เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๓๐ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่
“พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์”
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๓๐ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่
“ตัวเราคนเดียวที่เที่ยวรักเที่ยวชัง
รักชังทุกข์โทษกับโลก
หากตัวเองไม่แก้ไข ใครจะมาแก้ให้”
คติธรรมคำสอนหลวงพ่อลี ธมฺมธโร
“พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์”
จากซ้าย : ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
และพระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต)
บันทึกภาพร่วมกัน ณ วัดอโศการาม
บ้านนาแม่ขาว ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ได้มอบหมายหน้าที่ให้
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต)
แห่งวัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
เป็นผู้ฝึกหัดอบรมสั่งสอนนาคตลอดงาน และให้เป็นหนึ่งในพระอุปัชฌาย์
ที่ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรที่ตั้งใจเข้ามาขอรับการอุปสมบท
เพื่อการสืบต่ออายุพระบวรพุทธศาสนา
ต่อมาอีกหลายปี มีพระภิกษุที่เข้ารับการอุปสมบทจาก
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต) ณ วัดอโศการาม
เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒
และครองสมณเพศเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน ก็คือ
พระครูพุทธิสารสุนทร (พระอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน)
วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
พระเถรานุเถระศิษยานุศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
บันทึกภาพร่วมกันในงานผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดอโศการาม
เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๓
แถวนั่ง จากซ้าย : หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,
หลวงปู่อ่อนสี ฐานวโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร,
พระเทพวรคุณ (หลวงพ่ออ่ำ ภทฺราวุโธ), ท่านพ่อลี ธมฺมธโร,
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต),
พระปลัดศรี (วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี) และพระอาจารย์จันทร์ เขมปัตโต
แถวกลาง จากซ้าย : พระอาจารย์ไสว, หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ,
พระอาจารย์สวด, พระครูพรหมวิหาร, พระอาจารย์เม้า ธมฺมุตฺตโม,
พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร), พระมหาสมจิตร จิตฺตวโร,
พระครูญาณวิศิษฏ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก), หลวงปู่ถวิล จิณฺณธมฺโม,
พระอาจารย์บุญมี ปัญญาปทีโป และพระครูสัน (วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี)
แถวหลัง จากซ้าย : พระครูธงชัย (วัดพุทธมงคลนิมิต จ.นครสวรรค์),
หลวงปู่ฟัก สนฺติธมฺโม, พระอาจารย์ปทุม (วัดหนองบัว),
พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม และพระใบฎีกา (ตุ๋ย)
หมายเหตุ... ในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ยังไม่มีอุโบสถ
ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์ที่เข้าพิธีอุปสมบทในครั้งนั้น
จึงได้อุปสมบทกันภายในเรือที่ลอยอยู่ในน้ำ โดยใช้เรือเป็นสิมน้ำ
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร บันทึกภาพหมู่ร่วมกับครูบาอาจารย์
และคณะศิษยานุศิษย์ หน้าศาลาหลวงพ่อทรงธรรม
ซึ่งเป็นศาลาหลังแรกของวัดอโศการาม ปัจจุบันได้บูรณะใหม่แล้ว
• ในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ •
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ วัดอโศการาม
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
ในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม
หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม กับ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
ในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กับ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
ขณะออกรับบิณฑบาตโปรดญาติโยม
ในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม
บรรยากาศภายในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ
มีพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระป่ากรรมฐานหลายองค์มาร่วมงาน
หนึ่งในนั้นคือ “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน”
แห่งวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
(ขณะนั้นองค์หลวงตามหาบัว ท่านมีอายุ ๔๔ ปี)
ในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม
หลวงปู่สีลา อิสฺสโร แห่งวัดอิสระธรรม
บ้านวาใหญ่ ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
ศิษย์อาวุโสของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
องค์ท่านได้รับหน้าที่เป็นหนึ่งในพระอุปัชฌาย์
ที่ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรที่ตั้งใจเข้ามาขอรับการอุปสมบท
เพื่อการสืบต่ออายุพระบวรพุทธศาสนา
พระภิกษุที่เข้ารับการอุปสมบทจากหลวงปู่สีลา อิสฺสโร ในครั้งนั้น
และครองสมณเพศต่อมาจวบจนถึงกาลมรณภาพ ก็คือ
พระครูสันติวีรญาณ (หลวงปู่ฟัก สนฺติธมฺโม)
และพระอาจารย์แสวง โอภาโส วัดพิชัยพัฒนาราม
(วัดเขาน้อยสามผาน) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
สรีระร่างท่านพ่อลี ธมฺมธโร ที่มรณภาพอย่างสงบ
เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ เวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น.
สิริอายุรวมได้ ๕๕ ปี พรรษา ๓๓
กุฏิท่านพ่อลี ธมฺมธโร ณ วัดอโศการาม
จากซ้าย : พระโสภณคุณาธาร (หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ),
พระวิจิตรธรรมภาณี, พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต)
และพระครูญาณวิศิษฏ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก)
บันทึกภาพร่วมกันในงานบำเพ็ญกุศลศพและสวดมนต์อุทิศถวาย
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมมฺธโร)
ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
หลังจากท่านพ่อลี ธมฺมธโร ได้มรณภาพลง
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
มีบัญชาให้เก็บสรีระศพของท่านพ่อลีไว้ ยังไม่ถวายเพลิง
เอาอย่าง “ท่านพระมหากัสสปเถระ”
ที่ในวันหนึ่งในอนาคตกาลจะมีพระศรีอริยเมตไตรย
มาเผาศพพระมหากัสสปเถระอย่างสมศักดิ์ศรี
ในเวลาที่พระมหากัสสปเถระจักปรินิพพาน
พระเถระได้เข้าไปอยู่ในระหว่างภูเขา ๓ ลูกที่เมืองฮ่อ
(สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ในประเทศจีน)
ภูเขา ๓ ลูกนั้นได้ประชุมรวมกันเข้าเป็นลูกเดียว
ปกปิดกำบังร่างของพระเถระเพื่อมิให้ปรากฏแก่มหาชนทั้งหลาย
ต่อเมื่อในอนาคต พระศรีอริยเมตไตรยได้เสด็จลงมาตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าในโลกแล้ว
พระองค์ก็จะนำเอาร่างของพระมหากัสสปเถระ
ยกขึ้นไว้บนฝ่าพระหัตถ์เบื้องขวา ชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระ
แล้วเตโชธาตุก็จะเกิดขึ้นเผาสรีระของท่าน
บนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น
เนื่องจากเวรกรรมที่ท่านทั้งสองได้เคยทำต่อกันในอดีตชาติ
เมื่อคราวที่พระศรีอริยเมตไตรยเกิดเป็นนายควาญช้าง
และพระมหากัสสปเถระเกิดเป็นพญาช้างเผือก
อดีตชาติในครั้งนั้น “นายควาญช้างได้สั่งให้พญาช้างเผือก
เอางวงอุ้มเหล็กแดงเอาไว้เพื่อเป็นการลงโทษ
ที่พญาช้างเผือกวิ่งหนีเข้าป่าติดตามกลิ่นสาปของนางช้าง
พญาช้างเผือกได้รับความเจ็บปวดจากแท่งเหล็กนั้น จนกระทั่งล้มตายในที่สุด
สรุปคติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้คือ “ราคะนี้มีความเผ็ดร้อนทารุณยิ่งกว่าไฟ
มีพิษร้ายยิ่งกว่าพิษของพญานาค”
นัยของท่านพ่อลีก็ขอให้เอาเยี่ยงอย่างนี้เป็นอุทาหรณ์ว่า
“ผู้มีบุญกรรมที่เกี่ยวข้องกับท่านในวันข้างหน้า
จะได้มาถวายเพลิงสรีระร่างของท่านอย่างสมศักดิ์ศรี
ที่เป็นอัศวินนักรบธรรมกรรมฐานผู้มีพลังจิตแก่กล้า
สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต”
พร้อมนี้สมเด็จฯ ท่านยังมีบัญชาอีกว่า
ให้บำเพ็ญกุศลและสวดมนต์อุทิศถวายท่านพ่อลีทุกคืน
บรรดาบรรพชิตซึ่งเป็นคณะศิษยานุศิษย์ของท่านพ่อลี
ก็ได้ปฏิบัติตามบัญชามาโดยตลอด
และคณะทายกทายิกาได้ทำบุญอุทิศถึงด้วยความเคารพ
จุดธูปเทียนบูชาด้วยความศรัทธาเลื่อมใส
ต่อมาระยะหนึ่ง บรรดาศิษยานุศิษย์ผู้ใหญ่ทางฆราวาส
ปรารภจะทำฌาปนกิจศพของท่านพ่อลีด้วยว่าพระกรรมฐานไม่เก็บศพไว้นาน
และอีกฝ่ายหนึ่งปรารภจะเก็บไว้สักการบูชาให้เป็นที่อบอุ่นอยู่ตลอดไป
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีเสียงขึ้นเป็นสองเสียง
เสียงฝ่ายหนึ่งจะทำฌาปนกิจศพของท่าน
อีกฝ่ายหนึ่งว่าไม่ควรทำ ควรเก็บไว้อย่างนี้
เป็นเหตุให้มีการประชุมใหญ่ของบรรดาศิษยานุศิษย์
ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ลงคะแนนเอาเสียงข้างมาก
ก็ปรากฏว่าเสียงที่ไม่ให้ทำการฌาปนกิจศพเป็นเสียงข้างมาก
เนื่องด้วยชาวจันทบุรีที่เลื่อมใสท่านพ่อลี
พากันแห่มาออกเสียงเป็นจำนวนนับหมื่นคน
สรุปคือไม่ได้ถวายเพลิง จึงได้เก็บศพท่านไว้ตลอดมาจนทุกวันนี้
เป็นที่น่าอัศจรรย์ !! ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้
ดอกไม้บูชาท่านพ่อลีไม่เคยเหี่ยวแห้ง
เพราะมีผู้คนนำดอกไม้มากราบไหว้บูชาท่านไม่เคยขาด
เสียงสวดมนต์ปฏิบัติบูชาจากสานุศิษย์
ตั้งแต่ ๒ ทุ่มถึง ๔ ทุ่มของทุกวัน ดังกึกก้องมาไม่รู้จบ
วันมรณภาพเวียนมาบรรจบประชาชนจะหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย
พระกรรมฐานมารวมกันในคราวจำเป็นในข้อธรรมวินัย ณ วัดอโศการาม
ซึ่งมีพระธุตังคเจดีย์อันยิ่งใหญ่ได้ปรากฏมาจนกระทั่งทุกวันนี้
นี่คือท่านพ่อลี ที่รักเคารพบูชาอย่างหาที่สุดมิได้
สายธารธรรมหลั่งไหลไปไม่มีวันหยุด
สายน้ำแห่งคุณงามความดีของท่านแผ่ซึมซับไปโดยทั่ว
ท่านคือพระผู้รุ่งเรืองด้วยเดช ด้วยยศ
และเป็นพระผู้สละโลกได้อย่างสิ้นเชิง
สมศักดิ์ศรีเป็นพุทธสาวกที่พระพุทธเจ้าได้ทำนายไว้ว่า
ในยุคกึ่งพุทธกาลพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในดินแดนสุวรรณภูมิ
อันเป็นดินแดนสุดท้ายที่ยังมีท่านผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์
นับเป็นบุญของพวกเราชาวไทยจริงๆ ที่ผืนแผ่นดินแห่งนี้มีสิ่งอันเป็นมิ่งมงคล
เรามีทั้งพระพุทธศาสนา มีพระผู้แกร่งกล้า คือ
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล, ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต,
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร และหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ฯลฯ
ตลอดจนมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เกศาธาตุหลวงพ่อลี ธมฺมธโร
ประดิษฐาน ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม
• พระธุตังคเจดีย์ กับ วิหารสุทธิธรรมรังสี •
“พระธุตังคเจดีย์” เจดีย์แห่งพระอรหันต์ ในปัจจุบัน
ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
เป็นเจดีย์หมู่รวม ๑๓ องค์ อันเป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร ๑๓ ประการ
ซึ่งเจดีย์แต่ละองค์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้
“พระธุตังคเจดีย์” เจดีย์แห่งพระอรหันต์ ในปัจจุบัน
ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
เป็นเจดีย์หมู่รวม ๑๓ องค์ อันเป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร ๑๓ ประการ
ซึ่งเจดีย์แต่ละองค์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้
รูปหล่อเหมือนท่านพ่อลี ธมฺมธโร
ประดิษฐาน ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม
พระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาด้วยบุญญานุภาพและแรงอธิษฐาน
ของหลวงพ่อลี ธมฺมธโร ณ วัดบรมนิวาส ราชวิหาร กรุงเทพฯ
“หลวงพ่อลี ธมฺมธโร” เป็นผู้ดำริในการสร้างพระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ เป็นเจดีย์หมู่รวม ๑๓ องค์ อันเป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร ๑๓ ประการ ซึ่งเจดีย์แต่ละองค์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ โดยท่านพ่อลีได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุด้วยการอธิษฐานจิต และได้เสด็จมาถึง ๘๐ องค์ ทุกองค์ล้วนดั่งอัญมณีสวยงามยิ่ง อีกทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบ้ติธรรมกัมมัฏฐานภาวนา ตามที่ท่านพ่อลีได้วางรากฐานไว้ให้เหล่าศิษยานุศิษย์ได้ปฏิบัติสืบๆ กันมาตราบเท่าทุกวันนี้
ท่านพ่อลี พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า เป็นศิษย์องค์ต้นๆ องค์สำคัญองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อุปนิสัยท่านเป็นพระที่มีความเด็ดเดี่ยวอาจหาญ มีจิตตั้งมั่น รักพระธรรมวินัยเป็นชีวิตจิตใจ มีนิสัยชอบธุดงค์ออกป่าลึกเพียงลำพัง เผชิญสัตว์ร้ายและภยันตรายต่างๆ มากมาย หลวงตามหาบัว เล่าว่า ท่านพ่อลีมีกำลังจิตสูงมาก สามารถล่วงรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
ตามประวัติท่านเคยเผชิญช้างตกมันที่ทรงพลังและดุร้ายยิ่ง ซึ่งได้ทำร้ายช้างป่าเชือกหนึ่งถึงตายมาไม่นาน และมาพบท่าน พร้อมที่จะบดขยี้ท่านที่อยู่ตรงหน้า แต่ด้วยกระแสจิตที่เปี่ยมด้วยพลังเมตตาของท่านพ่อลี ช้างกลับลดอาการพยศและหมอบลงต่อหน้า มีกลุ่มชาวบ้านตามมาด้วยความเป็นห่วงท่านพ่อ และได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ความสงบสุขของชาวบ้านป่าในถิ่นนั้น ทั้งสิงสาราสัตว์ต่างๆ จึงกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง (จากตอนหนึ่งในหนังสือธรรมะทะลุโลก)
ก่อนจัดงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ ท่านมีปัจจัยเพียง ๒๐๐ กว่าบาท แต่ด้วยความดีที่ท่านบำเพ็ญ ทำให้มีผู้มาร่วมบุญทั้งแรงกายและกำลังทรัพย์ จนหลังเสร็จงานได้ใช้ปัจจัยไปทั้งหมด ๔ แสนกว่าบาท และยังคงเหลือปัจจัยอีก ๔ แสนกว่าบาท ท่านได้ให้ประชุมกรรมการและตกลงกันว่าจะนำไปสร้างโบสถ์ และพระธุตังคเจดีย์ เงินทุกบาททุกสตางค์ท่านทำอย่างบริสุทธิ์เพื่อถวายพระพุทธศาสนาให้เจริญอย่างแท้จริง
แต่เดิมท่านพ่อลีได้หวังไว้ว่าจะบวชพระ ๘๐ รูป เพื่อฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ แต่ปรากฏว่าในงานจริงมีผู้ขอบวช ๖ ร้อยกว่ารูป ผู้บวชศีล ๘ รวมแล้วนับพันคน
สำหรับรูปหล่อเหมือนของท่านพ่อลี ธมฺมธโร ภายในพระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ โดย “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน” เป็นผู้ดำริให้ร่วมประดิษฐานกับรูปหล่อเหมือนครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ อีก ๒๗ รูป เนื่องจากสรีระศพของท่านพ่อลียังรักษาไว้ ยังไม่ถวายเพลิง โดยอัญเชิญไว้ในโลงทอง ณ วิหารสุทธิธรรมรังสี วัดอโศการาม ดังนั้น จึงยังไม่มีภาพพระธาตุขององค์ท่าน
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร บูชาพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาด้วยบุญญานุภาพ
และแรงอธิษฐานของท่าน ณ วัดบรมนิวาส ราชวิหาร กรุงเทพฯ
พระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ
ที่เสด็จมาด้วยบุญญานุภาพและแรงอธิษฐานของหลวงพ่อลี ธมฺมธโร
ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานใน “พระธุตังคเจดีย์” เจดีย์แห่งพระอรหันต์
วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
“วิหารสุทธิธรรมรังสี” อาคารจตุรมุข ๓ ชั้น
ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ส่วนยอดของวิหารเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ภายในวิหารฯ เป็นที่เก็บสรีระศพของท่านพ่อลี ธมฺมธโร
รูปหล่อเหมือนท่านพ่อลี ธมฺมธโร ณ วิหารสุทธิธรรมรังสี
• ภาพเขียนสีน้ำมันภายใน “วิหารสุทธิธรรมรังสี” •
๒ ภาพล่างสุด...ภาพเขียนสีน้ำมัน-รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ
และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
เสด็จฯ เพื่อทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระธุตังคเจดีย์
วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๙
โดยมี พระเทพโมลี (หลวงปู่สำรอง คุณวุฑฺโฒ)
เจ้าอาวาสวัดอโศการาม (ในขณะนั้น) เฝ้ารับเสด็จฯ
รูปปั้นพระเจ้าอโศกมหาราช ณ วัดอโศการาม
• จากหนังสือไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย •
|