vagon โพสต์ 2013-9-9 04:06:28

มะเร็งลูกอัณฑะ (อย่ามองข้าม)

          คงเป็นฝันร้ายสำหรับใครหลายๆ คน ที่จ้องพบกับปัญหาใหญ่ที่ไม่มีใครอยากเจอ นั่นก็คือมะเร็ง และปัญหามะเร็งอีกปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้ชาย ที่ไม่ควรมองข้ามเป้นอันขากนั่นก็คือมะเร็งลูกอัณฑะ วันนี้จอเลยเอา ข้อมูลเกี่ยวกับมะเล็กลูกอํณฑะมาฝาก สมาชิกให้ได้ศึกษาและรู้จักการป้องกันไว้ล่วงหน้าครับ
http://www.screenoncancer.com/TH/download_TH/stomach%20cancer_clip_image002.jpg

1) การแพร่กระจายมะเร็งลูกอัณฑะ : การศึกษาวิจัยทางด้านมะเร็งลูกอัณฑะได้เจริญก้าวหน้าอย่างมากในปีที่ผ่านมา จนสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดนี้ได้ (ยกเว้นในกรณีที่เนื้อร้ายนั้นมีขนาดใหญ่และพบเมื่อสายเกินไป แต่โชคดีที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก) มะเร็งลูกอัณฑะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบ seminoma และ nonseminoma
1) มะเร็งลูกอัณฑะแบบ seminoma จะพบได้ประมาณ 35% ในผู้ใหญ่เพศชาย จะพบมากขึ้นตามอายุ เริ่มตั้งแต่เข้าวัยหนุ่มสาว ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือประมาณ 30-40 ปี มะเร็งประเภทนี้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการรักษาแบบรังสีบำบัดและ เคมีบำบัดได้เป็นอย่างดี
2) มะเร็งลูกอัณฑะแบบ nonseminoma พบได้ประมาณ 55% และส่วนใหญ่พบในผู้ชายวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุเฉลี่ยประมาณ 31 ปีซึ่งเป็นช่วงที่ลูกอัณฑะมีการทำงานเต็มที่ มะเร็งประเภทนี้ตอบสนองต่อเคมีบำบัดได้ดี
ในบางกรณีอาจเกิดมะเร็งทั้ง 2 ประเภทร่วมกันได้ ในสหรัฐอเมริกามีผู้เป็นมะเร็งอัณฑะประมาณ 10,000 คนต่อปี มะเร็ง ลูกอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศชายวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีอายุตั้งแต่ 20-25 ปี มีผู้เป็นโรคมะเร็งชนิดนี้คิดเป็น 1% ของบรรดาโรคมะเร็งในเพศชายทั้งหมด
http://variety.teenee.com/foodforbrain/img3/50313.jpg
2) การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลูกอัณฑะ :ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ : - ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะ (undescended testicle), - การเจริญเติบโตของลูกอัณฑะผิดปกติ; - มะเร็งประเภทนี้พบในชนผิวขาวมากกว่าชนผิวดำ; - ชายที่มีโครโมโซมเพศผิดปกติ (Klinefelter syndrome).
สัญญาณผิดปกติต่างๆ : - ขนาดของลูกอัณฑะโตขึ้น โดยไม่มีอาการเจ็บปวด; - จากนั้นจะมีอาการเจ็บที่ลูกอัณฑะ โดยที่ก้อนภายในลูกอันฑะไม่มีอาการเจ็บปวด นอกจากนี้ถุงอัณฑะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น;- ปวดชาในบริเวณท้องส่วนล่าง.
การตรวจวินิจฉัย :โดยมากสามารถตรวจพบมะเร็งลูกอัณฑะได้ด้วยตนเองจากการสังเกตความผิดปกติของลูกอัณฑะ- ตรวจร่างกายทั่วไป - ตรวจเลือดเพื่อหาตัวบ่งชี้มะเร็ง AFP, BHCG, CEA , CA 19-9 และ CA125 โดยจะพบว่าตัวบ่งชี้ AFP และ BHCG มีค่าสูงใน คนไข้ 80% ที่มีมะเร็งลูกอัณฑะแบบ nonseminoma หากพบค่าของตัวบ่งชี้ AFP เกิน 10,000 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรและค่า BHCG เกิน 50,000 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร แสดงว่ามีค่าสูง ควรเข้ารับการบำบัดรักษาโดยด่วน - การเอ็กซเรย์ด้วยวิธี tomodensitometry- การตรวจอัลตร้าซาวด์แบบ color Doppler- การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อตรวจวิเคราะห์ประเภทและการแพร่กระจายของมะเร็ง
http://upic.me/i/gl/l0603.png
3) การบำบัดรักษาโรคมะเร็งลูกอัณฑะ :ความก้าวหน้าทางการแพทย์รุดหน้าไปไกลมากจนไม่ต้องหาคำตอบแล้วว่าโรคนี้สามารถรักษาได้หรือไม่ แต่มาเน้นศึกษาว่า การรักษาแบบใดจะทำให้มีอาการข้างเคียงน้อยที่สุด โดยมี 2 ระดับดังนี้ - ขั้นแรก ลดความเสี่ยงด้านภาวะพิษและภาวะเป็นหมันที่อาจเกิดจากการรักษา- และขั้นต่อมา ลดระดับความเสี่ยงของการกลับมาของมะเร็งให้เหลือน้อยที่สุด- สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งลูกอัณฑะที่ไม่รุนแรง ภายหลังการรักษาควรตรวจสุขภาพเพื่อติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นการเฝ้าระวัง ไม่ให้กลับมาเป็นมะเร็งอีก - การผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออก (orchiectomy)จะทำให้สมรรถภาพทางเพศและการสืบพันธุ์ลดลง- การรักษาด้วยวิธีรังสีบำบัด ซึ่งจะมีผลต่อการผลิตน้ำอสุจิ แต่ความสามารถในการสืบพันธุ์ของคนไข้ส่วนใหญ่จะสามารถคืนกลับมาเป็นปกติได้ในเดือนถัดมา - เคมีบำบัด ความก้าวหน้าของการใช้เคมีหลายๆชนิดบำบัดสามารถรักษา 90% ของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ให้หายได้มามากกว่า10 ปีแล้ว ชายวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีมะเร็งลูกอัณฑะควรระลึกไว้เสมอว่าการบำบัดรักษาอาจมีผล ทำให้เป็นหมัน โดยแพทย์อาจแนะนำ ให้ใช้บริการของธนาคารอสุจิ (sperm bank)
4) การตรวจติดตามผลหลังจากการรักษา ควรหมั่นตรวจสอบสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ- ตรวจร่างกายตามปกติ ; - การเอ็กซเรย์ด้วยวิธี tomodensitometry- ตรวจเลือดเพื่อเช็คค่าของตัวบ่งชี้มะเร็งชนิดต่างๆ การฉายรังสีและการทำเคมีบำบัดอาจมีผลกระทบต่อการทำงานของลำไส้,ไตและกระดูกได้ มะเร็งลูกอัณฑะมีโอกาสกลับมาเกิดอีกได้ ( 80%) ซึ่งมักจะตรวจพบภายใน 2 ปี จะดูว่าได้รักษาจนหายดีแล้วหรือไม่ ก็ต่อเมื่อไม่พบการกลับมาของมะเร็งภายในระยะเวลา 5 ปี
Meijiอ้างอิงจาก screenoncancer

jwat โพสต์ 2013-9-9 06:02:58

ได้ความรู้มากครับ ขอบคุณครับ

uglymen โพสต์ 2013-9-9 16:56:22

เป็นประโยขน์มากครับ

Namtip โพสต์ 2013-9-9 21:46:11

ยอดเยี่ยม.....

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ครับ{:5_146:}

Medmayom โพสต์ 2013-9-10 09:50:38

{:5_119:}ขอบคุณ ในสาระประโยชน์ที่นำมาแบ่งปันกันครับ {:5_119:}

kite โพสต์ 2017-11-15 16:01:57

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ

platong โพสต์ 2017-11-19 14:18:24

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมุลดีๆ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: มะเร็งลูกอัณฑะ (อย่ามองข้าม)