วิตามินเค กับการแข็งตัวของเลือด
วิตามินเค กับการแข็งตัวของเลือดวิตามินเค เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ
วิตามินเค จัดได้ว่าเป็นวิตามิน ที่อยู่ในกลุ่มของวิตามินที่ ละลายได้ดีในไขมัน โดยวิตามินเค มีความสำคัญคือ ช่วยให้เลือดแข็งตัว เป็นการป้องกัน เลือดไหลไม่หยุดนั่นเอง ซึ่งใน 1 วันร่างกายของมนุษย์ มีความต้องการ วิตามินเค มากถึง 100 ไมโครกรัม และโดยปรกติแล้ว เชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ของเราสามารถสังเคราะห์ วิตามินเคได้เอง
วิตามินเค มีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด
ภาวะที่รางกายขาด วิตามินเค คือจะมีเลือดไหลออกมา จากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ไม่วาจะเป็น ผิวหนัง ลำไส้ หรือช่องกะโหลกศีรษะ สำหรับโรคที่มักจะเกิดขึ้น หากร่างกาย ได้รับปริมาณของวิตามินเคน้อย หรืออยูในภาวะขาดวิตามินเค เช่น โรคเรื้อรังของ ระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน เป็นต้น
สำหรับคุณแม่ที่ เลี้ยงลูกด้วยนม หากคุณแม่ มีภาวะขาดวิตามินเค อาจจะส่งผลทำให้ลูก เกิด ภววะเลือดไม่แข็งตัว มีเลือดออกในช่องกะโหลก ลำไส้ หรือมีเลือดออก บริเวณผิวหนังได้ เนื่องจากเด็กทารก ยังมีปริมาณไขมันในระดับต่ำ และเชื้อโรคที่ลำไส้ ของเด็กทารก ในช่วงที่เด็กอายุ 1 สัปดาห์หลังจากที่ลืมตาดูโลก ก็ยังไม่มีจึงไม่สามารถ สังเคราะห์ วิตามินเค ได้เอง จึงต้องอาศัยวิตามินเค จากน้ำนมแม่อย่างเดียว
ภาวะขาดวิตามินเค
อาการที่แสดงถึง ภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกะโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรกของทารกแรกเกิด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกมีไขมันสะสมน้อย ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ประกอบกับวิตามินเคที่ผ่านมาทางรกและน้ำนมจากมารดานั้นมีปริมาณน้อย
สำหรับภาวะขาดวิตามินเคในผู้ใหญ่นั้น มักเกิดร่วมกับสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน หลังจากการผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้าง
การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจ เวลาโปรธรอมบิน (prothrombin time ; PT) ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเคจะใช้เวลานานกว่าปกติ หรือตรวจปริมาณวิตามินเคโดยตรงด้วยวิธี HPLC
การรักษาทำได้โดยให้วิตามินเคในรูปยาฉีด 10 มิลลิกรัมครั้งเดียว ในผู้ป่วยที่โรคเรื้อรังอื่นอาจเสริมด้วยวิตามินเคในรูปยากิน 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ในรูปยาฉีด 1-2 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์
ภาวะวิตามินเคเป็นพิษ
ภาวะวิตามินเคเป็นพิษ (Hypervitaminosis K) คือ การได้รับวิตามินเคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และภาวะบิลิรูบินในเลือดต่ำในทารกได้
สามารถพบแหล่งของวิตามินเค ได้จากการรับประทานอาหารเหล่านี้
แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย วิตามินเค สามารถหาได้จาก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก เนื้อสัตว์ นมสด เนย
อาหารประเภทผลไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิตามินเค อาทิเช่น กล้วย ราสเบอร์รี่ ลูกแพร์ เป็นต้น
อาหารประเภทผัก ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิตามินเค อาทิเช่น
ผักคะน้า ผักโขม ข้าวโพด รำข้าว กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กะหล่ำปลี บร็อกโคลี กาแฟ เป็นต้น
วิตามินเคพบมากในอาหารประเภทผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ นม เนย น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กาแฟ และแพร์
ปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ 100 ไมโครกรัมต่อวัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.hemophiliathai.com/2011/12/blog-post_27.html
https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/547504_702191689807707_605003919_n.jpg
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ขอบคุณครับ
หน้า:
[1]