อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีจึงมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร
[แก้]ประวัติตามตำนานกล่าวไว้ว่ามีพรานป่าผู้หนึ่งได้พยายามล่ากระทิงซึ่งหลบหนีไปยังยอดเขาลูกหนึ่งในตำบลศรีฐาน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอภูกระดึง) ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่เคยมีใครขึ้นมาก่อน เมื่อนายพรานได้ตามกระทิงขึ้นไปบนยอดเขาแห่งนั้น ก็ได้พบว่าพื้นที่บนภูเขาลูกนั้น เต็มไปด้วยพื้นที่ราบกว้างใหญ่สวยงาม เต็มไปด้วยป่าสน พรรณไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด มนุษย์จึงรู้จักภูกระดึงแต่นั้นเป็นต้นมา[3]
ภูกระดึงเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีปรากฏเป็นหลักฐานเมื่อสมุหเทศาภิบาล (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย[3] ในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกาป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้เริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่จึงใด้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยและหยุดไป[3]
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดป่าในท้องที่จังหวัดต่างๆรวม 14 แห่งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้จึงได้เสนอจัดตั้งป่าภูกระดึงให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงในท้องที่ตำบลศรีฐาน กิ่งอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 217,581 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของประเทศ ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติในบริเวณที่กองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์ตั้งเป็นสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในราชการทหารมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ทางกรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนพื้นที่ดินดังกล่าวในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 217,576.25 ไร่[3]
[แก้]ศัพท์มูลวิทยาคำว่า "ภูกระดึง" มาจากคำว่า ภู แปลว่า ภูเขา และ กระดึง แปลว่า กระดิ่ง เป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเลย ด้วยเหตุนี้ ภูกระดึง จึงอาจแปลได้ว่า ระฆังใหญ่ ชื่อนี้มาจากเรื่องเล่าที่ว่าในวันพระชาวบ้านมักได้ยินเสียงกระดิ่งหรือระฆังจากภูเขาลูกนี้เสมอ เล่ากันว่าเป็นระฆังของพระอินทร์ ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือในบริเวณบางส่วนของยอดเขาหากเดินหนักๆหรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆังซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับการตั้วชื่อว่า "ภูกระดึง"[3]
[แก้]ภูมิประเทศ
ระดับความสูงของภูกระดึง
ภูกระดึงเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราชใกล้กับด้านลาดทางทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเล 400-1,200 เมตรส่วนฐานหรือเชิงเขาเริ่มจากจุดต่ำสุดของพื้นที่ที่ระดับความสูง 260 เมตรไปจนถึงระดับความสูง 400 เมตร มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาล้อมรอบตัวภูกระดึง และพื้นที่ที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นมีสภาพลาดชันยกตัวขึ้นเป็นขอบเขาและหน้าผาสูงชัน[4] พื้นที่ราบบนยอดตัดของภูเขามีพื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีลักษณะคล้ายรูใบบอนหรือรูปหัวใจเมื่อมองจากด้านบน มีส่วนปลายใบอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และส่วนเว้าด้านในอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ราบบนเขาประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดที่สูงที่สุดอยู่ที่บริเวณ คอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,316 เมตร[4] สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ และจะค่อยๆลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ กลายเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง[5][6]
ภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุคมีโซโซอิก มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีเป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหิน: หมวดหินภูพานเป็นหินชั้นที่มีอายุน้อยที่สุดอยู่ชั้นบนสุดของโครงสร้างภูกระดึง พบทั่วไปบนหลังแปหรือที่ระดับความสูงตั้งแต่ 990 เมตรขึ้นไป หมวดหินเสาขัวพบตั้งแต่ระดับความสูง 600 เมตรขึ้นไป หมวดหินพระวิหารพบในระดับความสูง 400–600 เมตรและ หมวดหินภูกระดึงเป็นหินชั้นฐานของโครงสร้างภูกระดึง[4]
[แก้]ภูมิอากาศอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีภูมิอากาศบริเวณพื้นราบรอบเชิงเขาเหมือนกับบริเวณอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 26 °C อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ปริมาณหยาดน้ำฟ้า 1,242 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 72%[4]
สภาพอากาศบนยอดภูกระดึง มีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณหยาดน้ำฟ้าบนที่ราบเชิงเขา สาเหตุมาจากอิทธิพลของเมฆและหมอกที่ปกคลุมยอดเขา ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 90% อุณหภูมิเฉลี่ย 19.7 °C[4] ในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 0-10 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 21-24 °C ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 12-19 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 23-30 °C อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอกลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี[7]
[แก้]นิเวศน์วิทยา[แก้]สัตว์ป่าภูกระดึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ จากการสำรวจพบสัตว์บกมีกระดูกสันหลังรวม 266 ชนิด[4] แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 36 ชนิด[4]เช่น เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่างกระรอก กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน และ อีเห็น เป็นต้น ในจำนวนนี้เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คือ เลียงผา ช้างป่า เสือดาวและเสือโคร่ง สัตว์ปีกจำนวน 171 ชนิด[4]เช่น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย และ นกขมิ้นดงเป็นต้น สัตว์เลื้อยคลาน 39 ชนิด[4]เช่น ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเง่า และงูเขียวหางไหม้เป็นต้น มี 1 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ คือ เต่าเดือย นอกจากนี้ยังพบเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาวอาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว[3] และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวนมาก เช่น อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ และ ปาดแคระเป็นต้น
สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้บ่อยเมื่อขึ้นไปถึงยอดภูคือกวาง เนื่องจากมีกลุ่มกวางจำนวนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯได้เลี้ยงเอาไว้ ทำให้กวางกลุ่มนี้ไม่วิ่งหนีเมื่อพบเห็นคน กวางตัวแรกที่เจ้าหน้าที่ได้เลี้ยงเอาไว้ชื่อ คำหล้า เป็นกวางตัวเมีย ตัวที่สองเป็นตัวผู้ชื่อ คัมภีร์[8] นอกจากนี้ยังมีหมูป่าซึ่งเคยพบตัวในบริเวณป่าปิด แต่ปัจจุบันมีกระจายอยู่ทั่วไปแม้ในส่วนลานกางเต็นท์เมื่อยามมีนักท่องเที่ยวไม่มาก และสุนัขป่า เดิมจะอยู่ในส่วนป่าสนด้านบน หากินกันเป็นฝูงใหญ่ แต่ปัจจุบันเข้ามาหากินใกล้บริเวณที่ทำการมากขึ้นสามารถพบเห็นได้บริเวณร้านค้าที่ทำการด้วย
[แก้]พรรณพืช
ภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่งในประเทศไทย มีสังคมพืชหลากหลายสามารถแบ่งได้ตามความแตกต่างของความสูง ภูมิอากาศ สภาพดิน-หิน และชีวปัจจัย จากที่ราบเชิงเขาถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตรจะเป็นป่าเต็งรังคิดเป็น 8% ของพื้นที่[4] มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่นแทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก นอกจากนี้จากพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภู จนถึงระดับความสูง 950 เมตรจะเป็นป่าเบญจพรรณหรือป่าผลัดใบผสมคิดเป็น 67 % ของพื้นที่[4] มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญเช่น แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้า ไผ่ ไม้พุ่ม ไม้เถา พืชล้มลุก และ พืชกาฝากและอิงอาศัย
ป่าดิบแล้งพบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูง 950 เมตรคิดเป็น 5 % ของพื้นที่[4] มีพันธุ์ไม้สำคัญ เช่น ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม เป็นต้น พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา และ พืชล้มลุก เมื่อสูงจากระดับ 1,000 เมตรขึ้นไปจะเป็นป่าดิบเขาพบในทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่มและไม้เถา ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูง เช่น ค้อดอย
ที่ความสูงเกิน 1,000 เมตรขึ้นไปจะเป็น ป่าดิบเขาพบเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไปคิดเป็น 9% ของพื้นที่อุทยาน ป่าละเมาะเขาจัดอยู่ในประเภทป่าไม่ผลัดใบ พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงระหว่าง 1,200–1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 %[4]
ป่าสนเขาจะพบเฉพาะบนที่ราบยอดภูที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรคิดเป็น 10 % ของพื้นที่[4] มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคนประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง เป็นกอหนาแน่น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะพบมอสส์จำพวกข้าวตอกฤๅษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ[7]
นอกจากนี้ยังมีพรรณพืชที่สำคัญซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียวของภูกระดึงจำนวน 11 ชนิด เช่น ข้าวก่ำผา หญ้าระรื่น และ ซ้อ เป็นต้น[4]
[แก้]พรรณไม้ที่มีชื่อเสียง
ก่วมแดง พืชสกุลเมเปิลที่พบบริเวณน้ำตก บนภูกระดึง
- ก่วมแดง หรือ ไฟเดือนห้า[9] พืชในสกุลก่วมหรือเมเปิลเป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของภูกระดึง จะแดงสดในฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคม
- หม้อข้าวหม้อแกงลิงพบได้เป็นดงในบริเวณใกล้ผานาน้อยจนถึงผาแดง
- ดอกกระเจียว ทุ่งดอกกระเจียวพบได้ในบริเวณใกล้ผาเหยียบเมฆจนถึงผาแดง โดยปกติดอกกระเจียวจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายน แต่ในเดือนพฤษภาคมก็จะยังพบดอกกระเจียวบานอยู่ แม้ว่าอาจจะถูกแมลงและสัตว์ต่างๆ กัดกินดอกและใบของมันไปบ้างก็ตาม
[แก้]การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติภูกระดึงอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมีสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 เป็นผู้ประสานงาน มีหน่วยงานในพื้นที่ได้แก่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.1 (วังกวาง) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.2 (อีเลิศ) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.3 (นาน้อย) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.4 (พองหนีบ) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.5 (หนองผักบุ้ง) และ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.6 (ภูขี้ไก่)[6]
การบริหารจัดการพื้นที่ของอุทยานจากแผนแม่บทการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจัดทำโดยศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2534 ได้มีการจัดแบ่งเขตการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึงออกเป็นเขตต่างๆ โดยอาศัยสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นเกณฑ์ดังนี้[4]
- เขตบริการ เป็นบริเวณที่มีการพัฒนาสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในเขตนี้ประกอบด้วย ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐานและศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง
- เขตท่องเที่ยวและนันทนาการ เป็นบริการที่ให้นักท่องเที่ยวได้ประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ก่อให้เกิดการทำลายหรือความเสียหายต่อธรรมชาติ ได้แก่ บริการจุดท่องเที่ยวที่กำหนดไว้ให้ตามทางเดินเท้าบนที่ราบภูกระดึงและทางเดินเท้าขึ้น-ลงภูกระดึง
- เขตการใช้พื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรคมนาคมของกองทัพอากาศ
- เขตหวงห้าม เขตนี้กำหนดขึ้นเพื่อครอบคลุมบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีคุณค่ายิ่งในทางวิทยาศาสตร์ เหมาะแก่การอนุรักษ์เพื่อการค้นคว้าวิจัย ได้แก่ พื้นที่ราบยอดภูกระดึงทางด้านทิศเหนือครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ของที่ราบยอดภูกระดึง
- เขตป่าเปลี่ยว เป็นบริเวณพื้นที่ที่ยังคงลักษณะความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมอยู่อย่างมาก ได้แก่ บริเวณที่ราบยอดภูกระดึงและพื้นที่ไหล่เขา เชิงเขา และที่ราบอื่นๆโดยรอบภูกระดึง
[แก้]การอนุรักษ์ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอันมีลักษณะเด่นเฉพาะเป็นพิเศษ แต่ถึงแม้ว่าภูกระดึงจะมีสถานะเป็นอุทยานแห่งชาติแต่ก็ยังประสบปัญหาการลักลอบล่าสัตว์และเก็บหาของป่า และปัญหาไฟป่าซึ่งเกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้ภูกระดึงยังประสบปัญหาด้านการบริหารและจัดการ ไม่ว่าจะเป็น ไม่มีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ขาดทรัพยากรที่จำเป็นในการบริหารจัดการ ทั้งงบประมาณ กำลังเจ้าหน้าที่และมาตรการ และยังรวมถึงปัญหาด้านจิตสำนึกของนักท่องเที่ยว
ในปี พ.ศ. 2551 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ทำการศึกษาและประเมินความสามารถในการรองรับได้ของอุทยานแห่งชาติ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการท่องเที่ยว จึงได้กำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติจำนวน 10 แห่ง อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเป็นหนึ่งในสิบแห่งนั้น[10][11] ซึ่งมีการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึงวันละ 5,000 คน[12] และภูกระดึงได้มีการปิดฤดูการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาในเดือนมิถุนายน-กันยายนของทุกปี เพื่อให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว[6]
เนื่องจากปัญหาขยะจำนวนมากที่เกิดจากนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูกระดึงจึงมีโครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง[13] โดยเก็บขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ตามธรรมชาติบนยอดเขานำลงมาทิ้งที่เชิงเขาไม่ต่ำกว่าคนละ 1 กิโลกรัม อุทยานจะมอบใบประกาศเกียรติคุณให้เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้เสียสละและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติและสังคม นอกจากนี้นักท่องเที่ยวที่นำบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้หรือต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานมา ต้องมัดจำบรรจุภัณฑ์ต่างๆตามที่ทางอุทยานกำหนดไว้ แล้ววันลงเขาให้นำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวที่เป็นขยะมารับเงินมัดจำนั้นคืนพร้อมทั้งทางอุทยานจะออกใบประกาศเกียรติคุณเช่นกัน[14]
โครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงซึ่งได้เงียบหายไปหลายปีเนื่องจากการคัดค้านจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะนักอนุรักษ์ ปัจจุบันได้รับการผลักดันโครงการอีกครั้งทั้งที่ผลสำรวจนักท่องเที่ยวเกือบ 70% นั้นไม่เห็นด้วย คาดว่าแนวเส้นทางการก่อสร้างกระเช้คือจุดเริ่มต้นจากบริเวณที่ทำการอุทยาน ต.ศรีฐาน ถึงบริเวณหลังแป[15][16] โครงการนี้คาดกันว่าจะสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยว ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวหลากหลายขึ้น
[แก้]สันทนาการดูบทความหลักที่ กิจกรรมการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทยเนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีจึงมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก เฉพาะบนยอดเขาภูกระดึงมีการปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-30 กันยายนของทุกปี และเปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม-31 พฤษภาคมของทุกปี[6]
[แก้]เส้นทางขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึง[url=http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8Cath_to_mountain_top_of_Phu_Kradueng.jpg][/url][url=http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8Cath_to_mountain_top_of_Phu_Kradueng.jpg][/url]
เส้นทางขึ้นที่อำเภอภูกระดึง
- เส้นทางขึ้นที่อำเภอภูกระดึง: เป็นเส้นทางเก่าแก่และได้รับความนิยมมากที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเขาในเส้นทางนี้ได้ที่อำเภอภูกระดึง ณ ที่ทำการอุทยาน ในเส้นทางขึ้นจะมีบริเวณที่พักและร้านอาหารหลายช่วง มีระยะทาง 5.5 กม.จากที่ทำการถึงหลังแป และจากหลังแปถึงที่พักประมาณ 3.6 กม.
- เส้นทางขึ้นที่อำเภอน้ำหนาว: นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึงได้ที่บ้านฟองใต้อำเภอน้ำหนาว ซึ่งเป็นเส้นทางขึ้นเขาเส้นทางใหม่ โดยจะขึ้นไปที่ผาหล่มสักโดยตรง มีระยะมีระยะทาง 5.2 กิโลเมตรจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลย.5 (หนองผักบุ้ง) ถึงผาหล่มสัก[17]
[แก้]เส้นทางท่องเที่ยวบนยอดเขาภูกระดึงเส้นทางท่องเที่ยวบนยอดเขาภูกระดึงแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือบริเวณท่องเที่ยวปกติ และบริเวณป่าปิด โดยบริเวณแหล่งท่องเที่ยวปกติก็จะแบ่งได้เป็นสองเส้นทางคือ เส้นทางน้ำตก และ เส้นทางเลียบผา ส่วนบริเวณป่าปิดก็จะแบ่งได้เป็น เส้นทางน้ำตกขุนพอง และ เส้นทางผาส่องโลก[7]
เส้นทางน้ำตกจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ น้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ น้ำตกโผนพบ น้ำตกเพ็ญพบ น้ำตกถ้ำใหญ่ สระแก้ว น้ำตกถ้ำสอใต้ สระอโนดาด น้ำตกธารสวรรค์ และ พระพุทธเมตตา เส้นทางเลียบผาจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ พระแก้ว ผานกแอ่น ผาหมากดูก ผาจำศีล ผานาน้อย ผาเหยียบเมฆ ผาแดง และผาหล่มสัก เส้นทางน้ำตกขุนพองจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่น้ำตกขุนพอง และเส้นทางผาส่องโลกจะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ น้ำตกผาฟ้าผ่า โหล่มฟ้าโลมดิน ผาส่องโลก โหล่นเจดีย์ โหล่นถ้ำพระ และ แง่งทิดหา[7]
จุดดูพระอาทิตย์ขึ้นสามารถดูได้ที่ผานกแอ่นเพียงที่เดียวมีระยะทางห่างที่พักเพียง 2 กม. สำหรับจุดดูพระอาทิตย์ตกสามารถชมได้ที่ผาหมากดูกซึ่งใกล้ที่สุดห่างจากที่พักเพียง 2 กม. และผาหล่มสักซึ่งเป็นจุดที่นิยมมากที่สุด
[แก้]การเดินทาง[url=http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8Cah_nok_kao.JPG][/url][url=http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8Cah_nok_kao.JPG][/url]
ผานกเค้า สถานที่แวะพักผ่อนที่สำคัญก่อนถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
[แก้]รถยนต์[6][แก้]รถทัวร์[แก้]ภูกระดึงในเชิงวัฒนธรรมจากทิวทัศน์ที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงทำให้มีผู้แต่งกลอนและบทเพลงบอกเล่าถึงความสวยงามของที่แห่งนี้ เพลงที่กล่าวถึงภูกระดึงมากที่สุดคือเพลง "ภูกระดึง" ของวงสุนทราภรณ์ แต่งทำนองโดยเอื้อ สุนทรสนาน และคำร้องโดยแก้ว อัจฉริยะกุล[18]
นอกจากนี้ภูกระดึงยังถูกใช้เป็นฉากหลังในภาพยนตร์หลายเรื่อง อย่างภาพยนตร์เรื่อง "ความรักครั้งสุดท้าย" ที่กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล[19] ภาพยนตร์สั้น "พิชิต"(ภูกระดึง) จากรางวัลหนังสั้นตามรอยสมเด็จย่า[20] และภาพยนตร์เรื่อง "ภูกระดึง" นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี และ อรัญญา นามวงศ์กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ[21]