argolight โพสต์ 2011-3-29 15:08:22

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีจึงมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร
เนื้อหา [ซ่อน]

[*]1 ประวัติ
[*]1.1 ศัพท์มูลวิทยา

[*]2 ภูมิประเทศ
[*]3 ภูมิอากาศ
[*]4 นิเวศน์วิทยา
[*]4.1 สัตว์ป่า
[*]4.2 พรรณพืช
[*]4.2.1 พรรณไม้ที่มีชื่อเสียง


[*]5 การบริหารจัดการ
[*]6 การอนุรักษ์
[*]7 สันทนาการ
[*]7.1 เส้นทางขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึง
[*]7.2 เส้นทางท่องเที่ยวบนยอดเขาภูกระดึง

[*]8 การเดินทาง
[*]8.1 รถยนต์
[*]8.2 รถทัวร์

[*]9 ภูกระดึงในเชิงวัฒนธรรม
[*]10 อ้างอิง
[*]11 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]ประวัติตามตำนานกล่าวไว้ว่ามีพรานป่าผู้หนึ่งได้พยายามล่ากระทิงซึ่งหลบหนีไปยังยอดเขาลูกหนึ่งในตำบลศรีฐาน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอภูกระดึง) ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่เคยมีใครขึ้นมาก่อน เมื่อนายพรานได้ตามกระทิงขึ้นไปบนยอดเขาแห่งนั้น ก็ได้พบว่าพื้นที่บนภูเขาลูกนั้น เต็มไปด้วยพื้นที่ราบกว้างใหญ่สวยงาม เต็มไปด้วยป่าสน พรรณไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด มนุษย์จึงรู้จักภูกระดึงแต่นั้นเป็นต้นมาภูกระดึงเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีปรากฏเป็นหลักฐานเมื่อสมุหเทศาภิบาล (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกาป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้เริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่จึงใด้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยและหยุดไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดป่าในท้องที่จังหวัดต่างๆรวม 14 แห่งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้จึงได้เสนอจัดตั้งป่าภูกระดึงให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงในท้องที่ตำบลศรีฐาน กิ่งอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 217,581 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของประเทศ ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติในบริเวณที่กองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์ตั้งเป็นสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในราชการทหารมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ทางกรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนพื้นที่ดินดังกล่าวในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 217,576.25 ไร่[แก้]ศัพท์มูลวิทยาคำว่า "ภูกระดึง" มาจากคำว่า ภู แปลว่า ภูเขา และ กระดึง แปลว่า กระดิ่ง เป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเลย ด้วยเหตุนี้ ภูกระดึง จึงอาจแปลได้ว่า ระฆังใหญ่ ชื่อนี้มาจากเรื่องเล่าที่ว่าในวันพระชาวบ้านมักได้ยินเสียงกระดิ่งหรือระฆังจากภูเขาลูกนี้เสมอ เล่ากันว่าเป็นระฆังของพระอินทร์ ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือในบริเวณบางส่วนของยอดเขาหากเดินหนักๆหรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆังซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับการตั้วชื่อว่า "ภูกระดึง"[แก้]ภูมิประเทศhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/6/6d/Altitude_Phu_Kradueng.jpg/300px-Altitude_Phu_Kradueng.jpghttp://bits.wikimedia.org/skins-1.17/common/images/magnify-clip.png
ระดับความสูงของภูกระดึง


ภูกระดึงเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราชใกล้กับด้านลาดทางทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเล 400-1,200 เมตรส่วนฐานหรือเชิงเขาเริ่มจากจุดต่ำสุดของพื้นที่ที่ระดับความสูง 260 เมตรไปจนถึงระดับความสูง 400 เมตร มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาล้อมรอบตัวภูกระดึง และพื้นที่ที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นมีสภาพลาดชันยกตัวขึ้นเป็นขอบเขาและหน้าผาสูงชัน พื้นที่ราบบนยอดตัดของภูเขามีพื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีลักษณะคล้ายรูใบบอนหรือรูปหัวใจเมื่อมองจากด้านบน มีส่วนปลายใบอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และส่วนเว้าด้านในอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ราบบนเขาประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดที่สูงที่สุดอยู่ที่บริเวณ คอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,316 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ และจะค่อยๆลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ กลายเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพองภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุคมีโซโซอิก มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีเป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหิน: หมวดหินภูพานเป็นหินชั้นที่มีอายุน้อยที่สุดอยู่ชั้นบนสุดของโครงสร้างภูกระดึง พบทั่วไปบนหลังแปหรือที่ระดับความสูงตั้งแต่ 990 เมตรขึ้นไป หมวดหินเสาขัวพบตั้งแต่ระดับความสูง 600 เมตรขึ้นไป หมวดหินพระวิหารพบในระดับความสูง 400–600 เมตรและ หมวดหินภูกระดึงเป็นหินชั้นฐานของโครงสร้างภูกระดึง[แก้]ภูมิอากาศอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีภูมิอากาศบริเวณพื้นราบรอบเชิงเขาเหมือนกับบริเวณอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 26 °C อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ปริมาณหยาดน้ำฟ้า 1,242 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 72%สภาพอากาศบนยอดภูกระดึง มีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณหยาดน้ำฟ้าบนที่ราบเชิงเขา สาเหตุมาจากอิทธิพลของเมฆและหมอกที่ปกคลุมยอดเขา ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 90% อุณหภูมิเฉลี่ย 19.7 °C ในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 0-10 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 21-24 °C ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 12-19 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 23-30 °C อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอกลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี[แก้]นิเวศน์วิทยา[แก้]สัตว์ป่าภูกระดึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ จากการสำรวจพบสัตว์บกมีกระดูกสันหลังรวม 266 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 36 ชนิดเช่น เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่างกระรอก กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน และ อีเห็น เป็นต้น ในจำนวนนี้เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คือ เลียงผา ช้างป่า เสือดาวและเสือโคร่ง สัตว์ปีกจำนวน 171 ชนิดเช่น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย และ นกขมิ้นดงเป็นต้น สัตว์เลื้อยคลาน 39 ชนิดเช่น ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเง่า และงูเขียวหางไหม้เป็นต้น มี 1 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ คือ เต่าเดือย นอกจากนี้ยังพบเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาวอาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวนมาก เช่น อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ และ ปาดแคระเป็นต้นสัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้บ่อยเมื่อขึ้นไปถึงยอดภูคือกวาง เนื่องจากมีกลุ่มกวางจำนวนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯได้เลี้ยงเอาไว้ ทำให้กวางกลุ่มนี้ไม่วิ่งหนีเมื่อพบเห็นคน กวางตัวแรกที่เจ้าหน้าที่ได้เลี้ยงเอาไว้ชื่อ คำหล้า เป็นกวางตัวเมีย ตัวที่สองเป็นตัวผู้ชื่อ คัมภีร์ นอกจากนี้ยังมีหมูป่าซึ่งเคยพบตัวในบริเวณป่าปิด แต่ปัจจุบันมีกระจายอยู่ทั่วไปแม้ในส่วนลานกางเต็นท์เมื่อยามมีนักท่องเที่ยวไม่มาก และสุนัขป่า เดิมจะอยู่ในส่วนป่าสนด้านบน หากินกันเป็นฝูงใหญ่ แต่ปัจจุบันเข้ามาหากินใกล้บริเวณที่ทำการมากขึ้นสามารถพบเห็นได้บริเวณร้านค้าที่ทำการด้วย[แก้]พรรณพืชhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/41/N._sp._Phukradung.jpg/220px-N._sp._Phukradung.jpghttp://bits.wikimedia.org/skins-1.17/common/images/magnify-clip.png
หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบบริเวณน้ำตกบนภูกระดึง


ภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่งในประเทศไทย มีสังคมพืชหลากหลายสามารถแบ่งได้ตามความแตกต่างของความสูง ภูมิอากาศ สภาพดิน-หิน และชีวปัจจัย จากที่ราบเชิงเขาถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตรจะเป็นป่าเต็งรังคิดเป็น 8% ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่นแทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก นอกจากนี้จากพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภู จนถึงระดับความสูง 950 เมตรจะเป็นป่าเบญจพรรณหรือป่าผลัดใบผสมคิดเป็น 67 % ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญเช่น แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้า ไผ่ ไม้พุ่ม ไม้เถา พืชล้มลุก และ พืชกาฝากและอิงอาศัยป่าดิบแล้งพบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูง 950 เมตรคิดเป็น 5 % ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้สำคัญ เช่น ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม เป็นต้น พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา และ พืชล้มลุก เมื่อสูงจากระดับ 1,000 เมตรขึ้นไปจะเป็นป่าดิบเขาพบในทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่มและไม้เถา ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูง เช่น ค้อดอยที่ความสูงเกิน 1,000 เมตรขึ้นไปจะเป็น ป่าดิบเขาพบเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไปคิดเป็น 9% ของพื้นที่อุทยาน ป่าละเมาะเขาจัดอยู่ในประเภทป่าไม่ผลัดใบ พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงระหว่าง 1,200–1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 %ป่าสนเขาจะพบเฉพาะบนที่ราบยอดภูที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรคิดเป็น 10 % ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคนประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง เป็นกอหนาแน่น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะพบมอสส์จำพวกข้าวตอกฤๅษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำนอกจากนี้ยังมีพรรณพืชที่สำคัญซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียวของภูกระดึงจำนวน 11 ชนิด เช่น ข้าวก่ำผา หญ้าระรื่น และ ซ้อ เป็นต้น[แก้]พรรณไม้ที่มีชื่อเสียงhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c1/Acer_calcaratum.jpg/220px-Acer_calcaratum.jpghttp://bits.wikimedia.org/skins-1.17/common/images/magnify-clip.png
ก่วมแดง พืชสกุลเมเปิลที่พบบริเวณน้ำตก บนภูกระดึง



[*]ก่วมแดง หรือ ไฟเดือนห้า พืชในสกุลก่วมหรือเมเปิลเป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของภูกระดึง จะแดงสดในฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคม
[*]หม้อข้าวหม้อแกงลิงพบได้เป็นดงในบริเวณใกล้ผานาน้อยจนถึงผาแดง
[*]ดอกกระเจียว ทุ่งดอกกระเจียวพบได้ในบริเวณใกล้ผาเหยียบเมฆจนถึงผาแดง โดยปกติดอกกระเจียวจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายน แต่ในเดือนพฤษภาคมก็จะยังพบดอกกระเจียวบานอยู่ แม้ว่าอาจจะถูกแมลงและสัตว์ต่างๆ กัดกินดอกและใบของมันไปบ้างก็ตาม
[แก้]การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติภูกระดึงอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมีสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 เป็นผู้ประสานงาน มีหน่วยงานในพื้นที่ได้แก่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.1 (วังกวาง) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.2 (อีเลิศ) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.3 (นาน้อย) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.4 (พองหนีบ) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.5 (หนองผักบุ้ง) และ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.6 (ภูขี้ไก่)การบริหารจัดการพื้นที่ของอุทยานจากแผนแม่บทการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจัดทำโดยศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2534 ได้มีการจัดแบ่งเขตการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึงออกเป็นเขตต่างๆ โดยอาศัยสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นเกณฑ์ดังนี้
[*]เขตบริการ เป็นบริเวณที่มีการพัฒนาสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในเขตนี้ประกอบด้วย ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐานและศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง
[*]เขตท่องเที่ยวและนันทนาการ เป็นบริการที่ให้นักท่องเที่ยวได้ประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ก่อให้เกิดการทำลายหรือความเสียหายต่อธรรมชาติ ได้แก่ บริการจุดท่องเที่ยวที่กำหนดไว้ให้ตามทางเดินเท้าบนที่ราบภูกระดึงและทางเดินเท้าขึ้น-ลงภูกระดึง
[*]เขตการใช้พื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรคมนาคมของกองทัพอากาศ
[*]เขตหวงห้าม เขตนี้กำหนดขึ้นเพื่อครอบคลุมบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีคุณค่ายิ่งในทางวิทยาศาสตร์ เหมาะแก่การอนุรักษ์เพื่อการค้นคว้าวิจัย ได้แก่ พื้นที่ราบยอดภูกระดึงทางด้านทิศเหนือครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ของที่ราบยอดภูกระดึง
[*]เขตป่าเปลี่ยว เป็นบริเวณพื้นที่ที่ยังคงลักษณะความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมอยู่อย่างมาก ได้แก่ บริเวณที่ราบยอดภูกระดึงและพื้นที่ไหล่เขา เชิงเขา และที่ราบอื่นๆโดยรอบภูกระดึง
[แก้]การอนุรักษ์ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอันมีลักษณะเด่นเฉพาะเป็นพิเศษ แต่ถึงแม้ว่าภูกระดึงจะมีสถานะเป็นอุทยานแห่งชาติแต่ก็ยังประสบปัญหาการลักลอบล่าสัตว์และเก็บหาของป่า และปัญหาไฟป่าซึ่งเกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้ภูกระดึงยังประสบปัญหาด้านการบริหารและจัดการ ไม่ว่าจะเป็น ไม่มีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ขาดทรัพยากรที่จำเป็นในการบริหารจัดการ ทั้งงบประมาณ กำลังเจ้าหน้าที่และมาตรการ และยังรวมถึงปัญหาด้านจิตสำนึกของนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2551 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ทำการศึกษาและประเมินความสามารถในการรองรับได้ของอุทยานแห่งชาติ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการท่องเที่ยว จึงได้กำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติจำนวน 10 แห่ง อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเป็นหนึ่งในสิบแห่งนั้น ซึ่งมีการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึงวันละ 5,000 คน และภูกระดึงได้มีการปิดฤดูการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาในเดือนมิถุนายน-กันยายนของทุกปี เพื่อให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัวเนื่องจากปัญหาขยะจำนวนมากที่เกิดจากนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูกระดึงจึงมีโครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง โดยเก็บขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ตามธรรมชาติบนยอดเขานำลงมาทิ้งที่เชิงเขาไม่ต่ำกว่าคนละ 1 กิโลกรัม อุทยานจะมอบใบประกาศเกียรติคุณให้เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้เสียสละและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติและสังคม นอกจากนี้นักท่องเที่ยวที่นำบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้หรือต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานมา ต้องมัดจำบรรจุภัณฑ์ต่างๆตามที่ทางอุทยานกำหนดไว้ แล้ววันลงเขาให้นำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวที่เป็นขยะมารับเงินมัดจำนั้นคืนพร้อมทั้งทางอุทยานจะออกใบประกาศเกียรติคุณเช่นกันโครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงซึ่งได้เงียบหายไปหลายปีเนื่องจากการคัดค้านจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะนักอนุรักษ์ ปัจจุบันได้รับการผลักดันโครงการอีกครั้งทั้งที่ผลสำรวจนักท่องเที่ยวเกือบ 70% นั้นไม่เห็นด้วย คาดว่าแนวเส้นทางการก่อสร้างกระเช้คือจุดเริ่มต้นจากบริเวณที่ทำการอุทยาน ต.ศรีฐาน ถึงบริเวณหลังแป โครงการนี้คาดกันว่าจะสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยว ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวหลากหลายขึ้น[แก้]สันทนาการดูบทความหลักที่ กิจกรรมการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทยเนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีจึงมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก เฉพาะบนยอดเขาภูกระดึงมีการปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-30 กันยายนของทุกปี และเปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม-31 พฤษภาคมของทุกปี[แก้]เส้นทางขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึงhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/4/4c/Path_to_mountain_top_of_Phu_Kradueng.jpg/230px-Path_to_mountain_top_of_Phu_Kradueng.jpghttp://bits.wikimedia.org/skins-1.17/common/images/magnify-clip.png
เส้นทางขึ้นที่อำเภอภูกระดึง



[*]เส้นทางขึ้นที่อำเภอภูกระดึง: เป็นเส้นทางเก่าแก่และได้รับความนิยมมากที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเขาในเส้นทางนี้ได้ที่อำเภอภูกระดึง ณ ที่ทำการอุทยาน ในเส้นทางขึ้นจะมีบริเวณที่พักและร้านอาหารหลายช่วง มีระยะทาง 5.5 กม.จากที่ทำการถึงหลังแป และจากหลังแปถึงที่พักประมาณ 3.6 กม.
[*]เส้นทางขึ้นที่อำเภอน้ำหนาว: นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึงได้ที่บ้านฟองใต้อำเภอน้ำหนาว ซึ่งเป็นเส้นทางขึ้นเขาเส้นทางใหม่ โดยจะขึ้นไปที่ผาหล่มสักโดยตรง มีระยะมีระยะทาง 5.2 กิโลเมตรจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลย.5 (หนองผักบุ้ง) ถึงผาหล่มสัก
[แก้]เส้นทางท่องเที่ยวบนยอดเขาภูกระดึงเส้นทางท่องเที่ยวบนยอดเขาภูกระดึงแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือบริเวณท่องเที่ยวปกติ และบริเวณป่าปิด โดยบริเวณแหล่งท่องเที่ยวปกติก็จะแบ่งได้เป็นสองเส้นทางคือ เส้นทางน้ำตก และ เส้นทางเลียบผา ส่วนบริเวณป่าปิดก็จะแบ่งได้เป็น เส้นทางน้ำตกขุนพอง และ เส้นทางผาส่องโลกเส้นทางน้ำตกจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ น้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ น้ำตกโผนพบ น้ำตกเพ็ญพบ น้ำตกถ้ำใหญ่ สระแก้ว น้ำตกถ้ำสอใต้ สระอโนดาด น้ำตกธารสวรรค์ และ พระพุทธเมตตา เส้นทางเลียบผาจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ พระแก้ว ผานกแอ่น ผาหมากดูก ผาจำศีล ผานาน้อย ผาเหยียบเมฆ ผาแดง และผาหล่มสัก เส้นทางน้ำตกขุนพองจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่น้ำตกขุนพอง และเส้นทางผาส่องโลกจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ น้ำตกผาฟ้าผ่า โหล่มฟ้าโลมดิน ผาส่องโลก โหล่นเจดีย์ โหล่นถ้ำพระ และ แง่งทิดหาจุดดูพระอาทิตย์ขึ้นสามารถดูได้ที่ผานกแอ่นเพียงที่เดียวมีระยะทางห่างที่พักเพียง 2 กม. สำหรับจุดดูพระอาทิตย์ตกสามารถชมได้ที่ผาหมากดูกซึ่งใกล้ที่สุดห่างจากที่พักเพียง 2 กม. และผาหล่มสักซึ่งเป็นจุดที่นิยมมากที่สุด[แก้]การเดินทางhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/4/42/Pah_nok_kao.JPG/230px-Pah_nok_kao.JPGhttp://bits.wikimedia.org/skins-1.17/common/images/magnify-clip.png
ผานกเค้า สถานที่แวะพักผ่อนที่สำคัญก่อนถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง


[แก้]รถยนต์
[*]เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
[*]ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่าน และตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
[*]เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2
[แก้]รถทัวร์
[*]รถทัวร์สายกรุงเทพ-เมืองเลยลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเพื่อเดินทางไปยังที่ทำการอุทยาน มีบริษัทให้บริการได้แก่บริษัท ขนส่งจำกัด แอร์เมืองเลย ภูกระดึงทัวร์ ขอนแก่นทัวร์ ศิขรินทร์ทัวร์ และชุมแพทัวร์
[*]รถโดยสารระหว่างจังหวัดที่ผ่านอำเภอภูกระดึงคือ สายขอนแก่น-เมืองเลย และบริษัทนครชัยขนส่ง สาย เลย-พัทยา-ระยอง และ สายนครราชสีมา-เชียงคาน ลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเพื่อเดินทางไปยังที่ทำการอุทยานเช่นเดียวกัน
[แก้]ภูกระดึงในเชิงวัฒนธรรมจากทิวทัศน์ที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงทำให้มีผู้แต่งกลอนและบทเพลงบอกเล่าถึงความสวยงามของที่แห่งนี้ เพลงที่กล่าวถึงภูกระดึงมากที่สุดคือเพลง "ภูกระดึง" ของวงสุนทราภรณ์ แต่งทำนองโดยเอื้อ สุนทรสนาน และคำร้องโดยแก้ว อัจฉริยะกุลนอกจากนี้ภูกระดึงยังถูกใช้เป็นฉากหลังในภาพยนตร์หลายเรื่อง อย่างภาพยนตร์เรื่อง "ความรักครั้งสุดท้าย" ที่กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ภาพยนตร์สั้น "พิชิต"(ภูกระดึง) จากรางวัลหนังสั้นตามรอยสมเด็จย่า และภาพยนตร์เรื่อง "ภูกระดึง" นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี และ อรัญญา นามวงศ์กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ

nros2523 โพสต์ 2011-3-29 15:36:29

ขอบคุณคับดีมากคับ

ภูตะวัน โพสต์ 2011-3-29 17:15:32

ขอบคุนคับ ที่นำความรู้ที่มีประโยชน์มาแบ่งปัน น่าเที่ยวนะคับ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: อุทยานแห่งชาติภูกระดึง