อหิวาตกโรค...โรคหน้าร้อน อหิวาตกโรค เป็นโรคท้อง ร่วงอย่างแรง ในอดีตพบว่าการระบาดแต่ละครั้งทำให้มีคนตายเป็นร้อยเป็นพัน จึงมีชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่โบราณว่า"โรคห่า" สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย โดยพบการติดเชื้อเฉียบพลันในลำไส้ เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ และบางครั้งมีอาเจียนร่วมกับภาวะขาดน้ำซึ่งพบว่ามีอาการรุนแรงในเด็กทารก สำหรับอาการ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้ เบื่ออาหารและท้องเดิน ซึ่งมักจะคงอยู่หลายวัน โดยกลไกการติดเชื้อจะเริ่มจากการอักเสบของลำไส้เฉียบพลันและตามมาด้วยโลหิตเป็นพิษ หรือการติดเชื้อเฉพาะที่ทำให้เกิดฝี ข้ออักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม ไตและกรวยไตอักเสบ เป็นต้นโดยปกติมักไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ยกเว้นในรายที่เป็นเด็กหรือผู้สูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ โรคนี้ยังก่อให้เกิดการระบาดย่อยๆ ในชุมชน ส่วนการระบาดใหญ่มักพบในโรงพยาบาลภัตตาคาร สถานเลี้ยงเด็ก และสถานสงเคราะห์คนชรา ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจากแหล่งผลิตหรือบางครั้งพบว่ามาจากมือของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะซึ่งสัมผัสอาหาร ส่วนการแพร่โดยตรงจากคนถึงคนก็อาจเกิดขึ้นได้ เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหารที่เป็น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเชื้อ หรือปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นโรค โดยที่อาหารนั้นไม่มีการปรุงให้สุกเช่น ไข่ นมดิบ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเป็ดไก่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว คนอาจได้รับเชื้อจากการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่น เต่าลูกไก่ หรือผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตจากสัตว์ ซึ่งไม่ผ่านการสเตอริไรซ์ การติดเชื้อในสัตว์อาจเกิดจากอาหารสัตว์หรือปุ๋ยซึ่งผลิตจากเนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์ โดยสรุปแล้ว การติดต่อที่สำคัญ คือ การติดต่อโดยผ่านทางการกินและการขับถ่ายจากคนไปสู่คน โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอุจจาระร่วง จำนวนของเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดโรคโดยปกติต้องมากกว่า100-1,000 ตัว โดยทั่วไปแล้วเชื้อสามารถจะเจริญเพิ่มจำนวนในอาหาร โดยเฉพาะนมได้อย่างรวด เร็ว การระบาดของโรคที่พบในโรงพยาบาลมักเริ่มต้นด้วยการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร และตามด้วยการแพร่กระจายเชื้อจากคนไปสู่คนโดยผ่านทางมือหรือภาชนะที่มีเชื้อปนเปื้อน โดยเฉพาะในแผนกเด็กอ่อนและแม่หลัง คลอด นอกจากนี้ การปนเปื้อนของอุจจาระในระบบการจัดจ่ายน้ำโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การระบาดของโรคกระจายอย่างรวดเร็ว วิธีการป้องกัน
1. เน้นการรับประทาน อาหารที่สุก โดยเฉพาะเป็ด ไก่ หมู ไข่ เนื้อ และนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ 2. หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อ ภายหลังการปรุงอาหารสุกแล้ว และควรเก็บถนอมอาหารในตู้เย็นและตรวจสอบว่าอุณหภูมิเย็นเพียงพอ 3. ให้สุขศึกษาแก่ผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสิร์ฟ โดยเน้นการล้างมือก่อนระหว่างและหลังการเตรียมอาหาร การรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล การเก็บอาหารในตู้เย็น การดูแลความสะอาดของห้องครัวและการป้องกันอาหารจากแมลงและหนู 4. ผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วง ควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหารหรือดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เด็ก หรือคนสูงอายุ 5. ให้ความรู้แก่ผู้ที่เป็นพาหะ โดยเน้นการล้างมือหลังการขับถ่าย และก่อนการรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงการปรุงหรือเสิร์ฟอาหาร จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ 6. สำรวจ ป้องกัน และควบคุมการปนเปื้อนเชื้ออหิวาตกโรคในฟาร์มและในสัตว์เลี้ยงซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก 7. ตรวจ แนะนำ และดูแลสุขาภิบาลในโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหาร ร้านขายเนื้อและโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ 8. ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเลี้ยง สัตว์ ควรได้รับการปรุงให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อนหรือด้วยรังสีและต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในภายหลังด้วย |