มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ระบบน้ำเหลือง ซึ่งประกอบด้วย
-น้ำเหลือง เป็นน้ำไม่มีสี ประกอบด้วยเม็ดเลือดขาว-ทางเดินน้ำเหลือง เป็นเครือข่ายเส้นทางเดินน้ำเหลืองจากทั่วร่างกาย และนำน้ำเหลืองกลับสู่กระแสเลือด-ต่อมน้ำเหลือง เป็นก้อนที่ประกอบจากน้ำเหลืองซึ่งมีเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกันโรคและการติดเชื้อจะพบต่อมน้ำเหลืองได้ตลอดทางเดินน้ำเหลือง
-ม้าม อวัยวะผลิตเม็ดเลือดขาว กรอง สะสมและทำลายเม็ดเลือดแดง อยู่ด้านซ้ายของท้องใกล้กระเพาะอาหาร-ต่อมธัยมัส เม็ดเลือดขาวแบ่งตัวและเจริญเติบโตที่อวัยวะนี้อยู่ใต้กระดูกหน้าอก-ต่อมทอนซิล เป็นต่อมน้ำเหลือง 2 ต่อมอยู่หลังช่องปาก-ไขกระดูก อยู่ภายในกระดูก ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดเนื่องจากต่อมน้ำเหลืองมีทั่วร่างกาย มะเร็งชนิดนี้จึงพบได้ทั่วร่างกายเช่นกันมีการแบ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวฮอดจ์กิน (Hodgkin lymphoma) และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่ใช่ฮอดจ์กิน (non-Hodgkin Lymphoma)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน
มะเร็งเม็ดเลือดขาวฮอดจ์กินเกิดได้ ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก แต่การรักษาต่างกันรวมถึงมีโอกาสในผู้ป่วยโรคภูคุ้มกันบกพร่องซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยเฉพาะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 ชนิดคือ nodular lymphocyte predominant และ classical
ชึ่ง classical แบ่งเป็นกลุ่มย่อย4 กลุ่มคือ Nodular sclerosing, Mixed cellularity,Lymphocyte depletion และ
lymphocyte rich
ปัจจัยเสี่ยง
เด็กหรือวัยรุ่น, ผู้ชาย, ติดเชื้อEpstein-Barr virus, มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวฮอดจ์กินอาการแสดง
ต่อมน้ำเหลืองโต ไม่เจ็บที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบ ไข้ไม่ทราบสาเหตุเหงื่อออกกลางคืน น้ำหนักลด คัน อ่อนเพลียการวินิจฉัยโรค
-ตรวจร่างกาย ดูสภาพร่างกายทั่วไป ดูก้อนตามตัว-ตรวจเลือด (CBC, ESR, Blood chemistry, LDH)-ผ่าต่อมน้ำเหลืองตรวจทางพยาธิวิทยาซึ่งมีลักษณะเนื้อเยื่อเฉพาะ(Reed-Sternberg Cell)-เจาะตรวจไขกระดูก-เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เพ็ทสแกน สแกนคลื่นแม่เหล็ก เอ็กซ์เรย์ปอดเพื่อบอกระยะของโรค(ไม่จำเป็นต้องทำทุกชนิด)การพยากรณ์โรค
ขึ้นกับอาการ ระยะ ชนิด อายุ เพศ สภาพร่างกาย ผลเลือดของผู้ป่วยระยะของโรคการกระจายของโรคไปได้ 3 ทางได้แก่มะเร็งโตเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงโดยตรง, กระจายไปทางต่อมน้ำเหลืองและไปทางเลือดแบ่งระยะของโรคดังนี้
ระยะที่1 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 1 ที่ระยะที่2 พบมะเร็งมากกว่า 1 ที่แต่อยู่ฝั่งเดียวกันโดยใช้กระบังลมเป็นตัวแบ่ง(บน/ล่าง)ระยะที่3 พบทั้งสองฝั่งของกระบังลมระยะที่4 กระจายไปอวัยวะนอกระบบน้ำเหลืองหลายตำแหน่งหนึ่งหรือหลายอวัยวะก็ได้ หรือกระจายไปอวัยวะนอกระบบน้ำเหลืองจุดเดียวร่วมกับพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองนอกบริเวณของอวัยวะนั้น
นอกจากระยะของโรค ยังมีคำอธิบายต่อท้ายดังนี้ Aไม่มีอาการแสดงBมีไข้ไม่ทราบสาเหตุอุณหภูมิมากกว่า 38 องศาเซลเซียส เหงื่ออกกลางคืน น้ำหนักลดมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์Eมะเร็งอยู่นอกระบบน้ำเหลืองSพบมะเร็งที่ม้ามกลุ่มของโรคแยกเพื่อแบ่งกลุ่มในการรักษา-ระยะที่1 และ 2 เป็นระยะเริ่มต้น,ระยะที่ 3 และ 4 เป็นระยะรุนแรง-แบ่งกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงและไม่มี ปัจจัยเสี่ยงในระยะเริ่มต้นได้แก่ก้อนขนาดใหญ่,ESR > 50, เป็นมากกว่า 3 ตำแหน่ง,มีกลุ่มอาการ B หรืออยู่นอกระบบต่อมน้ำเหลืองส่วนปัจจัยเสี่ยงระยะรุนแรงได้แก่ ผู้ชาย, อายุน้อยกว่า 45,ระยะที่ 4, albumin
< 4 g/dL,Hemoglobin < 10.5 g/dL, เม็ดเลือดขาวเยอะกว่า 15,000/mm3หรือเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte
น้อยกว่า 8 % ของเม็ดเลือดขาวหรือ< 600/mm3
ทางเลือกในการรักษา
-การ ฉายแสง ใช้เอ็กซ์เรย์พลังงานสูงเพื่อกำจัดมะเร็งมี 2 แบบได้แก่แบบฉายรังสีภายนอก และการฉายรังสีระยะใกล้ โดยใช้เม็ดแร่ผ่านเข็มหรือเครื่องมือเข้าไปในตัวผู้ป่วย
-เคมี บำบัด โดยฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำทำให้สามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกายเคมีบำบัดอาจให้เฉพาะที่ได้ เช่น ให้ในช่องท้องไขสันหลังเพื่อให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่
-การ ผ่าตัด ในโรคนี้ใช้เพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา-ยา สเตียรอยด์ ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อเคมีบำบัด-การ ปลูกถ่ายไขกระดูกร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงและการฉายแสงทั้งตัว โดยให้เคมีบำบัดและการฉายแสงเพื่อทำลายแหล่งสร้างเม็ดเลือดขาวทั้งตัวแล้วปลูกถ่ายไขกระดูกซึ่งได้จากผู้ป่วยเองก่อนได้เคมีบำบัดหรือ ไขกระดูกจากคนอื่นเข้าสู่ผู้ป่วย
การรักษาตามกลุ่มของโรค
-กลุ่ม ระยะเริ่มต้น ไม่มีปัจจัยเสี่ยงรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน การฉายรังสีอย่างเดียว หรือการให้ยา เคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีเพื่อลดปริมาณของเคมีบำบัดและรังสีทำให้ผลข้างเคียงทั้งสองลดลง
-กลุ่มระยะเริ่มต้น มีปัจจัย เสี่ยง ให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี-กลุ่มระยะรุนแรง ไม่มีปัจจัย เสี่ยง ให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี-กลุ่ม ระยะรุนแรง มีปัจจัยเสี่ยงให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน หรือการปลูกถ่ายไขกระดูกร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงและการฉายรังสีทั้งตัว
-กลุ่ม กลับมาเป็นซ้ำ ให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันหรือการปลูกถ่ายไขกระดูกร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงและการฉายรังสีทั้งตัวการฉายรังสี
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองไม่ใช่ฮอดจ์กิน
ปัจจัยเสี่ยง
คนแก่ ผู้ชาย ชาติตะวันตก โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดเชื้อ Human T-lymphocytic virus,Epstein-Barr virus หรือ Helicobacter pylori ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน สัมผัสยาฆ่าแมลง กินอาหารพวกโปรตีนและไขมันสูง เคยรักษามะเร็งต่อม
น้ำเหลืองฮอดจ์กิน
อาการแสดง
ต่อมน้ำเหลืองโต ไม่เจ็บที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบ ไข้ไม่ทราบสาเหตุเหงื่อออกกลางคืน น้ำหนักลด คัน อ่อนเพลียการวินิจฉัยโรคและการแบ่งระยะของโรค
เหมือนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินการพยากรณ์โรค
ไม่ดีในกลุ่ม สภาพร่างกายไม่ดี อายุมากกว่า 60 ปี ระยะที่ 3และ 4 กระจายไปนอกระบบต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 1 ตำแหน่งผล LDH มากกว่าค่าปกติ
ผล ชนิดพยาธิวิทยามีผลต่อความรุนแรงของโรค-ความ รุนแรงต่ำ ได้แก่ folliculargrade I and II, CLL, MALT, mycosis fungoides-ความ รุนแรงปานกลางได้แก่ folliculargrade III, mantle cell, DLBCL, T/NK-cell, peripheral T cell, anaplastic largecell
-ความ รุนแรงสูงได้แก่ Burkitt’slymphoma, lymphoblastic lymphoma.การรักษา
-กลุ่ม ความรุนแรงต่ำถึงปานกลางระยะที่ 1-2 ให้ฉายรังสีอย่างเดียว หรือฉายรังสีร่วมกับให้ยาเคมีบำบัด-กลุ่ม ความรุนแรงต่ำถึงปานกลางระยะที่ 3-4 ให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน ให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการให้การรักษาทางภูมิคุ้มกัน
-กลุ่ม ความรุนแรงสูงระยะที่ 1-2 ให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันอย่างเดียว หรือให้ร่วมกับการฉายรังสี-กลุ่ม ความรุนแรงสูงระยะที่ 3-4 ให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันอย่างเดียว หรือให้ร่วมกับการฉายรังสีหรือการรักษาโดยภูมิคุ้มกัน
-กลุ่ม กลับมาเป็นซ้ำให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันอย่างเดียวหรือให้ร่วมกับการฉายรังสีหรือการรักษาโดยภูมิคุ้มกัน หรือปลูกถ่ายไขกระดูกร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงและการฉายแสงทั้งตัว
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉายรังสี
โอกาสเกิดน้อยเนื่องจากปริมาณรังสี ต่ำโดยขึ้นกับบริเวณที่ฉายรังสีในช่วงแรกอาจเกิดอาการอ่อนเพลีย ผิวหนังอักเสบหลอดอาหารอักเสบคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปอดอักเสบ ระยะยาวอาจเกิดโรคหัวใจฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ทำให้เกิดมะเร็ง
ชนิดอื่น
ขอบคุณครับพี่
หน้า:
[1]