โรคมะเร็งของ ลูกอัณฑะ (testicular cancer)
โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer)
โรคมะเร็งของ ลูกอัณฑะ(testicularcancer) พบได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะพบ
ในผู้ป่วยวัยอายุไม่มาก แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-35ปี
จะพบว่าโรคมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดส ำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้
ข้อมูล ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคมะเร็งอัณฑะร้อยละ 1 ของผู้ป่วย
ชายที่เป็นโรคมะเร็งทั้งหมด แต่ละปีมีผู้ป่วยประมาณ 7,400 ราย พบได้บ่อย
ในผู้ชายผิวขาว ระยะหลังพบผู้ป่วยโรคมะเร็งอัณฑะมากขึ้นโดยที่ยังไม่ทราบ
สาเหตุที่แน่ชัด
สาเหตุ
1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
2. ประวัติการมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งอัณฑะประวัติการเป็นมะเร็ง
ที่อัณฑะข้างหนึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะตรวจพบมะเร็งที่ลูกอัณฑะอีกข้ าง
3. ภาวะที่ลูกอัณฑะไม่เคลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะ เรียกว่า
4. undescended testicle (cryptorchidism) เกี่ยวข้องกับยาฆ่าแมลง
พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งอัณฑะตรวจพบระดับ DDE สูงกว่าปกติโดย DDE
เป็นสารที่เปลี่ยนแปลงมาจาก DDT ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สั่งระงับ
การใช้ไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ผลการศึกษาพบว่าโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น1.7 เท่า
5. รายงานผลการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าพนักงานดับเพลิงมี
โอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งอัณฑะ สูงกว่าคนธรรมดาหนึ่งเท่าตัวจากการคลุกคลี
กับสารเบนซิน โคโรฟอร์ม และเขม่าและยังมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เสี่ยงกับการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเนื้องอกไขกระดูก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับผู้ประกอบอาชีพอื่นและพลเมืองทั่วไป
อาการ
1. อาการแสดงของมะเร็งลูกอัณฑะ นอกจากจะ
2. คลำก้อนหรือมีอาการบวมของลูกอัณฑะแล้ว ยังอาจจะมีอาการปวดและ
กดเจ็บ และคนไข้จะรู้สึกตึงหนักๆ บริเวณลูกอัณฑะ การคลำพบก้อนผิดปกติ
ด้วยตนเองซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการเจ็บปวด ทำให้ผู้นั้นอาจมองข้ามไปก็ได้
หากผิดปกติควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันและให้การรักษา
ที่ถูกต้องต่อไป
3. สิ่งที่จะช่วยในการตรวจพบได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติ
คือการตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง
การวินิจฉัย
1. การตรวจพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ภายหลังจากคลำก้อ นที่ลูกอัณฑะได้ คือ
2. การผ่าตัดเล็กเอาชิ้นเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน ์ มะเร็งลูกอัณฑะ
ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยก้อนที่ไม่เจ็บตรวจพบได้จากการคลำลูกอัณฑะด้วยตนเอง
บางครั้งอาจรู้สึกเจ็บที่ลูกอัณฑะ ในรายที่โรคเป็นมากแล้วอาจจะมีอาการไอ
ปวดท้อง และน้ำหนักลด
3. การตรวจอัลตราซาวน์มีประโยชน์อย่างยิ่งในการวินิจฉัย โรคส่วนการตรวจ
เลือดเพื่อหาสารมะเร็ง พิจารณาส่งตรวจ alpha fetoprotein(AFP) และ beta HCG
การตรวจภาพรังสีทรวงอกและภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยในการแบ่งระยะของโรค
และดูว่ามะเร็งมีการกระจายไปที่ใดหรือไม่การตรวจคลำความผิดปกติที่ลูกอัณฑะ
ให้เป็นประจำ จะสามารถบอกความผิดปกติได้ทันทีเมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
การรักษา
1. ถ้าพิสูจน์แล้วว่าเป็นมะเร็งลูกอัณฑะ แพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาตัดลูกอัณฑะ
ข้างนั้นออกไป และบางรายอาจต้องการ การฉายแสงและให้ยาเคมีบำบัดเพื่อ
ป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย การผ่าตัดเรียกว่า
radical inguinal orchiectomy โดยผ่าตัดเอาลูกอัณฑะและ spermaticcord
ออกไป แผลผ่าตัดที่ขาหนีบ อาจดมยาสลบหรือให้ยาเฉพาะที่การผ่าตัดใช้เวลา
ประมาณ 1 ชั่วโมงในกรณีที่ตรวจพบว่ามะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง ต้องทำ
การผ่าตัด retroperitoneal lymph node dissection เพิ่มเติม การฉายแสงอาจ
พิจารณาใช้ลำแสงจากภายนอกร่างกาย โดยฉายแสงภายหลังการผ่าตัด ปริมาณ
ของรังสีที่ใช้จะน้อยเมื่อเทียบกับการฉายแสงรักษามะเร็งชนิดอื่นๆ ผลข้างเคียง
ที่อาจพบ ได้แก่ ท้องเสีย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และระคายผิวหนังเคมีบำบัด นิยม
ใช้ตามหลังการผ่าตัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออ ยู่ ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
อัณฑะ ได้แก่ Cisplatin (Platinol?), Vinblastine (Velban?),
Bleomycin (Blenoxane?), Cyclophosphamide (Neosar?),
Etoposide (Etopophos?), Ifosfamide (Ifex?)
การป้องกัน
ผู้ชายทุกคนควรคลำความผิดปกติที่ลูกอัณฑะให้เป็นประจำ จะสามารถบอกความ
ผิดปกติได้ทันที เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง
1. ผู้ชายทุกคนควรตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง โดยการคลำเพื่อตรวจหาความผิด
ปกติบริเวณลูกอัณฑะ ซึ่งถือเป็นการตรวจร่างกายด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์
อย่างยิ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้นเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ
คือ เวลาหลังอาบน้ำ เพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะจะหย่อนและคลำได้ง่าย
ตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆ คลำเลื่อนไปเรื่อยๆ
คลำดูว่ามีก้อนหรือการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะคลำ
ได้ส่วนหยุ่นๆ ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นปกติถ้าคลำได้ก้อนหรือส่วนใดผิดปกติ
ควรรีบปรึกษาแพทย์ความผิดปกตินั้นอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอดบริเวณ
ลูกอัณฑะซึ่งพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกหรือมะเร็งลูกอัณฑะ ขอบคุณคร๊าบๆๆๆๆ คุณหมอ ^^ ขอบคุณครับพี่
หน้า:
[1]