การเลือกตั้ง ส.ส. ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย คำว่า "ประชาธิปไตย" แปลว่า "ประชาชนเป็นใหญ่" คือการที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย หรือมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ประชาชนทั้ง 65 ล้านคนจะเข้าไปปกครองบริหารประเทศทั้งหมดด้วยตนเองย่อมเป็นไปไม่ได้ จึง ต้องมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ตัวแทนที่ตนเลือกเพื่อให้ไปทำหน้าที่แทน ดังนั้นวันเลือกตั้งก็คือวันที่ประชาชนไปมอบอำนาจอธิปไตย หรือไป
มอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้แทนที่ตนเลือกนั่นเอง
ถ้าผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปสามารถทำหน้าที่แทนประชาชนได้อย่างดี มีประสิทธิภาพสมกับที่ประชาชนไว้วางใจ ประชาชนก็จะอยู่ดี
มีสุข ประเทศชาติและท้องถิ่นเจริญพัฒนา ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการเยียวยาแก้ไข
แต่ถ้าประชาชนเลือกผู้แทนที่ไม่ดี ไม่มีความรู้ความสามารถขาดคุณธรรม ได้รับเลือกตั้งด้วยการทุจริต ใช้เงินซื้อเสียง หลบเลี่ยงกฎหมาย เมื่อได้เข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนก็ต้องถอนทุนคืนด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น เงินงบประมาณที่จะไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของ ประชาชนก็รั่วไหล ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก็ไม่ได้รับการแก้ไขเพราะตัวแทนที่เลือกเข้าไปไม่มีความคิดรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และทรยศต่อประชาชนที่ไว้วางใจมอบอำนาจอธิปไตยให้ตนเข้าไปทำหน้าที่แทน
การเลือกตั้งจึงมีความสำคัญที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไปทำหน้าที่เลือกตัวแทนทุกครั้งทุกระดับทั้งตัวแทนระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยพินิจพิจารณาเลือกอย่างละเอียดรอบคอบพิถีพิถัน แม้แต่เราจะเลือกซื้อผักสักกำ ซื้อปลาสักตัวยังเลือกแล้วเลือกอีกกว่าจะตัดสินใจซื้อได้
ดังนั้น ในการเลือกตัวแทนที่จะเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตย เราจึงต้องตัดสินใจให้ดี โดยควรเลือกคนที่มีลักษณะต่อไปนี้
1. มีประวัติส่วนตัว และผลงานที่ผ่านมาดีเป็นที่ยอมรับ กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม
2. มีคุณธรรม และความเสียสละไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
3. มีความรู้ความสามารถ คือรู้ปัญหา รู้หน้าที่ และมีแนวคิด หรือข้อเสนอในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน มีความเป็นไปได้
4. มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย คือ มีเหตุผล ไม่ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ เคารพมติเสียงส่วนใหญ่ รับฟังความเห็นของเสียงส่วนน้อย
5. มีการหาเสียงหรือแนะนำตัวอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎกติกาการเลือกตั้ง
ทำไมต้องไปเลือกตั้ง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน แท้จริงแล้ว ประชาชนจะต้องปกครองกันเอง ออกกฎหมายเอง บริหารเอง แต่ประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถหาสถานที่และเวลาในการประชุมหารือกันได้ จึงต้องมีการเลือกตั้ง มอบอำนาจให้บุคคลหรือคณะบุคคลไปทำหน้าที่แทนตน การมอบอำนาจหรือการเลือกตั้งของแต่ละประเทศแตกต่างกัน บางประเทศมอบอำนาจให้แก่ผู้ที่จะไปทำหน้าที่แทนตน แต่บางประเทศมอบอำนาจให้บางส่วน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มอบอำนาจให้บุคคลหรือคณะบุคคลเพียงบางส่วน ประชาชนยังมีช่องทางแห่งอำนาจที่จะเสนอกฎหมายได้โดยตรง
ดังนั้น การมอบอำนาจให้ใครก็ตามทำหน้าที่แทนเราจะต้องมอบด้วยความระมัดระวัง เพราะผลกระทบจากการที่เราใช้อำนาจในทางที่ผิด หรือใช้ไม้เกิดประสิทธิภาพจะส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว และสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ.2540 กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกคนที่เราต้องใช้สิทธิลงคะแนน ในการ เลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ปกครองผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย การไปเลือกตั้งเป็นความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยถือว่า การเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพื่อให้ได้ ตัวแทนที่ตนต้องการ นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้การไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของทุกคน ถ้าไม่ไปโดยไม่แจ้งเหตุก็จะทำให้เสียสิทธิตาม ที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
สิทธิที่เสียไปหากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ส. ผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะเสียสิทธิการเมือง 8 ประการดังนี้
1. เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
2. เสียสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3. เสียสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
4. เสียสิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเห็นว่าการเลือกไม่สุจริต
5. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
6. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้ ส.ว. มีมติถอดถอนบุคคลในตำแหน่งสำคัญ ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต
7. เสียสิทธิเข้าชื่อขอให้สภาท้องถิ่น เช่น สภา อบต. สภาเทศบาล พิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
8. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นสิทธิต่าง ๆ ที่เสียไปจะกลับคืนมา เมื่อได้ไปใช้สิทธิในการ
เลือกตั้ง ส.ส.หรือ ส.ว. ครั้งต่อไป แม้จะไปเลือกตั้งระดับท้องถิ่นก็ทดแทนกันไม่ได้
การแจ้งเหตุไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กรณีที่มีเหตุจำเป็นทำให้ไปเลือกตั้งไม่ได้ เช่น มีธุระจำเป็นเร่งด่วนสำคัญต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกลจากที่เลือกตั้ง หรืออาศัยอยู่ไกลจาก หน่วยเลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร และไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ หรือ เจ็บป่วย พิการ สูงอายุ จนทำให้ไม่อาจเดินทางไป ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ขอให้แจ้งเหตุผลตามแบบ ส.ว.30ได้ที่นายอำเภอ ปลัดเทศบาลหรือ ผอ.เขตของ กทม. ด้วยตนเองหรือมอบหมายผู้อื่นไปยื่น แทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
สำหรับผู้ที่ไม่ได้แจ้ง ให้ตรวจสอบรายชื่อผู้ไม่ไปเลือกตั้งได้ที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ หากมีรายชื่อก็ให้แจ้งเหตุอีกครั้งภายใน 30 วัน มิฉะนั้น ท่านจะเสียสิทธิ 8 ประการ
หน้าที่ของ ส.ส. ส.ส. คือ ตัวแทนของประชาชนที่เราเลือกเข้าไปทำหน้าที่สำคัญ อาทิ
• ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชน และแผ่นดิน
• ดูแลทุกข์สุข ปัญหา ความต้องการของประชาชนในเขตเลือกตั้งของตน แล้วนำไปเสนอรัฐบาลแก้ไข หรือเสนอรัฐบาลออกกฎหมายที่เป็น
ประโยชน์ต่อประชาชน
• แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เข้าบริหารประเทศ
• ตรวจสอบรัฐบาลโดยตั้งกระทู้ถาม อภิปรายทั่วไป อภิปรายไม่ไว้วางนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือคณะ
• ถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ถ้ากระทำผิด
• ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการใช้จ่ายของรัฐบาล ใน 1 ปีงบประมาณแผ่นดินสำหรับพัฒนาประเทศ มีประมาณไม่น้อยกว่า
1,000,000 ล้านบาท
จำนวน ส.ส. 500 คน ส.ส.แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
• ส.ส.แบบแบ่งเขต คือ แบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 400 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส.ได้ 1 คน รวมทั้งประเทศจึงมี
ส.ส. 400 คน
หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า แต่ละเขตเลือกตั้งควรจำนวน ส.ส.เท่ากันอย่างสม่ำเสมอประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากันมีความเสมอ -ภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด หรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ ชาวนา หรือเศรษฐี ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งแบบเดิมที่แต่ละเขตมี ส.ส.ไม่เท่ากัน บางเขตมี 1 คน บางเขตมี 2 คน หรือ 3 คน
• ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่ทุกคนพรรคการเมือง ต้องส่งบัญชีรายชื่อพรรคละไม่เกิน 100 คนเรียงลำดับไว้ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควบคู่กับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต
เหตุผลของการมี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ก็คือ พรรคการเมืองจะคัดผู้สมัครที่มีความรู้ ความสามารถของพรรคมาลง ส.ส.ประเภทนี้ เมื่อ พรรคได้เสียงข้างมากก็จะแต่งตั้ง ส.ส.จากบัญชีเป็นรัฐมนตรี แล้วแต่นโยบายของแต่ละพรรคการเมือง ทั้งนี้ เพื่อให้ ส.ส.แบบแบ่งเขต ทำหน้าที่ ส.ส.ด้านนิติบัญญัติหรืออาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดูแลทุกข์สุขของประชาชนในพื้นที่แต่เพียงอย่างเดียว ส่วน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรี ถ้าพรรคได้เสียงข้างมาก
วิธีคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ • มีจำนวนพรรคการเมือง
• รวมคะแนนทุกพรรคการเมือง
• พรรคการเมืองที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 5 จะถูกตัดออก คือ
• พรรคการเมืองที่ได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 5
• ร้อยละของจำนวนพรรคการเมืองได้รับ (ร้อยละ 5 )
ซึ่งตามข้อเท็จจริงเมื่อคำนวณคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนร้อยละห้าขึ้นไปแล้ว จะได้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 5 คน
• คำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเฉลี่ยต่อ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน คือ
คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. • มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
• มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
• จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า (เว้นแต่เคยเป็น ส.ส.หรือ ส.ว.)
• เป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้สมัครแบบแบ่งเขตต้องมีลักษณะ
เข้าข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ ดังนี้ด้วย
• มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในจังหวัดที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัคร
• เคยเป็น ส.ส.จังหวัดที่สมัครหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
• เกิดในจังหวัดที่สมัคร
• เคยศึกษาในสถานศึกษาในจังหวัดที่สมัคร (ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี การศึกษา)
• เคยรับราชการ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
หลักคิดการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร • พิจารณาความรู้ความสามารถของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากการพิจารณาการแนะนำตัว ความรู้ ความชำนาญ จากประสบการณ์ของผู้สมัคร
• ชื่อเสียงและความประพฤติส่วนตน การเสียสละเพื่อสังคม จากพฤติกรรมของผู้สมัครที่ปรากฏในสังคม
• ผู้ใด หรือผู้สมัครที่ใช้อามิสสินจ้าง ทั้งให้ตัวเองของเราหรือรับทราบอย่างแน่ชัดว่ามีพฤติกรรมเช่นนั้น ไม่สมควรเลือกโดยเด็ดขาด
เพราะขาดจริยธรรมตั้งแต่เริ่มต้น
การเตรียมพร้อมก่อนไปเลือกตั้ง 1. การตรวจสอบชื่อ – นามสกุล และที่เลือกตั้ง
• 20 วันก่อนการเลือกตั้ง ไปอ่านประกาศที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอบต. ว่าเราอยู่ในหน่วยเลือกตั้งใด และที่เลือกตั้ง อยู่ที่ใด เรามีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่
• 15 วันก่อนการเลือกตั้ง เจ้าบ้านจะได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่อยู่ในทะเบียนบ้านของตน
2. การเพิ่มชื่อ ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
• ไม่น้อยกว่า 10 วันก่อนวันเลือกตั้ง หากชื่อตกหล่นไป ให้ยื่นคำร้องขอเพิ่มหรือถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งออกจากบัญชีต่อ นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ทำการแทน กกต.เขต
• จนถึงวันเลือกตั้ง เจ้าบ้านสามารถนำหลักฐานทะเบียนบ้านมาแสดงต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) เพื่อถอนชื่อบุคคล ที่ปรากฏชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ในทะเบียนบ้านของตน
3. การเตรียมหลักฐานเพื่อใช้ในการไปลงคะแนน
ก่อนไปลงคะแนนให้เตรียมความพร้อมหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง ดังนี้
• บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัว ประชาชนที่หมดอายุ
• ใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ที่ติดรูปถ่าย และประทับตราเจ้าหน้าที่ (ใบเหลือง)
• ใบแทนใบรับคำขอมีบัตรที่ติดรูปถ่าย และประทับตราเจ้าหน้าที่ (ในสีชมพู)
• บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รับบำเหน็จบำนาญ
• หนังสือเดินทางที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศที่มีหมายเลขประจำประชาชน และรูปถ่าย (กรณีการลงคะแนนในต่างประเทศ)
ขั้นตอนการลงคะแนน 1. ตรวจลำดับที่ของตนในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ปิดประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง
2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน ลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อ พร้อมพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาที่ต้นขั้วบัตร
3. กรรมการจ่ายบัตรเลือกตั้งให้ 2 ใบ
4. เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายเลือก โดยใช้ตรายางรูปเครื่องหมายกากบาท( x ) ประทับหมึกและประทับลงที่ช่องทำเครื่องหมายใน
บัตรเลือกตั้งไม่เกินบัตรละ 1 หมายเลข ถ้าไม่ต้องการเลือกใครก็ทำเครื่องหมายที่ช่องไม่ลงคะแนน
5. พับบัตรและหย่อนบัตรด้วยตนเองลงในหีบบัตร
การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า มี 2 กรณี
กรณีที่1 เลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางของเขตเลือกตั้งโดยไม่ต้องลงทะเบียน
• สมารถลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางของแต่ละเขตเลือกตั้ง เขตละ 1 แห่ง ยกเว้น กทม.จัดไว้ที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
• สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ที่ไม่อาจอยู่ในวันเลือกตั้งโดยมีความจำเป็นต้องเดินทางออกจากเขตเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง
• หรืออาศัยอยู่ต่างเขตเลือกตั้งที่สามารถเดินทางกลับไปลงคะแนนในเขตเลือกตั้งตามทะเบียนบ้าน และนำหลักฐานว่าจะไม่อยู่ในเขต
เลือกตั้ง หรือยู่นอกเขตเลือกตั้งไปแสดงด้วย
• กรณีไม่มีหลักฐานไปแสดงว่าอยู่นอกเขตเลือกตั้งให้ไปกรอกแบบ ทก.1 เพื่อขอลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้ง
• เลือกผู้สมัครของเขตเลือกตั้งในจังหวัดที่มีชื่อตามทะเบียนบ้าน 1 คน
กรณีที่ 2 สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตจังหวัดที่ท่านมีชื่อตามทะเบียนบ้านหรือย้ายออกนอกจังหวัดเป็นเวลาน้อยกว่า 90 วัน สามารถไปใช้ สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่โดยไม่ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา ซึ่ง กกต.จัดไว้จังหวัดละ 1 แห่ง ยกเว้น กทม.จัดไว้ที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต แต่ต้อง ยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเลือกตั้งก่อน ดังนี้
• ขอรับแบบพิมพ์ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า และยื่นต่อนายอำเภอ ปลัดเทศบาล และผอ.เขตของ กทม. ในจังหวัดที่เราอาศัยอยู่ด้วย
ตนเองทางไปรษณีย์ หรือทำหนังสือมอบหมายให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอื่นทำหน้าที่แทน
• หลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้และมีหมายเลขประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
หนังสือรับรองสถานที่อยู่ปัจจุบันจากบริษัท นายจ้าง สถานศึกษา หรือผู้ให้เช่า ฯลฯ (กรณีย้ายทะเบียนบ้านมาแล้วแต่ไม่ถึง 90 วัน
ไม่ต้องมีหนังสือรับรองนี้) พร้อมซองเปล่าติดแสตมป์ จ่าหน้าซองถึงตนเอง เพื่อรอคำตอบรับจากอำเภอ เทศบาล หรือเขต
ข้อควรจำ เมื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดแล้วจะกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ บ้านเดิมที่มีทะเบียนบ้านอยู่นั้นไม่ได้ จน
กว่าจะขอเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนกลับที่เดิม ส่วนผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้ไม่ต้องลงทะเบียนลงทะเบียนอีก เว้นแต่ประสงค์จะกลับไป
ใช้สิทธิลงคะแนนตามภูมิลำเนาที่มีชื่อในทะเบียนบ้านจะต้องแจ้งขอเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอที่ท่านมีชื่อยู่ใน
ทะเบียนบ้านตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร
การลงคะแนนเลือกตั้งต่างประเทศของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ จะต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิลงคะแนนล่วงหน้าที่ สถานทูต สถานกงสุลหรือที่เลือกตั้งกลางในประเทศนั้น
สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างประเทศหากประสงค์จะกลับมาใช้สิทธิในประเทศไทยให้แจ้งขอถอนชื่อจากฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อ
นายทะเบียนอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ ที่ทำการท้องถิ่นที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
คนไทยทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมาแล้วมากกว่า 90 วัน เป็น ผู้สิทธิเลือกตั้ง ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช แม่ชี คนวิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ผู้ที่อยู่ในระหว่างจำคุก และผู้ที่อยู่ในระหว่าง ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ขั้นตอนการลงคะแนน
1. ตรวจลำดับที่ของตนในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ปิดประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง
2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน ลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อ
3. ลงลายมือชื่อที่ต้นขั้วบัตรก่อนรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จากกรรมการประจำหน่วย
4. เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาทที่ช่องทำเครื่องหมาย ไม่เกินบัตรละ 1 หมายเลข ในบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ ถ้าไม่ต้องการ
เลือกใคร ก็กากบาทที่ช่องไม่ลงคะแนน
5. พับบัตรและหย่อนบัตรด้วยตนเองลงในหีบบัตรทั้ง 2 ใบ
สิทธิทางการเมือง 8 ประการ รัฐธรรมนูญกำหนดให้คนไทยทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ต้องไปเลือกตั้ง เมื่อกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่แล้ว ผู้ใดไม่ไปเลือกตั้งตามหน้าที่และไม่แจ้งสาเหตุที่ไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางการเมือง 8 ประการ ดังนี้
1. เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
2. เสียสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3. เสียสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
4. เสียสิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเห็นว่าการเลือกไม่สุจริต
5. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
6. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้ ส.ว. มีมติถอดถอนบุคคลในตำแหน่งสำคัญ ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต
7. เสียสิทธิเข้าชื่อขอให้สภาท้องถิ่น เช่น สภา อบต. สภาเทศบาล พิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
8. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
สิทธิต่าง ๆ ที่เสียไปจะกลับคืนมา เมื่อได้ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือ ส.ว. ครั้งต่อไป แม้จะไปเลือกตั้งระดับท้องถิ่นก็ทดแทนกันไม่ได้
การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ เนื่องจากมีธุระสำคัญหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปในพื้นที่เกินกว่า 100 กิโลเมตร และไม่สามารถ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ ผู้ที่ป่วย พิการ หรือสูงอายุ จนทำให้ไม่อาจเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ สามารถแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้ สิทธิเลือกตั้งได้ โดยขอรับและยื่นหนังสือแจ้งเหตุ (ส.ส.30)ได้ที่นายอำเภอ ปลัดเทศบาลหรือ ผอ.เขตของ กทม. ด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่น ไปยื่นแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
หลังการเลือกตั้ง กกต.จะประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุล่วงหน้าไว้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ เพื่อให้โอกาสผู้ที่ ไม่ได้ไปเลือกตั้ง ไปแจ้งเหตุอีกครั้งภายใน 60 วัน นับแต่วันประกาศรายชื่อ
ถ้าครั้งนี้ไม่ไปแจ้งเหตุอีก จะประกาศชื่อเป็นผู้เสียสิทธิทางการเมือง 8 ประการ ซึ่งสิทธิทั้ง 8 ประการจะได้กลับคืนมาเมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.หรือ ส.ว.อีกครั้ง
ข้อห้ามในการหาเสียง เพื่อให้การเลือกตั้ง ส.ส.มีความสุจริตและเที่ยงธรรมตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 44 มีข้อห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดหาเสียงด้วยวิธีการ ดังนี้
• ห้ามให้เงินหรือสิ่งของหรือจัดเตรียมเงินทองหรือสิ่งของทั้งในภาวะปกติและในงานวันเกิด งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่
่ งานบุญ งานเทศกาล และงานศพ
• ห้ามให้เงินหรือสิ่งของหรือจัดเตรียมเงินทองหรือสิ่งของ หรือบริจาคแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์
• ห้ามโฆษณาหาเสียง ด้วยการจัดมหรสพ ตลอดจนการละเล่นต่างๆ
• ห้ามจัดเลี้ยง จัดประชุม หรือจัดอบรมสัมมนาเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
• ห้ามกระทำการหลอกลวง บังคับขู่เข็ญหรือใช้อิทธิพลคุกคามใส่ร้ายป้ายสี จูงใจให้เข้าใจผิด เกี่ยวกับผู้สมัคร
ผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องจะต้องถูกลงโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่น ถึง 2 แสนบาท และศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มีกำหนด 10 ปี
นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามอื่นๆ อีก เช่น
• ห้ามจัดยานพาหนะรับ-ส่ง โดยไม่เสียค่าโดยสาร เพื่อจูงใจหรือควบคุมผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปลงคะแนน
• ห้ามชาวต่างด้าวเข้ามีส่วนช่วยในการหาเสียง
• ห้ามใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางราชการเข้ามามีส่วนช่วยในการหาเสียง
• ห้ามโฆษณาหาเสียงนับตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกา ของวันก่อนเลือกตั้งหนึ่งวันจนถึงเวลา 24 นาฬิกาของวันเลือกตั้ง
• ห้ามนายจ้างขัดขวางไม่ให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
• ห้ามร้องเรียนเท็จ ให้การเท็จ หรือกระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อกลั่นแกล้งผู้สมัคร
|