM Sleep) ที่ปลดปล่อยออกมาจากห้วงคำนึงอยู่ด้วยเสมอ แต่เนื่องจากเราหลับๆ ตื่นๆ สลับกันไปเช่นนี้ บางทีถ้า "ตื่น" ไม่ตรงรอบก็จะจำความฝันไม่ได้
เช็ก!! คุณ 'นอน' แบบไหน
สำหรับใครที่ไม่ได้อยู่ในวงจรหลับตื่นเป็น "ตื้น" และ "ลึก" นั่นแสดงว่ามีความผิดปกติในการนอนซึ่งเป็นสัญญาณสู่โรคภัยได้ มาดูกันว่าอาการนอนที่ไม่ปกติมีแบบไหนบ้าง
นอนหลับนก เมื่อเกิดอาการ "หลับใน" (Microsleep) ขึ้นมา แก้ได้ด้วยการงีบกลางวันสักพัก อย่าเพิ่งใจร้อนขับรถหรือทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่อ เพราะสมองที่ง่วงจะยิ่งสร้างเรื่องพลาดง่ายขึ้น
นอนกินดึก หนึ่งในอาการนอนไม่หลับที่ประหลาดคือ "กลุ่มอาการติดกินดึก" (Night Eating Syndrome) ที่มักเข้าใจผิดกันไปว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ว่าการกินดึกจนเป็นนิสัยจะทำให้ "ไม่กินเช้า" ส่งผลผิดวงจรในการกินไปหมดใครที่มีอาการกินดึกนี้ต้องนึกถึงโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลไว้ด้วย ส่วนวิธีแก้ อาจต้องค่อยๆ ปรับนิสัยการกิน หรือในบางรายก็ใช้วิธีหักดิบต้องเลิกกินดึกให้ได้ 21คืนติดต่อกัน ซึ่งมีงานวิจัยตรงกันว่าอาการติดกินดึกจะหายไป
นอนกินบ้านกินเมือง การที่จู่ๆ มีพฤติกรรมนอนผิดปกติไป โดยเฉพาะกลายเป็นนอนนานขึ้น ซึมลง ดูหงอยเหงาไม่เหมือนเดิม ให้ระวังโรค "หลายหัว" จะถามหา เริ่มจากหัวแรกคือ "หัวสมองเสื่อม" อัลไซเมอร์ ส่วนหัวถัดมาคือ "หัวใจ" อาจเป็นสัญญาณหัวใจขาดเลือด และหัวอื่นๆ ก็มี เช่น หัวต่อมหมวกไตที่เสื่อมลง หรือหัวฉีดสร้างพลังกายอย่าง "ต่อมไทรอยด์" ที่ทำให้กลายเป็นคนนอนมากผิดปกติไปได้ อย่างนี้ต้องปรึกษาแพทย์
นอนขากระตุก ไม่ใช่จะลุกขึ้นมาฟาดงวงฟาดงา แต่ว่าโรคนี้ถูกเรียกตามชื่อฝรั่งว่า "เรสต์เลส เลก ซินโดรม" (Restless Leg Syndrome)เป็นรูปแบบนิทราที่ถูกรบกวนให้วิปริตไปอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เจ้าตัวไม่เป็นสุข และบางท่านรู้สึกราวกับไม่ได้หลับจากอาการปวดเมื่อย หรือรำคาญตามเนื้อตัวจนต้องทำขากระตุกเป็นระยะขณะนอน อาจเป็นอาการนำมาก่อนของการขาดธาตุเหล็ก หยุดหายใจขณะหลับเบาหวาน หรือแม้แต่โรคสมองอย่างพาร์กินสันก็ได้ ใครมีอาการแบบนี้ต้องปรึกษาแพทย์
นอนละเมอ เผลอๆ ลุกเดินเข้าห้องโน้นออกห้องนี้กันสนุก พวกสลีปวอล์กเกอร์ (Sleepwalker) หรือนักเดินนิทรานี้ถ้าเป็นมากๆ ต้องรักษาทางจิต เนื่องจากเป็นอาการหรือกลไกการแสดงออกของโรคที่ต่อเนื่องกัน นอนละเมอหากเป็นมากผู้ป่วยอาจจะเกิดอันตรายได้ ทว่าในกรณีที่เป็นในเด็กในวัยก่อน 7 ขวบ ส่วนมากจะหายเอง
นอนหยุดหายใจ นอนๆ ไปกรนครอกฟี้แล้วหยุด ซี้ไปเลยก็มี มักพบในคนเจ้าเนื้อชอบนอนหงายมีช่องคอเล็กอันตราย วิธีสังเกตอาการ คือนอนไม่อิ่ม เหนื่อยง่ายในช่วงกลางวัน หงุดหงิดหลับใน นอนกรนดังมาก แล้วพอกรนไปถึงจุดพีกก็มีหยุดเป็นระยะ อันนี้จัดว่าน่ากลัวมากต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน กรณีนี้แก้ได้ด้วยการผ่าตัดยิงคลื่นวิทยุ หรือในบางรายใช้วิธีใช้เครื่องช่วยหายใจมาครอบนอนก็ได้ผลคิดผิดคิดใหม่เกี่ยวกับการนอนหลับ
http://www.thaihealth.or.th/sites/default/files/users/user-12897/22h621.jpg
การหลับให้ดีนี้อาจเกิดได้ทั้ง "นอนกลางคืน" และ "งีบกลางวัน" ซึ่งสมองที่หลับลึกได้ปกติตามวงจร จะมีการจัดระเบียบความจำไม่ให้นำเรื่องเก่ามาเข้าปะปนกับเรื่องใหม่ ข่าวใดไม่สำคัญในสมองจะต้องลืมทิ้งไปเสีย นี่คือกลไกจัดการเมลในอินบอกซ์ของสมอง มาดูกันว่าเรามีความเชื่อในการนอนที่ถูกหรือผิดถูก
ไม่ควรนอนกลางวัน ใช้ได้ผลดีสำหรับท่านที่นอนกลางคืนไม่หลับ แต่สำหรับผู้ที่หลับกลางคืนได้สบายจะคิดงีบกลางวันบ้างนั้นก็ไม่มีปัญหายิ่งดีเสียอีก เพราะช่วย "จัดเมลบอกซ์" ของสมองอีกรอบในช่วงกลางวัน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพจำได้ดีขึ้น
นอนชดเชยได้แต่ไม่ดี จริงๆ แล้วสมองใช้การนอนแต่ละวันเป็นการ "ปะผุ" สมอง เพราะต้องถูกทำลายไปรายวันนับแสนอณู แต่ถ้าดูซีรีส์ดึกแล้วคิดว่าวันรุ่งจะมุ่งนอนอย่างเดียวมันช่วยได้น้อยมาก เพราะสมองต้องใช้เวลานอนในการจัดโฟลเดอร์ความจำด้วยผิด
วันหยุดนอนดึกตื่นสาย คิดว่าการนอนสายของอีกวันหนึ่งจะช่วย "เติม" ส่วนที่ขาดไปให้สมองได้ จริงๆ แล้วในการลบล้างความผิดดังว่านี้ไม่มีอยู่จริงๆ เพราะสมองเหมือนนาฬิกาเมื่อเวลาเดินผ่านนาทีทองของการหลั่งธาตุนิทรา (Melatonin) และธาตุหนุ่มสาว (Growth Hormone) ไปแล้วก็คือผ่านไป ถ้าอยากได้ก็ต้องรออีกวัน
อดนอนอ่านหนังสือสอบ มีงานวิจัยชี้ชัดว่าการอดนอนถ่างตาอ่านหนังสือสอบไม่ทำให้ตอบโจทย์ได้ดีเลย เพราะหัวใจสำคัญอยู่ที่ขณะนอนหลับสนิทคือการ "ทบทวน" องค์ความรู้ระหว่างวันที่เคยผ่านตาเข้ามายังเนื้อสมองแล้วอาจลืมไป การได้นอนจะเป็นการตีตราประทับรับความรู้เข้าสมองให้แนบแน่นลึกซึ้งขึ้น ดังนั้นการง่วง คือสมองเตือนให้หลับก็ควรหลับแม้จะอ่านยังไม่จบ
ตื่นเช้าดีเสมอ ไม่จริงเสมอไป เพราะในเวลาเช้าจัดมาก หรือหากออกกำลังมาเหนื่อยๆ ในคืนก่อนหน้าแล้วยังต้องมาตื่นเช้าอีก จะทำให้ร่างกายหลั่ง "ธาตุเครียด" ออกมา โดยในวัยรุ่นคือราว 8โมงเช้าพอดี ทำให้มีอาการง่วงซึมไม่สดชื่น ไม่อยากตื่นมาเรียน นิทราบำบัด
ปัญหานอนเพี้ยนทำให้เปลี่ยนชีวิตได้ และโรคส่วนใหญ่สามารถหายได้ด้วยเพียงแค่การ "นอนพอ" ซึ่งเป็นของที่เน้น "คุณภาพ" ไม่ใช่ "ปริมาณ" การนอน 8 ชั่วโมง อาจสู้นอน 15 นาที แต่หลับลึกแบบคนฝึกจิตดีไม่ได้
วิธีแก้ที่ดีที่สุด คือการเป็นหมอของตัวเองลองบำบัดด้วยตัวเองก่อน ในทางเวชศาสตร์อายุรวัฒน์เน้นให้คุณเป็น "หมอนอน" สอนให้ตัวหลับสนิทด้วยวิธีง่ายๆ เรียกว่า "นิทราบำบัด"
- ฝึกตัวเองก่อนที่จะนอน ให้ตั้งใจมุ่งมั่นบอกกับตัวเองว่าฉันจะนอน ค่อยๆ บอก ค่อยๆสั่งมโนสำนึกของตัวเองอย่างช้าๆ ทว่าได้ผลโดยความนึกคิดและความจำของคนนี้จะถูกป้อนใส่เข้าในช่องสมองอย่างแนบแน่นในช่วงระหว่างหลับลึกกับฝัน ช่วงนี้เปรียบเสมือนนาทีทอง บอกหรือสั่งอะไรสมองไว้สมองจะทำตาม รวมทั้งการหลับที่มีคุณภาพ
- ห้ามออกกำลังกายหนักก่อนนอน
- ห้ามรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนนอน ควรมีระยะห่างจากมื้อสุดท้ายถึงนอน (หัวถึงหมอน) อย่างน้อย 3ชั่วโมง
- ห้ามดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มกาเฟอีน
- ห้ามใช้ยานอนหลับ ยานอนหลับต้องใช้ตามแพทย์สั่ง
- ยกเลิกกิจกรรมที่จะทำให้การนอนยืดเยื้อออกไป เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ในช่วงแรกอาจต้องนำออกไปจากห้องนอนโดยเด็ดขาด
- อย่าคุยโทรศัพท์ก่อนนอน
- ทำสมาธิ สวดมนต์เพื่อผ่อนคลายจิตใจก่อนนอน
- เข้านอนเวลาใด ให้เข้านอนเวลานั้นทำเป็นประจำทุกคืนให้เป็นนิสัย
ขอบคุณมากครับ เอาไปใช้ได้ดีเลยหละครับ
หน้า:
[1]