ปวดท้อง ต้องใช้ งวง...!!!!
หนึ่งอาทิตย์ผ่านไป ฝนก็ยังไม่ยอมหยุดตก ตกได้ตกดี ทั้งวันทั้งคืน(ไม่รู้จักเบื่อซักที เฮ้อ..........!!!!!!!)หลายจังหวัดประชาชนเดือดร้อนกันหลายร้อยครัวเรือนต้องพลัดบ้านผลัดถิ่น อย่างไรก็แล้วแต่ก็ขอให้กำลังใจทุกๆท่านที่กำลังประสบอุทกภัยในครั้งนี้นะคะ:P:P:P:P
สำหรับปัตตานี ฝนตกตลอดเหมือนจังหวัดอื่นค่ะ แต่ตกๆ หยุด ๆ และนับเป็นความโชคดีที่ฝนไม่ใจร้ายกับคนปัตตานีเหมือนเมื่อคราวดีเปรสชั่นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ช่วงฝนตก ไปไหนก็ลำบากลำบน เด็กๆ ก็พาลไม่สบาย ดังนั้นสมุนไพพรใกล้ตัวจึงเป็นสิ่งแรกที่คนในบ้านนึกถึง ที่บ้านผู้เขียนเมื่อมีคนเจ็บป่วย การรักษาเบื้องต้น คือ การใช้ยาสมุนไพรใกล้ตัวค่ะ ไม่ใช่ว่า ไม่เชื่อยาแผนปัจจุบัน แต่หากรักษาอาการเบื้องต้นแล้วหาย จะได้ไม่ต้องไปหาหมอปัจจุบันให้เสียเวลา( อาจจะเป็นเพราะว่า ผู้เขียนอยู่ร่วมกับผู้เฒ่าผู้แก่มาตลอดชีวิต ตั้งแต่จำความได้ ฉะนั้น การจะไปโรงพยาบาล หรือ คลินิกดูเหมือนแต่ละคนมักจะไม่ค่อยนึกถึง)
ครานี้ก็เช่นกัน....หลานมีอาการปวดท้อง จึงเดินลงไปสำรวจสมุนไพรรอบๆบ้าน ว่าอะไรบ้างที่จะใช้รักษาอาการเบื้องต้นได้ นั่นแน่.....เห็นแล้ว....ยารักษาอาการปวดท้อง(ท้องขึ้นท้องเฟ้อ) ก็จะอะไรเสียอีก มันคือ หญ้างวงช้าง ใครหนอช่างตั้งชื่อ หน้าตาของมันช่างน่ารักเสียนี่กระไรเหมือนงวงช้างจริงๆเสียด้วย
สมัยผู้เขียนเด็กๆ ยังจำได้ค่ะ แม่เอาใบหญ้างวงช้างมาขยี้กับปูนที่กินกับหมาก(ที่บ้านแม่ของผู้เขียนยังกินหมาก)แล้วนำไปทาบริเวณท้อง อาการปวดท้องจึงค่อยๆ ทะเลาลงและหายไปในที่สุด
มาลองรู้จักหญ้างวงช้างกันหน่อย เผื่อบ้านใครมีก็ปล่อยให้มันขึ้นบริเวณบ้านก็ดี เผื่อ ณ วันหนึ่งมันอาจจะมีประโยชน์ต่อคนในครอบครัวก็ได้ เพราะนอกจากจะใช้รักษาอาการปวดท้องแล้วยังสามารถรักษาโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่นลำต้น แก้กระหายน้ำดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง
หญ้างวงช้าง เรียกได้หลายชื่อ เช่น หงายงวงช้าง (ศรีราชา),หญ้างวงช้างน้อย (พายัพ),กุนอกาโม (มลายูตานี) :ไต่บ๋วยเอี้ยว,เฉี่ยผี่เช่า,เงียวบ๋วยเช่า (จีน) มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Heliotropium indicum L.
ลักษณะต้น เป็นพืชล้มลุกเกิดตอนฤดูฝน ถึงหน้าแล้งตาย สูง 15-50 เซนติเมตร มีขนหยาบๆ ปกคลุมทั้งต้น
ใบ ออกสลับกัน ลักษณะทรงกลมรีหรือป้อมๆ ปลายใบแหลมสั้น กลางใบกว้างออก ฐานใบเรียวต่อลงมาถึงก้านใบ ตัวใบยาว 3-8 เซนติเมตร มีขน ผิวใบมีรอยย่นขรุขระ ขอบใบมีรอยหยักเป็นคลื่น ช่อดอกเกิดที่ยอดหรือซอกใบ ยาว 3-10 เซนติเมตร
ดอก เกิดอยู่ทางด้านบนด้านเดียว บานจากโคนไปปลายช่อดอก ปลายช่อโค้งงอคล้ายงวงช้างชูขึ้น กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 5 กลีบ กลีบดอกสีฟ้าใกล้ขาวติดกันเป็นหลอด ที่ขอบมีรอยแยกตื้นๆ แบ่งเป็น 5 กลีบบานออกกลีบดอก ประมาณ 5 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-3.5 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้ 5 อันติดอยู่ ด้านในมีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่เป็นรูปจานแบนๆ ผลยาว 4-5 มิลลิเมตร เกิดจากการที่รังไข่ 2 อันรวมตัวติดกัน มักพบตามที่ชื้นแฉะ เช่น ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หรือทางน้ำ แหล่งน้ำต่างๆ ท้องนาหรือตามที่รกร้างต่างๆ ตามวัดวาอารามทั่วๆ ไป และมีปลูกเก็บมาขายเป็นยาสดตามสวนยาจีนต่างๆ
การเก็บมาใช้ เก็บทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้ก็ได้
วิธีและปริมาณที่ใช้
- กิน ใช้ยาสดหนัก 30-60 กรัมต้มกิน หรือคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
- ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง หรือคั้นเอาน้ำมาอมบ้วนปาก
ข้อห้ามใช้ หญิงมีท้องห้ามกิน
ตำรับยา
1. แก้ปวดท้อง ใช้ต้นนี้สดหนัก 30-60 กรัมต้มน้ำกิน
2. แก้ปอดอักเสบปอด มีฝีเป็นหนองมีหนอง ในช่องหุ้มปอด ใช้ทั้งต้นสด 60 กรัม ต้มผสมน้ำผึ้งกิน หรือใช้ทั้งต้นสด 60-120 กรัม ตำคั้น เอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
3. แก้ปากเปื่อยเน่า ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำอมบ้วนปากวันละ 4-6 ครั้ง
4. แก้แผลฝีเม็ดเล็กๆ มีหนอง ใช้รากสด 60 กรัม ผสมเกลือเล็กน้อย ต้มน้ำกิน แล้วใช้ใบสดตำกับข้าวเย็นพอแผลอีกด้วย
(ข้อมูลจากhttp://www.doctor.or.th/node/5523)
ขอบคุณคับบ ขอบคุณมากๆครับ ขอบคุณครับ {:5_119:}
หน้า:
[1]