ภูตะวัน โพสต์ 2011-3-27 17:34:20

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก   เป็นการติดเชื้อไวรัส มีเชื้ออยู่สองชนิดใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไข้เลือดออกคือเชื้อ เดงกี่ (dengue)และชิกุนกุนย่า(chigunkunya) มากกว่า 90%เกิดจากเชื้อตัวแรก เชื้อเดนกี่มี 4 พันธ์โดยทั่วไป ในการรับเชื้อครั้งแรก มักไม่ค่อยมีอาการรุนแรงมากนัก ซึ่งสามารถเกิดในเด็กๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป การติดเชื้อครั้งต่อไปจะรุนแรงขึ้นและภูมิคุ้มกันที่มีจะไม่ช่วยป้องกันไม่ให้เราเป็น แต่กลับทำให้การติดเชื้อครั้งหลังรุนแรงขึ้นหมายความว่าเป็นแล้ว เป็นอีกได้ พาหะ
ยุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคยุงนี้จะกัดคนที่เป็นโรค และไปกัดคนอื่น ๆ ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร ยุงนี้ชอบแพร่พันธ์ในน้ำนิ่ง หลุม โอ่งน้ำขัง และจะออกหากินในเวลากลางวันอาการ   ในการติดเชื้อครั้งแรกมักจะมีอาการไข้สูงลอย เหมือนไข้หวัดใหญ่ และจะไม่ค่อยมีอาการเลือดออกหรือช๊อคต่อมาถ้าได้รับเชื้อซ้ำ ซึ่งอาจเป็นพันธุ์เดียวกัน หรือคนละพันธ์ก็จะมีการกระตุ้นเกิดปฏิกิริยา จำไว้ว่า คนเป็นไข้เลือดออก แย่จากภูมิคุ้มกันของเขาเองที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ก่อให้เกิดอาการเลือดออก การบวมจากสารน้ำไหลออกจากหลอดเลือดที่โดนทำลายอาจมีน้ำในปอด ตับ ลำไส้ กระเพาะ และช๊อคได้ โดยทั่วไปการติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง มักตามหลังการติดเชื้อครั้งแรก ไม่เกิน 5 ปี นั่นคือ เราพบว่ามันเป็นโรคของเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 10 ขวบ แต่ปัจจุบันพบว่า มีการกลายพันธ์ของไข้เลือดออก ทำให้เป็นรุนแรงในผู้ใหญ่ไดอาการของการติด
เชื้อซ้ำ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

[*]ระยะไข้สูง จะมีไข้สูงลอย   ไม่ยอมลง หน้าแดง ปวดหัว เมื่อย ดื่มน้ำบ่อย มักมีอาเจียน เบื่ออาหาร   มักไม่ค่อยมีอาการหวัด คัดจมูก ไอ หรือเจ็บคอ แต่บางคนก็มี อาจมีท้องเสีย   หรือท้องผูกราว ๆ 3   วันจะมีผื่นขึ้นตามตัว จุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามหน้า ซอกรักแร้   แขน ขา อาจมีปวดท้องในช่วงนี้ ถ้าทำการทดสอบที่เรียกว่า ทูร์นิเคต์(Tourniquet)   โดยรัดแขนด้วยเชือกหรือเครื่องวัดความดันประมาณ 5 นาที จะพบจุดเลือดออกมากกว่า 20 จุด ในวงกลมที่วาดไว้ที่ท้องแขนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง   1 นิ้ว ถ้าไม่เป็นหนัก จะดีขึ้นใน 3-7 วันและเข้าสู่ระยะหาย   

[*]ระยะช๊อคและเลือดออก มักจะเกิดในวันที่ 3-7 ในระยะนี้   เด็กไข้ลง แต่แทนที่อาการจะดี พบว่า อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม กระสับกระส่าย   ตัวเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะเข้ม ออกน้อย ชีพจรเต้นเบาเร็ว ความดันต่ำ   ถ้าไม่รีบรักษาจะช๊อคและเสียชีวิตได้ ภายใน 1-2 วัน   นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น จ้ำตามผิวหนัง อาเจียน ถ่าย เลือดกำเดา   ประจำเดือนเป็นเลือดมาก ระยะนี้จะกินเวลา 2-3 วันและจะเข้าสู่ระยะต่อไป   
[*]ระยะฟื้นตัวอาการจะดีขึ้น   อาการแรกที่บ่งว่าหายคือ จะเริ่มอยากกินอาหาร มีผื่นของการหายที่เป็นแดงสลับขาวแผ่ตามแขนขา ตัว
อาการอันตรายเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่งต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล1.      ผู้ป่วยซึม หรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง 2.      คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา 3.      ปวดท้องมาก4.      มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ5.      กระสับกระส่าย หงุดหงิด 6.      พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ 7.      กระหายน้ำตลอดเวลา 8.      ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก 9.      ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลายๆ 10.    ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานาน การรักษา
ไม่มียาเฉพาะ รักษาตามอาการพยายามให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้ามีความสงสัย ว่าไข้ยังสูง มีตัวแดงเกิดในหน้าฝน ต้องรีบนำไปเทสต์ทันทีการดูแลผู้ป่วย
ไข้เลือดออกควรปฏิบัติดังต่อไปนี้1.
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก 2.
เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดๆลูบเบาๆบริเวณหน้าลำตัว แขน และขา แล้วพักไว้บริเวณหน้าผากซอกคอ รักแร้ แผ่นอกแผ่นหลัง และขาหนีบ ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าที่ไม่หนามาก หรือห่มผ้าบางๆ นอนพักผ่อน ระหว่างการเช็ดตัวถ้าผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดแล้วให้ผู้ป่วยห่ม ผ้า พอหายหนาวสั่นจึงค่อยเช็ดต่อ 3.
ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซทตามอลเวลามีไข้สูงตัวร้อนจัด หรือปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4ชั่วโมงห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่นโดยเฉพาะยาแอสไพรินยาซองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือตับวายได้4.
ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น
หมาย
เหตุ
ในระยะไข้สูงของโรคไข้เลือดออกการให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลดลงชั่วคราวเท่านั้นเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้การเช็ดตัวลดไข้จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น 5.
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS)หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อยถ้ามีคลื่นไส้อาเจียน   ไม่สามารถดื่มน้ำได้ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียวอาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศกรีม ข้าวต้ม เป็นต้นควรงดเว้นอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีแดงดำ หรือสีน้ำตาล 6.
มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจเลือด การป้องกัน
1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
[*]การนอนควรนอนในมุ้งหรือในห้องติดมุ้งลวดที่ปลอดยุงลาย   
[*]การเล่นไม่ควรเล่นในมุมมืดหรือบริเวณที่ไม่มีลมพัดผ่าน   
[*]ห้องเรียนหรือห้องทำงาน
ควรมีแสงสว่างส่องได้ ทั่วถึงมีลมพัดผ่านได้สะดวก      และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเช่น      แจกันดอกไม้ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน พลูด่างควรปลูกในดิน
2. กำจัดยุงด้วยการพ่นสารเคมีในบริเวณมุมอับภายในบ้านตู้เสื้อผ้า      และบริเวณรอบๆบ้านทุกสัปดาห์
[*]กำจัดลูกน้ำ   ภาชนะใส่น้ำภายในบ้านปิดฝาให้มิดชิด ถ้าไม่สามารถปิดได้ให้ใส่ทรายอะเบท      หรือใส่ปลาหางนกยูง จานรองขาตู้กับข้าวใส่เกลือ น้ำส้มสายชู   ผงซักฟอก จานรองกระถางต้นไม้
[*]ใส่ทรายลงไปเพื่อดูดซับน้ำส่วนเกิน   
3. วัสดุที่เหลือใช้รอบๆบ้าน
เช่นกระป๋อง กะลายางรถยนต์เก่า ฯลฯให้เผาหรือทำลายเสียข้อสำคัญ
ถ้า ผู้ป่วยอ่อนเพลียตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง ตัวลาย
แสดงว่าเข้าสู่ระยะ ช็อก(ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สติดีพูดจารู้เรื่อง)
เป็นระยะอันตรายของ โรค ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
ระหว่างการเดินทางพยายาม กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผล

badboyz โพสต์ 2011-3-28 16:59:55

ขอบคุณได้ความรู้มากมายเลยคราบ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ไข้เลือดออก