ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 2735|ตอบกลับ: 3

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
473
พลังน้ำใจ
40883
Zenny
206866
ออนไลน์
36627 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย แห่งนี้   เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดง หุ่นขี้ผึ้ง ที่หล่อจาก ไฟเบอร์กลาส แห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากแรงดลใจของ ผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำโดย อ.ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์  มีความคิดที่จะส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ไว้ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทย อันจะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชนสืบไป




โดยกลุ่มศิลปินไทย เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างหุ่น ตามแบบของมาดามทรูโซ่ ประเทศอังกฤษ เพื่อส่งเสริม เผยแพร่
และอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของไทย  อ.ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์  ผู้ปั้นหุ่น   ได้ค้นพบการนำไฟเบอร์กลาส มารังสรรค์เป็นรูปหุ่นขี้ผึ้ง แทนการใช้ขี้ผึ้ง





เนื่องจากเมืองไทยมีสภาพอาอากศร้อน ขี้ผึ้งละลายได้ง่าย หากใช้ไฟเบอร์กลาส มีความเหมาะสม คงทน และให้ความรุ้สึกนุ่มนวลสวยงามมากกว่า โดยปั้นหุ่นไฟเบอร์กลาสรูปแรก คือ พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ มีลักษณะเหมือนคนจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิว ดวงตา แขน เส้นผม




หลังจากนั้นได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยขึ้น และได้สร้างหุ่นอีกหลายชุด เปิดให้เข้าชมเมื่อ พ.ศ. 2533 ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ทั้ง2 ชั้นจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสเป็นหลายหมวดหมู่   ได้แก่   หุ่น   สนใจในข่าว หุ่นชุดพระอิรยสงฆ์ ซึ่งเป็นรูปเหมือนของพระสงฆ์ชื่อดัง ทั่วประเทศไทย




เดินเข้ามาด้านในพิพิธพันธ์ จะเห็นรูปปั้นหลวงพ่อจากวัดต่างๆ พร้อมเสียงบรรยายประกอบ  เช่น หลวงพ่อเกษม เขมโก
แห่งสุสานไตรลักษ์ จังหวัดลำปาง พระครูภาวนารังสี พระโพธิญาณเถระหรือหลวงปู่ชา สุภทฺโท พระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา พระธรรมญาณมุนี หลวงจีนคณาณัติจีนพรต





สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี   วัดระฆังโฆสิตาราม  กรุงเทพมหานคร
กำเนิดในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๓ ปี ได้เป็น นาคหลวง อุปสมบทที่ วัดตะไกร จ.พิษณุโลก เคยเป็น พระพี่เลี้ยง และครูสอนหนังสือขอม แก่ เจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อคราวทรงผนวชเป็นสามเณร มีสติปัญญาปฏิภาณโวหารฉลาดหลักแหลม และเคร่งครัดในข้อธุดงควัตรทุกประการ ทมรณภาพ เมื่อชนมายุได้ ๘๕ ปี





พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์(หลวงปู่ทวด)  วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี
กิตติศัพท์ของท่านเลื่องลืมในนามของ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ เมืองนครศรีธรรมราช
แต่ได้ธุดงค์จาริกมาจำพรรษาที่ วัดราชานุวาส กรุงศรีอยุธยา ครั้นชราภาพจึงกลับไปจำพรรษาที่ วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ และมรณภาพที่ ไทรบุรี แต่สานุศิษย์ได้จัดญาปนกิจให้ที่ วัดช้างให้ เมืองปัตตานี





หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต (ภูริทัตตเถระ) วัดป่าสุธาวาส จังหวัดสกลนคร  นับเป็น พระบุรพาจารย์ ของคณะกรรมฐานทั่วประเทศ ท่านฝักใฝ่ในการบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรม จนปรากฏเป็นที่เคารพ และศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ




ตรงกันข้ามคือ หุ่นชุดหมากรุกไทย ชายสองคนกำลังเดินหมากรุก ชิงไหวชิงพริบกันอย่างสนุก
ขณะที่อีกคนยืนจับตาดูอยู่ข้างๆ





ห้องถัดมาเป็นท้องพระโรงโอ่โถง กลางห้องมีพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี    ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 – 8      
งดงามอร่ามตา  แต่ละหุ่นปั้นได้เหมือนจริงมากและตกแต่งฉากได้ยิ่งใหญ่   สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสร้าง   พระราชธานีในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ มาจนบัดนี้ เป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี





และตลอดเวลากว่าสองศตวรรษที่ผ่านมา ชาวไทยได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมี  ของ พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทั้ง ๙ พระองค์




ซึ่งทุกพระองค์ทรงปกครองประเทศ และทำนุบำรุงบ้านเมือง ด้วยพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณ ทรงนำชาติไทยผ่านพ้นภยันตราย รักษาเอกราชของชาติไทยให้ประชาราษฎรได้อยู่อย่างสุขสงบมาทุกกาลสมัย ตราบเท่าทุกวันนี้




เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี   พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ได้สร้างสรรค์
“ประติมากรรมชีวิต ”  ชุด “ พระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี ”  จำลองพระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ – ๘  แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี





ห้องถัดมาเป็นห้องจัดแสดงพระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระพี่นางเธอฯ






ซึ่งเป็นหุ่นชุดใหม่ ช่างปั้นได้เหมือนทั้งสองพระองค์ท่านมาก ที่ฝาผนังเขียนเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของทั้งสองพระองค์ท่าน




ถัดมาเป็นห้องแสดงครูเพลง เช่น ครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ก่อตั้งวงดนครีสุนทราภรณ์  ครูไพบูลย์ บุตรขัน
“ราชานักแต่งเพลงลูกทุ่ง” และครูจวงจันทน์ จันทร์คณา  “บรมครูพรานบูรพ์”





ใกล้กันคือหุ่น 3 บุคคลสำคัญของโลก ได้แก่ มหาตมา คานธี บิดาแห่งประชาชาติอินเดีย





ติดกันคือ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล วีรบุรุษของชาวอังกฤษ
ตรงกันข้ามคือ อับราฮีม ลินคอร์น ผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา







ห้องถัดไปจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย การละเล่น การละเล่น เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม การละเล่นทำให้มนุษย์ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากงานในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นยังเป็น  การเสริมสร้างกำลังกายให้แข็งแรง สนุกสนาน ร่าเริง และยังทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นในหมู่คณะอีกด้ว เช่น แมงมุม จ้ำจี้ รีรีข้าวสาร ขี่ม้าส่งเมือง




การเล่นหัวล้านชนกัน ซึ่งเป็น การละเล่นของผู้ใหญ่ มีมาตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังปรากฏในวรรณคดี
เรื่อง สมุทโฆษคำฉันท์ ได้กล่าวถึงการเล่น หัวล้านชนกัน ไว้ในการเล่นเบิกโรงด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเล่นหัวล้านชนกัน เป็นการละเล่นที่นิยมเล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ





ลักษณะศีรษะล้าน ๗ ชนิด คือ  ทุ่งหมาหลง  ดงช้างข้าม  ง่ามเทโพ  ชะโดตีแปลง  แร้งกระพือปีก  ฉีกหางฟาด  ราชคลึงเครา






หุ่นชุดวรรณคดีไทย เรื่องพระอภัยมณี ประกอบด้วย นางเงือก ผีเสื้อสมุทร สุดสาคร ม้านิลมังกร ชีปะขาว พระอภัยมณี



สุนทรภู่ เป็นกวีเอกของโลก มีชื่อเสียงในด้าน สำนวนกลอน เป็นที่เลื่องลือจนได้รับการยกย่องว่า เป็น บรมครูกลอนแปด และได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็น กวีที่มีจินตนาการกว้างไกล สร้างโครงเรื่องและเนื้อหาของ นิทาน ได้น่าสนใจ ชวนแก่การติดตาม  ลักษณะเด่นทั้งมวลของท่านกวี สุนทรภู่ ถูกถ่ายทอดและรวมอยู่ในวรรณคดีเอกของท่าน คือ นิทานคำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี อย่างครบถ้วน ทั้งเนื้อหาสาระ และ สุนทรียะแห่งอักษร





การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ถ้าไปจากกรุงเทพฯ ขับรถไปตามเส้นทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี  กิโลเมตร 31 ไปกลับรถที่ทางต่างระดับนครชัยศรี    เปิดเข้าชมทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.30 น. วันเสาร์ – อาทิตย์  ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 10 บาท พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักศึกษาในเครื่องแบบ 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 034 332 607 และ 034 332 109
ชีวิตมีขึ้นลง      อีกหน่อยปลงดับสังขาร ความสุขในวันวาน    อีกไม่นานก็จางไป วันก่อนเคยสนุก      วันนี้ทุกข์กลับพลักไส เพื่อนฝูงเคยอำไพ    บัดนี้ไร้แม้คนมอง

มาเฟียนักศึกษา

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
6498
Zenny
7948
ออนไลน์
1389 ชั่วโมง
โพสต์ 2014-7-23 00:41:21 | ดูโพสต์ทั้งหมด

มาเฟียนักศึกษา

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
6498
Zenny
7948
ออนไลน์
1389 ชั่วโมง
โพสต์ 2014-12-6 17:47:35 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ

นายกสโมสร

กระทู้
6242
พลังน้ำใจ
109851
Zenny
311080
ออนไลน์
12669 ชั่วโมง
โพสต์ 2015-2-1 20:16:58 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-11-21 18:06 , Processed in 0.074226 second(s), 27 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้