ปี๋ใหม่เมืองล้านนา
ปี๋ใหม่เมืองล้านนา ปี๋ใหม่เมืองเฮา ตั้งแต่วันที่ 11-12 เมษายนขึ้นไปคนเมืองเหนือของเราบ่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด ก็จะพากัน (ปิ๊กบ้าน) กลับบ้านกันเพื่อไปเล่นน้ำปํใหม่ที่บ้านเกิดเมืองนอนของแต่ละคนตามประเพณีบ้านเราเมืองเหนือถึงวันที่ 13 เมษายนของทุกปีถือเป็นวันสงกรานต์ปีใหม่ของลานนา คือวันนี้สังขารล่อง
ถึงวันที่ 14 เมษายนย เป็นวันเนาว์ทางล้านนาเรียกว่าวันเน่า
ถึงวันที่ 15 เป็นวันพระยาวันวันดีสุดยอดของวันดี บ้านเราเรียกว่าวันพระยาวัน
ความยาวของวันสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมืองเรา) หมายถึง พระสุริยะอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนสู่ราศีเมษระหว่างปีต่อปี เรียกว่าหัวเลี้ยวหัวต่อของปีใหม่และปีเก่ามาพบกันมักจะมีฟ้าฝนและลมแรง บ้านเราเรียกว่า หมดหนาวเข้าร้อนเดือน 6 เป็ง บ้านเมืองเหนือฮ้องว่าฮ้อนเขาหนาวออก ในเดือนเมษายนนั้นตกอยู่กลางฤดูร้อน ความร้อนจัดแผดเผาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ใต้ดวงอาทิตย์ อากาศร้อนจัดแม้แต่แม่น้ำก็จะแห้งอาหารของกินทิ้งไว้ข้ามคืนก็จะมีการบูดเน่าเหม็น กินไม่ได้จะทำให้ท้องร่วง ประชาชนจะต้องระวังให้มากประชาชนมักเจ็บหัวปวดท้องเพราะความแห้งแล้งน้ำแห้งขอด มักมีไฟไหม้ป่าลุกลามไปตามภูเขา ป่าไม้ ไฟป่าก็คือไฟของคนเรา จุดเผานั้นแหละหาว่าไฟป่า
ฉะนั้น คนโบราณมรการสงเคราะห์ใหญ่ในวันที่ 16 เมษายน คือวันปากปี ชาวบ้านจะช่วยกันทำสะตวงใหญ่หรือสานแตะ กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร เอากาบกล้วยมาทำเป็นสี่เหลี่ยมวางบนไม้แตะที่สานนั้นแล้วชาวบ้านจะช่วยกันจัดดาเครื่องบูชาสังเวยใส่ในสะตวง มีรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น เป็ด ไก่ หมู หมา ช้างม้า วัว ควาย และเครื่องปรุงแต่งมี แก๋งส้มแก๋งหวาน พริกเกลือ ข้าวสุก ข้าวสารจิ้นปลา ผลไม้ต่าง ๆ เช่น มะพร้าว ตาล กล้วย อ้อย หมาก เหมี่ยง บุหรี่ เทียน ธูปช่อธงสลับกันปักตามขอบสะตวงให้ครบทั้ง 4 ตลอดเทวบุตรเทวดาอารักษ์มาช่วยปกปักรักษาให้ชาวบ้านหมู่บ้านทุกหลังคาเรือนให้พ้นจากโรคพระยาธิภัย พิบัติอุปัทวะอันตรายขอให้ตกไปด้วยปีเดือนวันและยามดังนี้
เรียกว่าสงเคราะห์วันปี ใหม่ (สงกรานต์) ในวันที่ 16 เมษายน อาจารย์โอกาสเสร็จแล้วอารธนาพระสงฆ์สวดมนต์ และสวดเปิดถวายไทยทาน พระสงฆ์ให้พรนำสะตวงไปส่งเติมตามทิศและการยิงสินาท(คือยิงปืน) ไปตามทิศนั้น ๆ เป็นจบพิธี
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่าวันเนาว์แต่เมืองเหนือลานนาเรียกว่าวันเน่า คือวันว่างงานเพราะเราทำมาปีหนึ่งแล้วถึงวันนี้หยุดพักวันนี้โบราณห้ามด่าห้ามตีกัน จะช่วยกันห่อข้ามต้มขนมกันที่บ้าน พอได้เวลา 4โมงเย็นก็จะแต่งตัวกันสวยสดงดงามตั้งแต่หนุ่มสาวจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ แม่หม้ายแม่ฮ้าง จะแต่งตัวกันสวยงามมาก มีดอกไม้คือดอกเอื้องผึ้งเป็นช่อนำมาปักมวยผม บางคนก็แต่งตัวแบบลานนามีสไบสีสันต่างๆ มีลวดลายต่างสี มีฆ้องมีกลอง แห่ฉิ่ง หม้อง ๆ ฟ้อน โจ๊ะโล๊ะดอกข่าประแป้งอย่างแมวโพง แล้วก็ไปพบกันที่ท่าน้ำช่วยกันขนทรายมาทำเป็นแบบกองเจดีย์ทรายไว้ตามวัดต่างๆ พร้อมกับสาดน้ำกันเป็นการสนุกสนาน (ม่วนแต้ม่วนว่า)
วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันพระยาวันของเมืองเหนือเราเป็นประเพณีทำบุญ คือ เอาขันข้าวไปทาน คนโบราณว่าตานกัวะข้าวมีอาหาร ข้าวต้มข้าวหนม ผลไม้ น้ำไปทานอุทิศไปหาผู้ตายไปแล้ว มีมารดา บิดา พ่ออุ้ยแม่เฒ่า ลูกหลาน จัดเป็นกัวะไปตานตอนเช้าแล้วเลยทำบุญตักบาตรและมีตุงไจย ตัดตุงแขวนกับกิ่งไม้คนโบราณตัดเองไม่ต้องไปซื้อหา นำไปปักที่เจดีย์ทรายและหาไม้ก้ำไม้ศรี(ค้ำต้นโพธิ์) นำมาถวายเป็นตานพร้อมกันแล้วนำไปก้ำต้นไม้ศรีไม่ใช่ว่าเอามาถึงวัดแล้ว เอาค้ำเลยต้องนำไปถวายตานก่อนแล้วค่อยเอามาค้ำตามประเพณีขนบธรรมเนียมที่ดีงามของสาธุชนทั้งหลาย เพราะการขอขมาลาโทษและให้อโหสิแก่กันไปในตัว แต่ปัจจุบันนี้มุ่งแต่สนุกสนานเป็นส่วนใหญ่จะมีก็ในวงศ์ตระกูลของใครของมันเท่านั้น พวกเกเรอันธพาลก็เมาสุรา ลวนลามแล้วก็มีเรื่องต่อกันทุบตีกัน อย่างนี้เรียกว่าเกินขนบประเพณีไป
วันที่ 16 เมษายน เข้ามาเป็นวันขึ้นปีใหม่เราเรียกว่าวันปากปี ปากวัน ติดต่อกันสามวันต่อจากนั้นก็เป็นวันธรรมดา แต่มีประเพณีของพระสงฆ์สามเณรจะต้องไปขอขมาลาโทษดำหัวพระสงฆ์ผู้อาวุโสผู้แก่พรรษาพระผู้ใหญ่ ตามวัดต่าง ๆ นำคณะพระเณรและศรัทธาไปคารวะเป็นวัด ๆ ไป แม้วันสงกรานต์ปีใหม่จะผ่านไปหลายวันแล้วก็ตามแต่ประเพณีควรจะยังทำกันต่อไปอยู่ตลอด บางแห่ง จนหมดเดือนเมษายนเลยก็มี
ในบางแห่งวันปากปีจะมี การทำบุญสิบชะตา สะเดาะเคาระห์กันถือว่าทำต้นปีจะได้คุ้มครองไปตลอดปีนิยมกันมากนิยมฟังธรรมสารากริวิชาสูตร คือฟังธรรมสืบชะตา บางหมู่บ้านพระไม่ว่างเลยทั้งวัน
วันเนาว์ หรือวันเน่า
“ วันเนาว์ ” เมืองเหนือเรียกว่า “วันเน่า ” เป็นวันที่มีประเณีทางศาสนาคล้ายเช่นการขนทรายเข้าวัดและเล่นรดน้ำกันทั่วๆ ไป อย่างสนุกสนานเป็นวันที่หนุ่ม ๆ สาว ๆ ไปชุมนุมกันที่หาดทรายที่ใต้สะพานนวรัตน์หรือที่แม่น้ำปิง และในตอนบ่ายวันเดียวกัน จะมีการจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองเชียงใหม่คือ มีการ “ อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์และพระเสตังมณีอันเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามถนนสายต่าง ๆ แล้วเข้าสู่บริเวณพุทธสถานแล้วอาราธนาพระพุทธสิหิงค์ และพระเสตังมณีเข้าสู่ที่ประดิษฐานในประลำพิธีที่จัดไว้ ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหารเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์และพระเสตังมณีตลอดวัน และจะมีการเล่นรดน้ำกันตามถนนของหนุ่มสาวอย่างสุภาพชนกันจนกระทั่งเย็น
ในวันนี้จะถือว่าเป็นวัน สำคัญ เราจะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคลจะไม่มีการด่าทอโกรธกันทะเลาะวิวาทกัน โบราณถือว่าบุคคลใดถ้าด่าทอกันแล้ว ปากของบุคคลนั้นจะเน่าเพราะเป็นวันเน่า จะถือเคร่งที่สุด จะไม่ทำอะไรที่ผิดศีลห้า หากมีการทะเลาะกันในวันนี้จะถือว่าไม่เป็นมงคลตลอดปีเลยทีเดียวจะมีแต่การยิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริงกัน ทั้งผู้ใหญ่ตลอดจนเด็ก ๆ การขนทรายเข้าวัดในวันนี้จะสนุกสนานกันมากหนุ่มสาวชาวเหนือจะแต่งกายสวยงามกับแบบพื้นเมือง คือ ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอกแขนสามส่วนหรือยาวถึงข้อมือ เหล้าผมมวยเหน็บช่อดอกเอื้องผึ้ง หรือ เอื้องคำ อันเป็นเครื่องแต่งกายของสุภาพสตรีชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลแล้วส่วนพวกหนุ่ม ๆ ก็จะมีการแต่งกายด้วยชุดเสื้อแบบม่อฮ่อมแต่หลากสี จะมีดอกมะลิร้อยเป็นพวงสวมคอถือขัน หรือสลุงร่วมกันขนทรายเข้าวัดเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งการแต่งกายแบบพื้นเมืองเหนือในวันนี้
เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมของ เมืองเหนือของเราไว้เพื่อเป็นแบบอย่างให้เยาวชนทั้งหญิงและชายของเราได้ยึดถือเป็น “ เอกลักษณ์ ” ของเมืองเหนือเราสืบต่อไป
วันเนาว์ หรือวันเน่า นอกจากจะเป็นวันขนทรายแล้วยังเป็น “วันดา ” หมายถึงจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จะต้องจัดไปทำบุญใน วันพญาวัน หรือ วันเริ่มเปลี่ยนเป็นศักราชใหม่จะมีการจัดอาหารขนมส่วนมากจะเป็นขนมของชาวเหนือเราจะมีขนมจ๊อก ข้าวเหนียวแดงข้าวแตน ข้าวแคบ เป็นต้น วันพญาวันนี้ตอนเช้าจะมีการ “ ทานขันข้าว” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ญาติมิตร บิดามารดา ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
พิธีทางศาสนาของวันพญาวัน มีการทำบุญถวายแด่พระสงฆ์ แล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนาตอนบ่ายเรียกว่า ธรรมอนิสงฆ์ ก๋องเจดีย์ทราย แล้วมีการสรงน้ำพระพุทธรูปที่เป้นองค์เล็กอยู่ในโบสถ์วิหารโดยอัญเชิญออกมาให้คณะศรัทธาของแต่ละวัดให้นำน้ำขมิ้นส้มป่อย ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เป็นอันเสร็จพิธีทาวศาสนาของวันพญาวัน
วันปากปี๋ หรือพิธีดำหัวสำหรับวันปากปีนี้เรียกได้ว่าเป็นวันสำคัญ เช่นเดียวกัน เพราะตามหัววัดต่าง ๆ ที่มีเจ้าอาวาสของวัดที่ยังมีอายุน้อยอยู่ก็จะได้ร่วมกันกับคณะศรัทธาแต่ละวัดจัดเตรียมของเพื่อจะได้ไปดำหัวพระ ผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสมากตามวัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเชียงใหม่ ของที่จัดทำเพื่อจะนำไปดำหัวพระผู้ใหญ่นั้นจะมีน้ำขมิ้นส้มป่อย ต้นดอก หมากสุ่ม จะมีเครื่องอัฐะบริขารอยู่บ้างพอสมควร ต่อจากการดำหัวพระเถระแล้วก็จะมีการไปรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ปู่ย่า ตายาย บิดามารดาเป็นต้น ก็จะมีเตรียมข้าวของที่นำไปสักการะท่านผู้ใหญ่นั้นก็คล้าย ๆ กันกับที่จัดไปดำหัวพระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ นั้นเอง
กรรมวิธีการขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย
จะมีอุบาสกผู้มีอายุ หรือ ปู่จ๋านของวัด หรือพระภิกษุสามเณรภายในวัดช่วยกันทำโครงร่างเจดีย์โดยจะจัดหาไม้ไผ่มาสานเป็นขั้นวงกลม ลักษณะเป็นพระเจดีย์ 3 ชั้นบ้าง 5 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้าง จะทำกันในวันเน่าหรือวันดา
การบรรจุทรายลงบนเจดีย์
ทางวัดจะนำเอาฐานแรกมา วางไว้ก่อนให้คณะศรัทธาขนทรายมาใส่ให้เต็มฐานแรกโน้นละก็จะนำฐานที่ 2 มาตั้งให้เททรายลงไปอีก เมื่อฐานที่ 2เต็ม ก็จะนำฐานที่ 3-4-5 มาตั้งขึ้นไปตามลำดับก็จะได้เจดีย์องค์หนึ่ง วันพญาวันตอนเช้าที่ศรัทธาประชาชนทั้งหลายได้ตานขันข้าวแล้วก็จะนำช่อตุง หลากสีหลายแบบมาปักไว้บนเจดีย์ทรายในตอนบ่ายของวันพญาวัน ก็จะมีปู่อาจารย์ของวัดต่างๆ จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่สลุงตั้งไว้หน้าพระประธานในวิหารพร้อมดอกไม้ธูปเทียน เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์เจ้าอาวาสก็เป็นประธานขึ้นบนวิหารปู่อาจารย์ก็จะนำศรัทธาไหว้พระรับศีลแล้วอาราธนาพระปริตรรพระสงฆ์เจริญพระ พุทธมนต์แบบล้านนา คือ สูตรแบบย่อพอสมควรแก่เวลา บางวัดก็จะเทศนาธรรมอนิสงฆ์ปี๋ใหม่เมืองหนึ่งผูกจากนั้นปู่อาจารย์จะทำพิธีโอกาสเวนทานเจดีย์ทราย ก็เป็นเสร็จพิธีของวันพญาวัน หรือ วันเถลิงศกของปี๋ใหม่เมือง
ขอบคุนครับ ขอบคุณเจ้า ขอบคุณครับ คิดถึงตอนเด็กๆๆ นะ ขอบคุณนะ....
หวัดดีปีใหม่ครับ อ้ากๆๆ จักจังหวัดไหนมั้งอ่ะ อยากลองไปดูอ่ะ (ซินะ ซินะ)
หน้า:
[1]