หน้าใหญ่ หัวใจโต ไม่ดีแน่
by Samitivejhospitals
หัวใจโต ไม่ใช่หัวใจพองโตด้วยความอิ่มอกอิ่มใจหรอกนะครับ แต่มันคือภาวะหรืออาการที่มีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ง่ายเมื่อทำการเอ็กซเรย์ ในบางภาวะอาจจะมีหัวใจโตขึ้นชั่วคราว เช่น การตั้งครรภ์ สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ
ภาวะหัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่ในบางรายจะมีอาการ • หายใจลำบาก • หายใจสั้น เร็ว • มึนงง เวียนศีรษะ • จังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ • ตัวบวม ขาบวม • ไอโดยไม่มีสาเหตุ อาการที่ควรจะพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจกับแพทย์หัวใจได้แก่ อาการที่อาจจะแสดงถึงภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน • เจ็บหน้าอก • หายใจลำบาก หอบเหนื่อย • เป็นลม หมดสติ สาเหตุของภาวะหัวใจโต • ความดันโลหิตสูง • ลิ้นหัวใจรั่ว • กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) • โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด • การเต้นหัวใจ (arrhythmia) • ภาวะความดันเส้นเลือดในปอดสูง (pulmonary hypertension) • โลหิตจาง • โรคไทรอยด์ • ภาวะธาตุเหล็กในร่างกายสูงผิดปกติ (hemochromatosis) • โรคที่มีโปรตีนสูงผิดปกติในหัวใจ (amyloidosis) ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาจากการมีหัวใจโต ที่อันตรายที่สุดคือภาวะที่หัวใจห้องซ้ายล่างโต ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดหัวใจวายได้ ซึ่งจะทำให้หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้อย่างเพียงพอ ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แก่ • เลือดแข็งตัว เป็นลิ่มเลือดภายในหัวใจ หากลิ่มเลือดนี้ไปอุดตันอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น ที่ปอด ที่เส้นเลือดสมอง เส้นเลือดหัวใจ • ลิ้นหัวใจรั่ว Heart murmur เกิดจากลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ทำให้มีเลือดไหลย้อนกลับเข้าไปทำให้เกิดเสียงดังของหัวใจ • หัวใจวาย หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน หากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะหัวใจโตควรพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย โดยละเอียด และอาจทำการตรวจเพิ่มเติมได้แก่ • การเอ็กซเรย์ทรวงอก Chest X-ray เป็นการตรวจเบื้องต้นที่สามารถเห็นขนาดของหัวใจได้ แต่อาจจะทำการตรวจอย่างอื่นด้วยเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram เพื่อตรวจดูจังหวะการเต้นหัวใจและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด • Echocardiogram. เป็นการตรวจที่สำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัย และติดตามภาวะหัวใจโต เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียง เพื่อทำให้เห็นภาพของหัวใจ โดยจะเห็นหัวใจห้องต่างๆ ลิ้นหัวใจ และตรวจดูกระแสเลือดว่าปั๊มออกมาได้ดีหรือไม่ • เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ Cardiac computerized tomography (CT) or magnetic resonance imaging (MRI) • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาสาเหตุและความเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหัวใจ • การตรวจสวนหัวใจ และการตรวจชิ้นเนื้อ หากพบว่ามีภาวะหัวใจโต แพทย์หัวใจจะทำการรักษาด้วยการให้ยา และในบางรายอาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด การปฏิบัติตัวหากมีภาวะหัวใจโต: • หยุดสูบบุหรี่ • ลดนํ้าหนัก • ลดอาหารเค็ม • หากเป็นเบาหวานต้องควบคุมระดับนํ้าตาลให้ดี • ติดตามตรวจความดันโลหิตเป็นประจำ • ออกกำลังกายระดับปานกลาง โดยต้องปรึกษาแพทย์ก่อน • งดการดื่มแอลกอฮอลล์ • นอนหลับพักผ่อนให้ได้ 8 ชั่วโมง ถ้าหัวใจพองโตเพราะอิ่มอกอิ่มใจก็ยินดีด้วยนะครับ แต่ถ้ามีอาการที่หมอว่ามานี้ มาตรวจกันซักนิดก็จะดีนะครับ |