อะไรคือ “ไบเซ็คชวล” (Bisexual) สำหรับบุคคลที่เป็นชาวรักร่วมเพศหรือเกย์และเลสเบี้ยน(Homosexual) จะมีอารมณ์และความรู้สึกต่อบุคคลที่เป็นเพศเดียวกันกับตนเท่านั้น ในขณะที่คนอื่นๆจะเป็นคนที่มีอารมณ์และความรู้สึกต่อบุคคลที่เป็นเพศตรงข้ามกับตน(Heterosexual) แล้วคนที่อยู่นอกเหนือจาก 2 กลุ่มที่กล่าวมาละ ที่ไม่สามารถถูกจัดกลุ่มกับทั้ง 2 ประเภทได้อย่างเต็มตัวเพียงเพราะพวกเขามีประสบการณ์ทั้งทางเพศและทางอารมณ์ต่อบุคคลอื่นทั้งเพศเดียวกับตนและบุคคลเพศตรงข้ามในช่วงชีวิตของเขา ซึ่งคนกลุ่มหลังนี้ถูกเรียกว่า “ไบเซ็คชวล” หรือ “เสือไบ” ในภาษาไทย ถึงกระนั้นบางคนมักยินดีที่จะเรียกตนเองเป็นพวกร่วมได้กับทุกเพศ(Pansexual), พวกที่ไม่ได้รู้สึกกับเพศไหนเป็นพิเศษ(Non-preferential), พวกที่อารมณ์ไหลไปกับใครเพศใดก็ได้(Sexually Fluid) หรือพวกที่เป็นได้ 2 เพศในคนเดียว(Ambisexual/Omni-sexual) จากมาตรวัด Kinsey ที่มีทั้งหมด 7 ระดับเรียงจาก 0 – 6 ที่ใช้อธิบายถึงรสนิยมทางเพศ(Sexual Orientation)ของบุคคล ค.ศ.1948 โดยบุคคลที่นิยมในเพศตรงขามจะอยู่ที่แถบ 0 ของมาตรวัด ขณะที่คนรักร่วมเพศจะอยู่ที่แถบ 6 ของมาตรวัด ส่วนใครก็ตามที่อยู่ในแถบระหว่าง 1 – 5 จะถูกนับว่าเป็นไบเซ็คชวล โดยผู้ที่อยู่ในช่วง 1 – 2 จะเป็นไบกลุ่มที่นิยมเพศตรงข้ามมากกว่า ผู้ที่อยู่ในแถบที่ 3 ตรงกลางจะเป็นไบกลุ่มที่ชอบพอกับคนเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามในระดับที่เท่าๆกัน และผู้ที่อยู่ในแถบ 4 – 5 เป็นไบกลุ่มที่นิยมคนเพศเดียวกันมากกว่า แต่ยังไม่นับว่าเป็นคนรักร่วมเพศ เพราะยังมีความรู้สึกชอบพอกับคนเพศตรงข้ามอยู่ แถบมาตรวัด Kinsey scale(2009) Dr. Fritz Klein จิตแพทย์ นักวิจัย และผู้ริเริ่มรณรงค์ในสิทธิของชาวไบเซ็คชวล ซึ่งได้ก่อตั้งองค์กรณ์สำหรับชาวไบเซ็คชวลเป็ครั้งแรกของโลกในปี ค.ศ.1974 ชื่อ “Bisexual Forum” เขากล่าวว่า มาตรวัดของ Kinsey อธิบายได้ดีมากแต่ก็ยังมีความหมายที่จำกัด เขาทำตาราง Klein Sexual Orientation Grid เพื่อขยายความจากมาตรวัด Kinsey scale อีกชั้นหนึ่งเพื่อแบ่งระหว่างความสนใจทางเพศ(Sexual Attraction)กับพฤติกรรมการร่วมเพศ(Sexual Behavior)ของผู้ถูกสำรวจ โดยแบ่งประเด็นทั้งหมด 7 หัวข้อ A – G ได้แก่ - ความสนใจทางเพศ (Sexual Attraction)
- พฤติกรรมการร่วมเพศ/มีเพศสัมพันธ์ (Sexual Behavior)
- จิตนาการทางเพศ (Sexual Fantasies)
- ความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional Preference)
- การเข้าสังคม (Social Preference)
- สภาวะทางเพศของตนเอง (Self-identification)
- รสนิยมวิถีชีวิตของตนเองเป็นแบบรักร่วมเพศหรือเพศตรงข้าม (Hetero/Gay Lifestyle)
โดยการกรอกข้อมูลในตาราง จะแบ่งการให้คำตอบจาก A – E เป็น 7 ระดับตาม Kinsey Scale โดย 1 คือมีความรู้สึกต่อเพศตรงข้ามเท่านั้น 7 ความรู้สึกต่อเพศเดียวกันเท่านั้น และ 2 – 6 เป็นการเรียงมากน้อยตามลำดับ เพื่อระบุตามพฤติกรรมในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตของผู้ถูกสำรวจ ซึ่งตารางดังกล่าวได้ช่วยระบุลักษณะและรสนิยมของผู้ถูกสำรวจได้ละเอียดและชัดเจนมายิ่งขึ้น จากการสำรวจในปีหลังๆนี้ พบว่าสมัยนี้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะเป็นชาวไบมากขึ้น หรือมีสภาวะเบี่ยงเบนจากเพศกำเนิดของตน ซึ่งคำนิยามที่ระบุถึงการเป็นบุคคลรักต่างเพศ รักร่วมเพศ หรือ ได้ทั้ง 2 เพศ ล้วนเป็นนิยามจากทัศนคติเดิมๆของสังคมที่จำกัดไว้เพียง 2 เพศ คือ ชายกับหญิง โดยเห็นได้ชัดจากคนที่มีการแปลงเพศทั้งจากชายเป็นหญิง หรือ จากหญิงเป็นชาย เนื่องจากพวกเขาไม่พอใจกับเพศสภาพที่ตนกำเนิด ซึ่งถ้าการแบ่งเพศไม่เน้นจำกัดความกับการเป็นชายจริงหญิงแท้ เกย์ หรือไบ เรื่องรสนิยมทางเพศจะระบุเพียงจากเพศของคู่ครองคนปัจจุบันที่คบหาอยู่เท่านั้น ประเภทของไบเซ็คชวล จากข้างต้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มคนที่เป็นไบเซ็คชวลมีลักษณะและสถานะที่หลากหลาย J. R. Little จิตแพทย์และนักวิจัยจึงแบ่งประเภทของคนที่เป็นไบเซ็คชวลได้ 13 กลุ่มตามความชอบพอและพฤติกรรมทางเพศ ได้แก่ 1. ไบเซ็คชวลทางเลือก (Alternating Bisexuals) บุคคลนั้นเคยมีความสัมพันธ์คบกับคนเพศเดียวกันมาก่อน โดยหลังจากความสัมพันธ์นั้นสิ้นสุด(เลิกกัน) อาจเลือกคบคู่คนใหม่เป็นคนเพศตรงข้าม และอาจจะกลับไปคบคนใหม่ที่เป็นเพศเดียวกันได้อีกครั้งในต่อไป
2. ไบเซ็คชวลเพราะสถานการณ์บังคับ(Circumstantial Bisexuals) โดยหลักแล้วจะเป็นผู้ที่ชอบคนต่างเพศ แต่จำเป็น(จำใจ)ที่จะมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกันเพราะ ไม่สามารถหาหรือเข้าถึงคนเพศตรงข้ามได้ เช่น เมื่ออยู่ในคุก ในค่ายทหาร หรือโรงเรียนประจำแบบเพศล้วน 3. ไบเซ็คชวลคบชู้(Concurrent Relationship Bisexuals) จะมีความสัมพันธ์หลักกับคนเพียงเพศเดียวเท่านั้น(กับชายหรือหญิงก็ตาม) แต่ก็แอบมีความสัมพันธ์กับบุคคลเพศที่ต่างจากคู่หลักของตนซ้อนกัน 4. ไบเซ็คชวลเพราะเงื่อนไข(Conditional Bisexuals) กลุ่มนี้จะนับรวมทั้งผู้นิยมต่างเพศและผู้ที่รักร่วมเพศ ซึ่งเลือกที่จะมีความสัมพันธ์กับคนเพศที่ต่างจากความชอบของตนด้วยเหตุผลทางการเงินหรือความก้าวหน้าในอาชีพ เช่น ชายแท้ยอมขายตัวให้เกย์หรือเล่นหนังนู๊ดเกย์เพื่อเงิน หรือหญิงเลสเบี้ยนที่ยอมแต่งงานกับผู้ชายเพื่อให้ได้การยอมรับจากทางบ้านหรือแค่เพื่อต้องการมีบุตร 5. ไบเซ็คชวลตามความรู้สึก(Emotional Bisexuals) มีความรู้สึกชอบพอทั้งทางเพศและทางจิตใจกับทั้งชายและหญิง แต่ตอนจบจะเลือกคบเพียงเพศเดียวเท่านั้น 6. ไบเซ็คชวลควบซ้อน(Integrated Bisexuals) เหมือนข้อ 5 แต่เลือกที่จะคบทั้ง 2 เพศพร้อมๆกัน 7. ไบเซ็คชวลเพราะความสงสัย(Exploratory Bisexuals) ทั้งผู้นิยมต่างเพศและผู้ที่รักร่วมเพศ ที่เลือกมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศที่ต่างจากความชอบของตนเพียงเพราะอยากรู้อยากลอง *แต่ไม่คิดติดใจ และเลือกกลับไปเป็นตามเพศเดิมของตนตามปกติ 8. ไบเซ็คชวลตามความพึงพอใจ(Hedonistic Bisexuals) ทั้งผู้นิยมต่างเพศและผู้ที่รักร่วมเพศ ที่เลือกมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศที่ต่างจากความชอบของตน เพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อความเพิ่งพอใจ 9. ไบเซ็คชวลโดยไม่ได้ตั้งใจ(Recreational Bisexuals) ทั้งผู้นิยมต่างเพศและผู้ที่รักร่วมเพศ ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนเพศที่ต่างจากความชอบของตน เนื่องจากการเมาและขาดสติ 10. ไบเซ็คชวลปลีกแยก(Isolated Bisexuals) ทั้งผู้นิยมต่างเพศและผู้ที่รักร่วมเพศ ที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศที่ต่างจากความชอบของตนเมื่อครั้งในอดีต 11. ไบเซ็คชวลแอบแฝง(Latent Bisexuals) ทั้งผู้นิยมต่างเพศและผู้ที่รักร่วมเพศ ที่มีความรู้สึกกับคนเพศที่ต่างจากความชอบของตน แต่ไม่เคยปฏิบัติ 12. ไบเซ็คชวลเพราะถูกบังคับ(Motivational Bisexuals) ทั้งผู้นิยมต่างเพศและผู้ที่รักร่วมเพศ ที่เลือกมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศที่ต่างจากความชอบของตน เพราะถูกสั่งหรือบังคับ เพื่อสร้างความเพิงพอใจให้กับคู่ครองของตน เช่น ผู้ชายสั่งให้คู่ของตนที่เป็นหญิง ทำกิจกรรมรักกับผู้หญิงด้วยกันให้เขาดูเพื่อกระตุ้นความต้องการของเขาและให้เขาพอใจ 13. ไบเซ็คชวลเฉพาะกาล(Transitional Bisexuals) การเป็นไบเซ็คชวลเพียงช่วงขณะหนึ่งที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนจากชายจริงหญิงแท้ไปเป็นคนรักร่วมเพศ หรือเปลี่ยนกลับกันก็ได้ ซึ่งนับรวมกลุ่มจากข้อ 7 ที่บังเอิญลองแล้วติดใจด้วย *ซึ่งหลายๆคนอาจจะไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นไบเซ็คชวล แต่ถ้านับจากการที่พวกเขามีความรู้สึกดึงดูดกับคนทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม ตามหลักแล้วพวกเขาก็คือไบเซ็คชวล*
แต่กระนั้น ถึงจะมีผุ้คนจำนวนมากที่รู้ตัวว่าตนเป็นไบเซ็คชวล แต่ก็เลือกที่จะปกปิดรสนิยมทางเพศของตนเอาไว้ คนที่เป็นไบจึงระบุและหาตัวได้ยากจากสังคมโดยรวม ต่างจากกลุ่มคนรักร่วมเพศที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่า ทั้งการรวมกลุ่มเพื่อแสดงจุดยืนทางสังคม เรียกร้องสิทธิทางกฎหมายและการเมือง และสิทธิในความเท่าเทียม ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ แต่กลุ่มคนที่เป็นไบดูจะเชื่องช้าและยังไม่กล้าที่จะเปิดเผยตัวจากที่ซ้อนมาแสดงจุดยืน เพื่อรวมกลุ่มเรียกร้อมสิทธิและความเสมอภาคบ้าง ถึงแม้ชาวไบเซ็คชวลจะได้รับการยอมรับในกลุ่ม LGBT(Lesbian/Gay/Bisexual/Transgender) แต่เนื่องจากกรณีที่มีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่มคนรักต่างเพศกับคนรักร่วมเพศในระยะหลังๆ ทำให้กลุ่มคนที่เป็นไบเซ็คชวลเหมือนถูกดีดเขวงออกมาตัวคนเดียว คนที่เป็นไบเซ็คชวลจำนวนมากให้ความเห็นว่าพวกเขารู้สึกแปลกแยกและไม่เป็นที่ยอมรับทั้งจากสังคมของคนรักต่างเพศและสังคมของคนรักร่วมเพศ ไม่สามารถเข้าร่วมกับกลุ่มใดได้จริงๆ ทำให้เกิดความสับสนและรึ้กว่าตนเองแปลกประหลาด ซึ่งงานค้นคว้าจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ชาวไบเซ็คชวลได้รับผลกระทบจากสังคมมากกว่ากลุ่มคนรักร่วมเพศซะอีก เพราะพวกเขาไม่มีแบบอย่างและชุมชนที่ให้การยอมรับพวกเขาได้จริง *ที่แย่คือชาวเกย์จำนวนมากจะมองว่าผู้ชายที่เป็นไบ ก็คือเกย์ แต่ยังไม่กล้ายอมรับ ทำให้กลุ่มคนที่ไม่ชอบและรังเกียจพวกรักร่วมเพศเหมารวมคนที่เป็นไบเข้ากับเกย์ ชายแท้จึงกลัวการตกเป็นเหยื่อของการทำร้ายร่างกายและการข่มขืน รวมถึงหญิงแท้ก็ไม่ยอมรับชายที่เป็นๆบเพราะกลัวโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงบังคับให้เลือกข้าง ว่าจะเลือกชายหรือหญิง ขณะเดียวกันหญิงที่เป็นไบก็ถูกรังเกียจและไม่เป็นที่ยอมรับจากเลสเบี้ยน เพราะเธอยังมีใจและความรู้สึกต่อผู้ชาย หญิงแท้เองก็กลัวการที่จะถูกหญิงไบเปลี่ยนเธอให้ไปชอบเพศเดียวกัน จากการแบ่งขั่วชัดเจนของคนรักต่างเพศกับคนรักร่วมเพศ ทำให้มีกลุ่มแนวคิดที่จะอธิบายชาวไบเซ็คชวลได้ 2 แนวคิด ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มก็ไม่อธิบายความเป็นไบเซ็คชวลได้อย่างแท้จริง อย่างที่ 1 คือทัศนคติดั่งเดิม(Transitional Model)ที่มองว่า ไบเซ็คชวลก็คือคนรักร่วมเพศ ที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนสภาพ อย่างที่ 2 คือ ความไม่สมดุลหรือสภาวะไม่ปกติทางจิต(Pathological Model) มองว่าไบเซ็คชวลคือความไม่มั่นคงทางจิต สับสนและไม่สามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าตนเป็นคนรักต่างเพศหรือรักร่วมเพศ ซึ่งทั้ง 2 แนวคิดตัดสินเพียงจากความสับสนในการตัดสินใจมากกว่าจากรสนิยมทางเพศที่เชื่อถือได้มากกว่า บางคนมองไบเซ็คชวลเป็นกลุ่มที่มาโค้นล้มระบบความเชื่อเดิมๆของทั้งคนรักต่างเพศและคนรักร่วมเพศเพราะการไม่มีขอบเขตชัดเจนของชาวไบ ซึ่งต้องต่อกรกับระบบความเชื่อหลายๆอย่างทั้งเรื่องของโครงสร้างสถาบันครอบครัว การรักเดียวใจเดียว เพศสภาวะ และการมีตัวตนทางสังคม ทำให้ไบเซ็คชวลไม่สามารถที่จะเขากับกลุ่มคนรักต่างเพศหรือคนรักร่วมเพศได้ ชาวไบจึงต้องสร้างขอบเขต และกลุ่มของตนขึ้นมา เพียงสร้างความชัดเจนของตนเองจาก 2 กลุ่มก่อนหน้า นักวิจัยบางคน ได้เปรียบเทียบสถานการณ์ของชาวไบเซ็คชวลเหมือนกับสถานการณ์ของคนที่เป็นลูกครึ่งผสมต่างเชื้อชาติ เนื่องจากไม่สามารถนับรวมกับชนชาติใดชนชาติหนึ่งได้จริงๆ เพราะตนไม่ได้มีเลือดเนื้อแท้ของชนชาตินั้นๆจึงไม่สามารถที่จะได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่จากเพื่อนร่วมชาติทั้ง 2 ชาติได้
ระดับขั้นของคนที่เป็นไบเซ็คชวล 1. สับสนกับรสนิยมทางเพศของตน
คนที่เป็นไบส่วนใหญ่เริ่มจากการรู้สึกสับสนที่ตนมีคสามรู้สึกต่อบุคคลทั้ง 2 เพศ เริ่มสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าตนเองผิดปกติหรือไม่ บางคนยังอยู่ในขั้นนี้จนตลอดชีวิต ปกปิดรสนิยมทางเพศของตนเองจนตายก็มี มีความรู้สึกแปลกแยกและแปลกประหลาด บางคนตัดสินใจเลือกทางเดินที่จะรักต่างเพศหรือรักร่วมเพศอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสร้างความชัดเจนและให้ได้การยอมรับจากสังคม 2 กลุ่มข้างต้น เพราะในช่วงชีวิตของพวกเขาไม่มีแบบอย่างหรือสังคมที่ยอมรับพวกเขาในแบบที่ตนเป็น และสนับสนุนให้ยืนยัดกับสิ่งนั้น นอกจากชาวไบคนนั้นจะมีความมั่นใจในตนเองมากพอ
2. ค้นพบและนิยามของตนเองเป็นไบเซ็คชวล
ชาวไบจำนวนมากเมื่อรับรู้หรือรู้ถึงคำว่า “ไบเซ็คชวล” และนิยามของมัน ทำให้พวกเขารู้สึกมีตัวตนและมีที่ยืนในสังคม และมีคำที่บ่งบอกพวกเขาได้จริงๆ ซึ่งก่อนหน้านั้นชาวไบมักถูกเรียกกล่าวกันต่างๆนานา เช่น พวกสำส่อน(Promiscuous), พวกก่ำกึ่ง(Fence Sitters), พวกจิตวิปริต หรือ ตัวแพร่ AIDs
3. พยายามคงสถานการณ์เป็นไบเซ็คชวล
ขั้นนี้นับเป็นขั้นที่ยากลำบากที่สุดของคนที่เป็นไบ ซึ่งถึงแม้พวกเขาจะรู้สึกยอมรับตนเองกับการเป็นไบเซ็คชวล แต่การอยู่ร่วมกับสังคมในชีวิตจริงที่ชัดเจนของคนรักต่างเพศและคนรักรวมเพศนั้นแสนจะลำบาก ทั้งการถูกรังเกียจจากญาติพี่น้อง หรือถูกปฏิเสธการมีคู่ครอง ซึ่งการที่พวกเขาจะยังคงสถานการณ์เป็นไบอยู่ได้ต้องมีความมั่นใจในตัวเองอย่างมาก และเป็นอิสระจากทั้ง 2 สังคม โดยเห็นได้จากการตั้งชุมชนชาวไบ การมีเพื่อนและคนรักที่เข้าใจและยอมรับในสภาวะของการเป็นไบ และที่สำคัญคือการออกมาประกาศตนว่าเป็นไบเซ็คชวล
*บุคคลที่มีชื่อเสียงที่ออกมายอมรับว่าเป็นไบเซ็คชวล จริงๆนอกจากการเรียกร้องความเท่าทียมของเพศ แต่ยังเพื่อสร้างจุดยืนของชาวไบในสังคม ไม่ได้เพื่อเข้าข้างพวกรักร่วมเพศ
4. พยายามสร้างการยอมรับจากสังคม
สำหรับชาวไบที่ออกมาเปิดเผยและแสดงตัวตนต่อสังคมแล้ว ซึ่งบ่อยครั้งที่จะต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีกเมื่อตนไปเข้ากับสังคมกลุ่มใหม่ หรือมีคนรักใหม่ ซึ่งขั้นนี้มีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างผลลัพธ์ทางการเมือง สร้างแบบอย่างที่ชัดเจนและก่อชุมชนชาวไบขึ้น เพราะชาวไบจำนวนต้องดำรงชีวิตผ่าน 3 ขั้นแรกมาอย่างโดดเดียว ผู้ที่ผ่านมายังขั้นที่ 4 ได้จึงต้องการช่วยเหลือและเอื้อให้ชาวไบด้วยกันให้ผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาตัวเองเป็นระยะเวลานานอย่างโดดเดี่ยว เช่นเดียวกับที่ชาวรักร่วมเพศได้เรียกร้องการมีตัวตนและพยายามสร้างความเสมอภาคในสังคม แปลโดย MisterLaTe ภาพประกอบ
ที่มา: http://www.kathylabriola.com/articles/what-is-bisexuality-who-is-bisexual
|