"รู้และเข้าใจภัยจากไวรัสตับอักเสบ"
"รู้และเข้าใจภัยจากไวรัสตับอักเสบ"คนส่วนใหญ่มักเข้าใจเพียงว่า ไวรัสตับอักเสบเป็นตัวการก่อให้เกิดตับอักเสบ มะเร็งตับ และตับแข็ง แต่หลายคนยังสับสนเกี่ยวกับชนิดของไวรัสตับอักเสบ เนื่องจากมีหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีลักษณะและคุณสมบัติแตกต่างกัน ช่องทางการติดต่อก็ต่างกัน บางชนิดมีวัคซีนป้องกันบางชนิดยังไม่มี
ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด?
ไวรัสตับอักเสบที่มักก่อให้เกิดอาการทางคลินิกในปัจจุบันมี 5 ชนิดด้วยกันคือ ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A virus ;HAV) ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus ;HBV) ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus ;HCV) ไวรัสตับอักเสบดี (Hepatitis D virus ;HDV) ไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E virus ;HEV)
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจะมีอาการแสดงได้ 2 แบบคือ
การติดเชื้อแบบเฉียบพลัน (Acute viral hepatitis)
อาการ : มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อาจมีผื่น ปวดข้อ ร่วมด้วย ปัสสาวะมีสีเข้ม ต่อมาไข้จะลดลงผู้ป่วยจึงเริ่มมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
การติดเชื้อแบบเรื้อรัง (Chronic viral hepatitis)
อาการ : โดยทั่วไปผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติหรืออาจมีอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น เหนื่อย อ่อนเพลียเล็กน้อย ในผู้ป่วยติดเชื้อมานานอาจตรวจพบอาการและอาการแสดงของตับแข็งได้ การตรวจทางภูมิคุ้มกันจะสามารถบอกเชื้อก่อโรคได้ โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง คือ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสตับอักเสบดี
ไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร?
ไวรัสตับอักเสบที่พบได้บ่อยคือ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ในที่นี้ขอกล่าวถึงความแตกต่างของไวรัสทั้ง 3 ชนิดนี้
1.ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A virus)
การติดต่อของไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการกินน้ำ หรืออาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระ มีระยะฟักตัวประมาณ 2 – 6 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อในเด็กส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการแต่ในผู้ใหญ่จะมีอาการแสดงของตับอักเสบเฉียบพลันที่รุนแรงและชัดเจนกว่าในเด็ก ผู้ป่วยจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจะไม่กลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
การป้องกัน
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอสามารถป้องกันได้ โดยการป้องกันการปนเปื้อนของอาหารและน้ำ และการฉีดวัคซีน (Active immunization)
2.ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus)
การติดต่อของไวรัสตับอักเสบบี สามารถเกิดได้หลายทางคือ
การได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด การฉีดยาเข้าเส้น การสักลาย การเจาะหู การใช้ของมีคม เช่น มีดโกนหนวดร่วมกัน เกิดจากการติดเชื้อในระหว่างคลอด การติดเชื้อในช่วงต้นของวัยเด็ก ความเสี่ยงในการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในผู้ที่มีคู่นอนหลายคน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบเชื้อในน้ำลายได้ แต่การติดต่อทางน้ำลายพบได้น้อยมาก
การป้องกัน
ไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ปัจจุบันประเทศไทยฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีให้เด็กแรกเกิดทุกคน ส่วนในผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยติดเชื้อและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงคือ
ผู้ประกอบอาชีพด้านการแพทย์
ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกันหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ป่วยไตวายที่รับการฟอกเลือดหรือผู้ป่วยโรคเลือดที่ต้องได้รับเลือดบ่อยๆ
ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดเข้าเส้นหรือมีคู่นอนหลายคน
3.ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus)
การติดเชื้อสามารถติดต่อได้โดยการได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด การฉีดยาเข้าเส้น การติดต่อระหว่างคลอดจากแม่สู่ลูกพบได้ร้อยละ 5 – 6 และการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
อาการ
ไวรัสตับอักเสบ ซี ชนิดเฉียบพลัน
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ ในกลุ่มที่มีอาการจะพบว่ามีภาวะดีซ่าน เหนื่อย เพลีย มีไข้ต่ำ คลื่นไส้ อาเจียนและปวดท้องใต้ชายโครงขวา หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 – 12 สัปดาห์
ไวรัสตับอักเสบ ซี ชนิดเรื้อรัง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการเหนื่อย เพลีย ปวดท้องใต้ชายโครงขวา หรือตับโตได้ การติดเชื้อของผู้ป่วยประมาณร้อยละ 85 จะกลายเป็นไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง ส่วนน้อยจะหายจากโรคได้เอง ในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังประมาณร้อยละ 20 – 30 จะเกิดตับแข็งในเวลา 10 – 20 ปี และหลังจากเกิดตับแข็งผู้ป่วยร้อยละ 2 – 7 จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับในเวลา 10 ปี
การป้องกัน
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี การป้องกันไวรัสตับอักเสบซี สามารถทำได้โดย การตรวจคัดกรองเลือดที่รับบริจาค การใช้เข็มที่ปราศจากเชื้อ และการไม่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน
หากรู้จักวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับได้
ขอขอบคุณข้อมุลจากโรงพยาบาลเวชธานี
www.vejthani.com
https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/p480x480/1098247_702734733086736_1707880124_n.jpg
เอ..สงสัยอย่างแรง เวลาเรา "ดูด" ให้เขาเนี่ย (ยังไม่แตก)มีโอกาสติดไวรัสตับตัวไหนมั่งครับ? {:5_131:}
หน้า:
[1]