ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 3364|ตอบกลับ: 2

มาทำความรู้จักยูงกันเถอะ

[คัดลอกลิงก์]

มาทำความรู้จักยูงกันเถอะ

[คัดลอกลิงก์]

นายกองค์การนักศึกษา

กระทู้
473
พลังน้ำใจ
40888
Zenny
206871
ออนไลน์
36627 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

moo2010

นายกองค์การนักศึกษา

กระทู้
473
พลังน้ำใจ
40888
Zenny
206871
ออนไลน์
36627 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

2013-5-23 21:42:13 | ดูโพสต์ทั้งหมด |โหมดอ่าน
           นกยูง เป็นนกตระกูลไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีอยู่ด้วยกัน 2 สกุล ในโลก คือ สกุลของนกยูงทางทวีปแอฟริกา ได้แก่ นกยูงคองโก และ สกุลของนกยูง ทางทวีปเอเซีย ที่ยังแบ่งเป็น 2 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน กับ นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว ซึ่งนักวิชาการบางท่าน ก็ไม่ถือว่านกยูงคองโกเป็นนกยูง เพราะลักษณะภายนอก และพฤติกรรมต่างๆ แตกต่างจากนกยูงอินเดีย และนกยูงไทย
สายพันธุ์ของนกยูง

         สำหรับนกยูงสีเขียว ยังแบ่งกระจายออกอีกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์พม่า สายพันธุ์ชวา และ สายพันธุ์อินโดจีน ซึ่งสองสายพันธุ์หลังนี้ มีพบกระจาย พันธุ์ในประเทศไทย โดยสายพันธุ์ชวาพบอยู่ทางใต้ ส่วนสายพันธุ์อินโดจีน พบได้ทั่วไปในอาณาบริเวณที่อยู่เหนือคอคอดกระ สมัยก่อนตามริมลำน้ำสายใหญ่ ใกล้แนวป่า เช่น แถบลำ[[น้ำปิง ลำน้ำพอง ลำน้ำตาปี ลำน้ำแควใหญ่ และแควน้อย มักพบเห็น นกยูงได้ทั่วไป


         ทว่าปัจจุบันนกยูงเหล่านี้ไม่มีผู้ใดได้พบเห็น หรือได้ยินเสียงร้องของมันอีกเลย เพราะอิทธิพลความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาของมนุษย์ ซึ่งปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามริมลำน้ำ ให้กลายเป็น ชุมชน บ้านเรือน หรือพื้นที่เกษตรกรรม เป็นผลให้นกยูง สูญเสียถิ่นอาศัย และ นกยูงชนิดนี้ก็ไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างนกยูงอินเดีย ประกอบกับยังถูกล่าเพื่อเอาขน และ ดักจับลูกนก มาขายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนนกยูงสีเขียว ที่เคยมีอยู่ทั่วทุกภาค ของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และหมดไปจากพื้นที่หลายแห่ง ไม่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่ประสบปัญหาอันน่าเป็นห่วงนี้ ในประเทศข้างเคียง ยกเว้นประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว ก็ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน กระทั่งในรายงานของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ และทรัพยากร ( IUCN ) ได้จัดให้เป็น สัตว์ที่กำลังถูก คุกคาม และ อาจหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้
ข้อมูลจำเพาะของนกยูง

         นกยูงทั่วโลก มีอยู่ 2 สกุล คือ สกุลของนกยูงทางทวีปเอเซีย ( Pavo ) และ สกุลของนกยูงทางทวีป แอฟริกา (Afropavo ) สกุล Pavo แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ นกยูงอินเดีย ( Indian peafowl หรือ Blue Peafowl ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavo cristatus และ อีกชนิดหนึ่งคือ นกยูงไทย ( Green Peafowl ) สำหรับนกยูงคองโกนั้น นักปักษีวิทยาหลายท่านยังไม่เห็นด้วย ที่จะจัดให้เป็นนกยูงชนิดหนึ่ง
         โดยเฉพาะคุณสุวัฒน์ สิงหพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และฝ่ายเพาะเลี้ยง กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ซึ่งเคยไปเห็นนกยูงคองโก ตัวจริง ที่ประเทศอังกฤษ มีความเห็นว่า นกยูงคองโก มีลักษณะคล้ายนกยูงเท่านั้น แต่พฤติกรรม แตกต่างจาก นกยูงอินเดีย และ นกยูงไทย มาก จึงไม่น่าที่จะจัดให้อยู่ในสกุลนกยูง
ลักษณะทั่วไปของนกยูงไทย

         นกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 120-210 เซนติเมตร ซึ่งรวมหางนกตัวผู้ที่มีความยาวถึง 100 เซนติเมตรด้วย มีขายาวสมส่วนกว่า ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย มีหงอน เป็นเส้นขน สีเขียวเหลือบ ชี้ ตรงอยู่บนหัว ไม่ได้เป็น รูปพัด อย่างนกยูงอินเดีย บนหัวและที่คอเป็นขนสั้นๆ เหลือบเขียวแกมน้ำเงิน , หน้าของนกยูงไทย ทั้งสองข้างมีสีฟ้า ดำ และเหลือง สวยงาม , ขนคอ ขนหน้าอก และ ส่วนบนของหลังเป็นขนที่มีปลายขน ลักษณะ ป้าน กลม , ตรงกลางขน เหลือบ สีน้ำเงินแก่ล้อมรอบด้วยสีเขียว และ สีทองแดง และตรงขอบขนปีก มีขอบสีเหลือบเขียวแกมดำ มองดูคล้ายๆ กับเกล็ดปลา, หลังเป็นขนสีเหลือบเขียวตรงกลางแล้ว กลายเป็นสีทองแดง แกม ดำ ไปทาง รอบๆ ขน


         ส่วนนกยูงเพศผู้จะมีแพนขนปิดหาง( Train )ยาวหลายเส้น ที่ปลายแพนขนปิดหางนี้ มีดอกดวง ที่เรียกว่า "แววมยุรา" ซึ่งตรงกลางดวง เป็นสีน้ำเงินแกมดำ อยู่ในพื้นวงกลม เหลือบเขียว ล้อมรอบด้วย ลาย เป็นวงรูปไข่สีทองแดง เวลานกยูงรำแพน จึงเปรียบเหมือนพัดขนาดใหญ่ ที่มี สีสันงดงาม ผิดกับหางแท้ๆ ( trail ) นั้นมีสีน้ำตาล ไม่สวยงามอะไร
         นกยูงไทยเพศผู้ โตเต็มวัย มีความยาวของร่างกาย 180 - 300 ซม. ปีกยาว 46 -54 ซม. ขนหางยาว 40 - 47.5 ซม. แพนขนปิดหาง ยาว 140 - 160 ซม. และ แข้ง ยาว 16 -17 ซม. นกยูงเพศผู้ และ เพศเมีย มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย คือ เพศเมีย มีขนาดร่างกายเล็กกว่า สีขนโดยทั่วไปไม่สดใส เท่าตัวผู้ และมีเดือยสั้นกว่าเดือยของเพศผู้มาก นอกจากนั้นบริเวณขนต่าง ๆ ของเพศเมียมักมีสีน้ำตาลดำ หรือสี น้ำตาลแดงแทรกเป็นคลื่น จึงมองเห็นเป็นลายคลื่นทั่วทั้งลำตัว
พฤติกรรมโดยทั่วไปของนกยูง

         ปกติ นกยูง จะหากินอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก โดยพบ ตั้งแต่ 2 - 6 ตัว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นตัวเมีย และ นกที่ยังโตไม่เต็มวัย ซึ่งมักติดตามนกตัวเมียอยู่เสมอ อันเนื่องจาก ความสัมพันธ์ในสมัยที่ยังเป็น ลูกนกคอยติดตามแม่ ดังนั้นนกยูงตัวเมียใหญ่ จึงมีบทบาทในการนำ สมาชิก ออกหากิน และ คอยดูแลฝูงให้ปลอดภัย ส่วนนกยูงตัวผู้ที่โตเต็มวัยแล้ว นอกฤดูผสมพันธุ์ มักอยู่ร่วมหากินกับ ฝูงตัวเมียด้วย แต่เมื่อเข้าฤดูผสมพันธุ์ นกยูงตัวผู้จะแยกออกจากฝูง อยู่ตามลำพัง อย่างเด่นชัด
         ในรอบวันหนึ่งๆ นกยูง มีกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ การบินออกจากคอนไม้ลงสู่พื้นป่าเบื้องล่าง เพื่อหากิน และ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เรื่อยๆไปจนเย็น โดยในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน นกยูงจะออกหากินตามหาดทราย ในช่วงหลัง 06.30 น. แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว เวลาหากิน จะเลื่อนไปช้ากว่าเดิม อีก ราวหนึ่งชั่วโมง หรือชั่วโมงครึ่ง เพราะตอนเช้าในฤดูนี้ บริเวณเหนือลำน้ำจะมีหมอกปกคลุมอยู่หนา ไม่สามารถมองเห็นได้ไกล ศัตรูของ นกยูง เช่น เสือ ชะมด อีเห็น อาจแอบซุ่มรออยู่ตรงไหนก็ได้ นกยูง จึงต้องรอให้แดดออกกล้า เผาหมอกให้จางลงเสียก่อน จึงจะลงจากคอนหากิน แต่ก็มีบางครั้ง ที่อาจพบนกยูงบินร่อนลงสู่หาด ขณะที่กำลังมีหมอกหนา อยู่
อาหารของนกยูง

         การหากินของ นกยูง ตามหาดริมลำห้วย มักจะเดินตามกันอย่างช้าๆ สลับกับการหยุดยืนนิ่งเฉย เป็นเวลานานๆ มันจะไม่ใช้เท้าคุ้ยเขี่ย หาอาหารอย่างไก่ป่า แต่จะใช้ปากจิกกิน อาหารที่กินส่วนมากเป็น เมล็ดหญ้า และ ใบอ่อนของพืชล้มลุกหลายชนิด เช่น กก แห้วหมู พง อ้อ ผักโขมใบหนาม กุ่มน้ำ ละว้าตีเมีย โสนดง หงอนไก่ป่า ใบบอน ฯลฯ นอกจากนี้ยังกินแมลงชนิดต่างๆ ตลอดจน กบ เขียดขนาดเล็ก เช่น กบบัว กบสีขาวดำ หรือ หากเจอลูกปลา ที่ติดอยู่ใน แอ่งน้ำ ตื้นๆ นกยูง ก็จะจัดการเช่นกัน เมื่อ นกยูง หากินไปจนสุดหาด จะบินข้ามน้ำไปหากินบนหาดอื่นถัดไป แต่ถ้าเป็นหาดที่อยู่ใกล้ และ น้ำไม่ลึกนัก มันจะเดินท่อง ผ่าน กระแสน้ำไปเลย
         นอกจากจะหากินตามหาด และ ที่ราบริมน้ำแล้ว นกยูง จะสลับเข้าไปหากินตามโป่งใหญ่ๆ ที่มักมีแหล่งน้ำอยู่ด้วย และ ในบริเวณที่โล่งแจ้งกลางป่า โดยเฉพาะป่าโปร่งแถบริมห้วย ที่มีพวกไผ่หนาม ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ ขึ้นปะปน ซึ่งใบและขุยไฝ่ เหล่านี้เป็นอาหารอย่างดีของ นกยูง นอกจากนั้น ไม้เถา และ พืชล้มลุก ที่นกยูงชอบกิน เช่น เกาขี้กา ผักเป็ด ผักคาดหมู มะเขือพวง และ ผลไทร ที่หล่นตามใต้ต้น ก็มีให้เลือกกินอยู่มาก ทั้งหญ้า และไม้พุ่ม ที่ขึ้นกระจัดกระจาย ในบริเวณป่า ยัง เป็นแหล่งกำบังอย่างดี ช่วยอำพราง นกยูง ให้พ้นจากศัตรูธรรมชาติ ดังนั้น นกยูง จึงมักแวะเข้าไปหากิน และ หลบพักผ่อน ตามที่โล่งแจ้ง กลางป่าในเวลากลางวันเป็นเวลานานๆ อย่างไรก็ตาม การใช้พื้นที่หากินของ นกยูง ไม่มีแบบแผนลำดับช่วงเวลาตายตัว ว่าจะเข้าไปหากินในพื้นที่ ประเภทใดก่อน แต่ขึ้นอยู่กับโอกาส และการหลบหลีกศัตรู
นิสัยของนกยูง

         นิสัยอย่างหนึ่ง ที่เป็นภัยต่อตัวนกยูงเอง คือ มักมีปฎิกริยาต่อเสียงดังผิดปกติ เช่น เสียงปืน เสียงไม้หัก ไม้ล้มดัง นกยูงจะส่งเสียงร้อง และ การส่งเสียง ร้องบนกิ่งไม้ที่จับคอนนอน ในเวลาเช้าตรู่ และ ตอนใกล้ค่ำ เป็นการเปิดเผยที่ซ่อน ให้ศัตรูผู้ล่าเห็นตัวได้โดยง่าย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ นกยูงถูกล่า โดย พราน และ ศัตรู โดยธรรมชาติ
สัญชาตญาณระวังภัยของนกยูง

         นกยูง เป็น นกที่ค่อนข้างพิถีพิถัน ในการจัดแต่งขน และ ดูแลความสะอาดอยู่เสมอ มันชอบ ไซ้ขน นอนอาบแดด และ คลุกดินฝุ่น เพื่อให้เห็บ ไร ตามตัวหมดไป โดยระหว่างการหากิน นกยูง อาจหยุดพักไซ้ขนปีกหาง เป็นระยะๆ แต่ทั่วไปแล้ว การไซ้ขน และ การจัดแต่งขนจะทำจริงจัง หลังจากที่หากิน เรียบร้อยแล้ว การจัดแต่ง และ ไซ้ขนบริเวณคอ และ บริเวณรอบๆ หัว ให้แก่กัน เมื่อไซ้ขนเสร็จ ถ้าบริเวณนั้นมีที่โล่ง ซึ่งปลอดภัย และ แดดจัด มันจะพากันนอนอาบแดด โดยกางปีกข้างหนึ่งออก คลุกพื้นดิน เพื่อผึ่งแดดสัก 2 - 3 นาที แล้วจึงสลับข้าง หรือ ไม่บางตัว ก็อาจขยับตัว นอนตะแคงข้าง แล้ว ยกปีกข้างหนึ่งชี้ขึ้นสูง หันบริเวณปีกออกรับแสง แล้วจึงสลับปีก หากอาบแดดแล้ว เห็บ ไร ยังไม่ถูกกำจัด มันก็อาจลงนอนคลุกฝุ่นไปมา แล้วลุกขึ้นสลัดฝุ่นทิ้ง การนอนคลุกฝุ่น ส่วนใหญ่ของ นกยูง มักทำในบริเวณป่า มากกว่า ตามหาดทรายริมลำน้ำ เพราะ มีดินฝุ่นละเอียด และ แห้งกว่า


         นอกจากนี้ยังพบว่า นกยูงทั้งตัวผู้ และ ตัวเมีย มักระวังและรักษาหางเป็นอย่าดี ขณะที่เดินข้ามน้ำ มันจะยกหางขึ้นสูงให้พ้นน้ำ ถ้าเป็น นกยูงตัวผู้ ที่มีแพนขน ปิดหาง ยาวมากๆ ระหว่างเดินบนหาด ก็จะ ยกแพนหาง ให้พ้นจากพื้นเช่นกัน ยกเว้นขณะที่เดินช้าๆ หรือ หยุดยืนจึงปล่อยขนหางให้ลู่ลงกับพื้น นกยูง ยังเป็นสัตว์ ที่มีสัญชาตญาณ ระวังภัยสูง มักหวาดระแวง และ สงสัย กับสิ่งผิดปกติเสมอ ดังนั้น ในการ ปรากฏตัวตามที่โล่ง เช่น ตามหาดทราย บริเวณโป่ง หรือ ที่โล่งแจ้งในป่า หากไม่แน่ใจว่า บริเวณนั้นจะปลอดภัยพอ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปใช้ หรือ อาจบินไปเกาะสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้สูง จนแน่ใจว่าปลอดภัย จึงบินร่อนลงเข้าไป ใช้พื้นที่นั้น แม้แต่ขณะที่หากิน เมื่อก้มลงจิกอาหาร 2 - 3 ครั้ง มันจะยกหัวขึ้นมองรอบๆ ครั้งหนึ่ง ทำอยู่เช่นนี้ สลับกันไป จนแน่ใจ ก็อาจเพิ่มจำนวนครั้ง การจิกกินเป็น 4 - 5 ครั้ง แล้วจึง ยกหัวขึ้นมอง
         ขณะเดียวกันถ้ามีเสียงผิดปกติ เช่น เสียงกิ่งไม้หัก หรือ เสียงร้องเตือน ของสัตว์ป่าอื่นๆ ที่หากินอยู่ใกล้เคียง อาทิ พวกพญากระรอก นกกระแตแต้แว้ด และ นกจาบคาเคราน้ำเงิน ที่จะร้อง ทุกครั้ง เมื่อเห็น คน หรือ เหยี่ยวใหญ่ มันจะหยุดหากิน แล้วมองดูรอบๆ ถ้าเสียงยังคงดังอีก นกยูง จะวิ่งหนีเข้าไปในแนวป่ารกทึบทันที เพราะเป็นที่ หลบ ซ่อนอย่างดี เนื่องจาก ขนของนกยูง สามารถพัฒนา ให้ปรับระดับ ความเข้มของสีได้อย่างรวดเร็ว คือ ถ้าอยู่กลางแดด สีขน จะเด่นใส แวววาว แต่ถ้ามันเดินเข้าในที่ร่ม ขนสีเขียวเหลือบน้ำเงินสดใส จะปรับเป็นสีเขียวน้ำเงินหม่น กลมกลืน ไปกับสีเขียว ของพุ่มใบ ต่างๆ จนสังเกตเห็นได้ยาก แต่ถ้าอันตรายอยู่ในระยะประชิดตัว นกยูง วิ่งหนีไม่ทัน มันจะบินหนีก่อน แล้วค่อยร่อนลงสู่พื้นป่า วิ่งหนี หรือ อาจบินขึ้นเกาะที่สูงก่อน แล้วจึงร่อนลง วิ่งหนี
รูปแบบ และการส่งเสียงร้อง

         การส่งเสียงร้องของนกยูงนั้น จะมีขึ้นตลอดทั้งวัน และ ดังก้องทั่วผืนป่า โดยมันจะเริ่มส่งเสียงร้องตั้งแต่ เช้ามืด ประมาณตี 5 และร้องถี่ขึ้นในช่วงเวลา 06.30 - 07.30 น. ก่อนที่จะบินลงจากคอนหากิน ในเวลากลางวัน และ บ่าย จะได้ยินเสียงร้อง ของ นกยูงอยู่บ้าง แต่จะร้องถี่มาก ขึ้น อีกครั้ง ในช่วงเวลาเย็น ตั้งแต่ 18.00 - 19.00 ส่วนเวลากลางคืน นกยูง จะไม่ส่งเสียงร้อง นอกจากเมื่อตกใจ จะร้อง " โต้ง โฮ้ง " เพียงครั้งเดียว
         เสียงร้องของ นกยูง มีหลายเสียง ซึ่ง จะขึ้นกับลักษณะพฤติกรรมในช่วงนั้นๆ คือ
เสียง " โต้ง โฮ้ง โตังโฮ้ง .... "          เป็นเสียงร้องทั่วไปของนกยูงตัวผู้ ที่ใช้ร้องทั้งวัน อันเป็นการร้อง เพื่อประกาศเขตแดนทั่วๆไป แต่ในระยะผสมพันธุ์ เสียงร้องดังกล่าว จะเพี้ยนต่างไปเล็กน้อย โดยลากเสียงยาวมากขึ้น และ ลงท้ายคล้ายเสียงแมวร้อง ทำให้ได้ยินเป็นเสียง " โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว "
เสียง " ตั๊ก ..ตั๊ก "         สั้นๆ ดังขึ้นเป็นช่วงๆ เป็นเสียงร้องเตือนภัย เมื่อเห็นศัตรู หรือ เกิดความสงสัย
เสียง "กอก กอก กอก ... "         ติดต่อกันเป็นเวลานานเมื่อตกใจ หรือ บางครั้งอาจร้อง " โต้งโฮ้ง " เพียงครั้งเดียว
เสียง " อ้าว อ้าว .." หรือ " อ่า ฮาก... "         เป็นเสียงนกยูงตัวผู้ ขณะรำแพนหาง หรือ ขณะลงกินโป่ง เพื่อเรียกหาตัวเมีย หรือ เชิญชวนให้นกตัวเมีย เข้ามาใกล้ จะได้รำแพนหางออก หรือ บางครั้ง อาจใช้ในเวลา ตื่นตกใจ หนีไปคนละทิศละทาง
เสียง " ก -รอก...ก ก-รอก...ก "         รัวเบาๆ เป็นการเรียกหากัน ให้กลับมารวมฝูง หลังจากตื่นตกใจ หนี ไปคนละทิศละทาง
การเลือกแหล่งที่นอน

         เมื่อถึงเวลาเย็น นกยูง ที่หากินอยู่ตามท้องที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นริมห้วย หรือ ภายในบริเวณป่า ก็จะต้องหาแหล่งนอน ในบริเวณนั้นๆเลย โดยปกติ ช่วงเวลาที่ นกยูง จะบินขึ้นคอนนอน มักอยู่ในช่วง 18.00 - 18.30 น. แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว จะบินขึ้นเร็วกว่าเดิม ประมาณ ครึ่งชั่วโมง นกยูง จะเกาะนอนบนต้นไม้สูงใหญ่ทั่วไป โดยไม่เลือกชนิดของต้นไม้ การบินขึ้นเกาะคอน จะบินขึ้นสู่กิ่งต่ำๆ ก่อน ทีละตัว แล้วค่อยๆ ไต่ไปตามปลายกิ่ง โดยใช้ การบิน หรือ กระโดด ขึ้นไปเกาะกิ่ง ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงตำแหน่งประมาณเหนือกลางต้นเล็กน้อย ก็จะจับคอนนอน นอกจากนี้พบว่า นกยูง ในฝูง จะเกาะ นอน บนต้นไม้เดียวกัน หรือ บางครั้งอาจต่างต้น แต่เป็นกลุ่มของหมู่ไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ๆกัน คอนไม้ใด ที่นกจับนอน หากมีสิ่งรบกวนทำให้มันตกใจ มันจะบิน ออกไป หา แหล่งนอนใหม่ แต่ถ้า มีดแล้ว ก็จะนอนในบริเวณนั้นเลย
พฤติกรรมในฤดูผสมพันธุ์ของนกยูง

         ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ของ นกยูงสีเขียว มีความผันแปร แตกต่างกันไปในประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทย ยังไม่ทราบ ช่วงเวลาที่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกับพม่า ที่ตั้งอยู่ใน ตำแหน่งใกล้เคียงกันแล้ว Smythies คาดว่า ฤดูผสมพันธุ์ จะตกอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง พฤษภาคม แต่สำหรับ นกยูง ในป่าห้วยขาแข้ง พบว่า ฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน อยู่ระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ถึง มีนาคม
ความเป็นอยู่ช่วงผสมพันธุ์         ในช่วงระยะผสมพันธุ์ความเป็นอยู่ของนกยูง จะเปลี่ยนไปจากช่วงเวลาปกติ คือ ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป นกยูงตัวผู้ จะมีแพนขนปิดหาง ( train ) ซึ่งมีลักษณะเป็น ดอกดวง สวยงาม งอก ยาวออกมาเรื่อยๆ และจะยาวสุดประมาณ ต้นเดือนมกราคม บางตัวอาจยาวถึง 150 ซม. เมื่อหางยาวมากขึ้น การร้อง ประกาศ อาณาเขต ก็จะถี่เกือบตลอดทั้งวัน โดยเสียงร้องจะลากยาวขึ้นกว่าเดิม และ เสียงลงท้ายดังคล้ายเสียงแมวร้อง คือ "โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว "
         ขณะเดียวกัน ในระยะนี้ นกยูงตัวผู้ ก็ เริ่มจับจองพื้นที่อยู่อาศัย และ หากินค่อนข้างคงที่ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นบริเวณป่าที่โล่ง และ หาดทรายริมฝั่งน้ำ พื้นที่ดังกล่าว อาจทับ ซ้อน กับนกยูงตัวผู้อื่น ก็ได้ แต่ภายในบริเวณนั้น นกตัวผู้แต่ละตัว จะกำหมดจุดพื้นที่ หวงห้ามของตนไว้ เพื่อ การเกี้ยวพาราสี และ ผสมพันธุ์ ( mating territory ) โดยจะป้องกันไม่ให้นกตัวผู้ อื่น เข้ามาล้ำแดน โดยเด็ดขาด ซึ่งได้แก่ บริเวณหาดทรายริมน้ำนั่นเอง ความเข้มงวด เกี่ยวกับการป้องกันดินแดน จะสูงมากในช่วง 2 - 3 เดือนแรก ของ ฤดูผสมพันธุ์ และ จะค่อยๆลดน้อยลงเรื่อยๆ ไปจนถึงปลายฤดู ผสมพันธุ์ ก็จะหมดไป
การต่อสู้ป้องกันดินแดนของนกยูงตัวผู้         พงษ์ศักดิ์ พลเสนา เคยพบว่า เมื่อนกยูงตัวผู้ตัวหนึ่ง ล้ำเข้าไปใน ดินแดนของอีกตัวหนึ่ง นกยูงเจ้าของ ถิ่น จะส่งเสียงร้องเตือน บางครั้งก็รำแพน ขนหาง ขู่ หากยังไม่ยอมถอยออกไป ก็จะเข้าต่อสู้ โดยนกยูงเจ้าของถิ่น จะเดินเข้าไปหาผู้บุกรุก แล้วเดินสวนไปมา บางครั้งก็จะหยุด ยืนนิ่งเคียงกัน แล้ว เดินต่ออีก จากนั้นก็กระโดด เตะกัน สูงราว 2 - 3 เมตร แล้วค่อยร่อน ลงมา พร้อมกับ เดินสวนกัน และ ตามกันอยู่เกือบ 10 นาที จึงกระโดดเตะกันอีกครั้ง การต่อสู้ ทำอยู่เช่นนี้ จนกว่าจะมีฝ่ายใดยอมแพ้ ถอยออกไปจากพื้นที่ ซึ่งเท่าที่เคยพบ ผู้บุกกรุกจะเป็นฝ่ายแพ้ และ หนีจากไป , ลักษณะ การต่อสู้ของ นกยูง เช่นนี้ ดูไปก็คล้ายๆกับลีลาการแสดง โขน หรือ ลิเก ในฉากการต่อสู้ ที่ต้องมีชั้นเชิง จดจ้อง แล้วต่อย เข้า ปะทะกัน จากนั้น ก็ จะแยก ห่างไป จดจ้อง แล้วเข้าปะทะกัน อีก
การเกี้ยวพาราสี และการผสมพันธุ์         เมื่อฝูงนกยูงตัวเมีย หากินผ่านเข้าไปในดินแดนของตัวผู้ ตัวผู้นั้น ก็จะเข้าไป ร่วม หากินด้วย จากนั้น จะแสดง การรำแพนหาง เพื่อ โอ้อวดตัวเมีย ด้วยการเกร็ง ขนคลุมหาง หรือ แพนหาง ให้ขนานกับพื้น แล้วค่อยๆ ยกขึ้นตั้งฉากกับพื้น พร้อมกับคลี่แพนหาง ออก เป็นรูปพัด ขนาดใหญ่ สีเขียว ที่แต่งแต้มด้วยแววมยุรา สีน้ำเงินเขียวเหลือบฟ้าอมส้ม กระจาย ทั่วทั้งแผ่น , กางปีกทั้งสอง ข้าง ออก พยุงลำตัว ชูคอขึ้นสูงเล็กน้อย แล้วจึงย่างก้าว เดิน หมุนตัวไปรอบๆ ตัวเมีย พลางส่งเสียงร้อง บางครั้งก็สั่นขนหาง ให้เกิดเสียงดังเป็นช่วงๆ แล้วเอี้ยวไปมาเล็กน้อย ทำให้แพนหางเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว
         จากนั้นก็หมุน ตัวกลับ หันแพนหางด้านหลังให้กับพวก นกตัวเมีย การหันส่วนต่างๆ และ สั่นขนหาง นี้ จะทำสลับไปมา อยู่ตลอดเวลา เพื่อเรียกความสนใจ จากตัวเมียมากยิ่งขึ้น การรำแพนหางของนกยูงตัวผู้ จะนาน 5 -10 นาที ไปจนถึงครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจของตัวเมีย หากตัวเมียพร้อมจะผสมพันธุ์ ก็จะเดินเข้าใกล้ตัวผู้ และ จิกขนของตัวผู้ ตามที่ต่างๆ จากนั้นจะเดินไปทางด้านหน้าตัวผู้ พร้อมกับ ย่อตัวลงเพื่อให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ ซึ่ง นกตัวผู้ ก็จะขึ้นขี่ ตัวเมียทันที โดยมันจะใช้จะงอยปาก จิกที่หัวของตัวเมีย เพื่อกันพลัดตก
         ขณะขึ้นผสม แพนหางของนกตัวผู้จะพับลงกับพื้น โดยแพนหาง ยังคงคลี่คลุมพื้น อยู่เล็กน้อย การผสมพันธุ์ใช้เวลาสั้นมากประมาณ 6 -10 วินาที ซึ่งจะได้ยินเสียงหวีดร้อง ขึ้นครั้งหนึ่ง คาดว่าเป็นเสียงร้องของ นกตัวผู้ ที่ทำการผสม หลังจากเสร็จ ภารกิจ นกตัวผู้จะกระโดดลงจากหลังตัวเมีย แล้วรำแพนหางต่อ โดย หันหลังให้กับนกตัวเมียตลอดเวลา รำแพนอยู่สัก 2 - 3 นาที ก็จะพับแพนขนหางปีกลง ในขณะที่ นกตัวเมีย จะลุกขึ้น สะบัดเนื้อตัว ออกเดินหากินในบริเวณนั้นต่อไป
         นอกจากนี้ยังพบว่า ในบางครั้ง นกตัวผู้ สามารถผสมพันธุ์ได้ติดต่อกันถึง 2 ครั้ง โดยเมื่อผสมกับตัวเมียตัวแรก เสร็จ หากตัวเมียอื่นเข้ามาในดินแดน ของตนอีก ตัวผู้จะเริ่มรำแพนหางใหม่ และ ดำเนินกิจกรรมเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเกี้ยวพาราสีของตัวผู้ บางครั้ง ก็ไม่ประสพผล หากตัวเมียไม่ให้ความสนใจ และไม่ยอมให้ผสมพันธุ์ ทั้งนี้อาจเพราะนกตัวเมีย ยังไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ หรือ เพราะลีลารัก ของตัวผู้ยังไม่ถึงระดับ ที่จะกระตุ้นความรู้สึกของตัวเมียได้

การเกี้ยวพาราสี ของนกยูงเมื่อฝูงนกยูงตัวเมีย หากินผ่านเข้าไปในดินแดนของตัวผู้ตัวผู้นั้นก็จะเข้าไปร่วมหากินด้วย จากนั้นจะแสดงการรำแพนหาง เพื่อโอ้อวดตัวเมียด้วยการเกร็ง ขนคลุมหาง หรือแพนหางให้ขนานกับพื้นแล้วค่อยๆยกขึ้นตั้งฉากกับพื้นพร้อมกับคลี่แพนหางออกเป็นรูปพัดขนาดใหญ่สีเขียวที่แต่งแต้มด้วย แววมยุรา* สีน้ำเงินเขียวเหลือบฟ้าอมส้ม กระจาย ทั่วทั้งแผ่น
          นี่แหล่ะครับ...ประโยชน์จาก "อินเตอร์เน็ต" ช่วยตอบสนองความอยากรู้ อยากเห็นได้เป็นอย่างดี
          ดีใจด้วยครับและขอขอบคุณรัฐบาล...สำหรับการส่งเสริม "กศน.ตำบล:ศูนย์การเรียนชุมชนตลอดชีวิต" ให้มีศูนย์อินเตอร์เน็ต...นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไประดับรากหญ้าในชุมชนชนบทที่ห่างไกล...จะได้มีโอกาสเรียนรู้และเปิดหูเปิดตากันบ้าง นับเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันครับ








คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +18 ย่อ เหตุผล
zaniim + 18 ชอบคนโพส

ดูบันทึกคะแนน

ชีวิตมีขึ้นลง      อีกหน่อยปลงดับสังขาร ความสุขในวันวาน    อีกไม่นานก็จางไป วันก่อนเคยสนุก      วันนี้ทุกข์กลับพลักไส เพื่อนฝูงเคยอำไพ    บัดนี้ไร้แม้คนมอง

นายกองค์การนักศึกษา

กระทู้
2
พลังน้ำใจ
12381
Zenny
16853
ออนไลน์
2249 ชั่วโมง
borbas001

นายกองค์การนักศึกษา

กระทู้
2
พลังน้ำใจ
12381
Zenny
16853
ออนไลน์
2249 ชั่วโมง
2013-5-24 02:51:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด

นายกองค์การนักศึกษา

กระทู้
304
พลังน้ำใจ
22935
Zenny
168094
ออนไลน์
2367 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

zaniimMoney Donate Account

นายกองค์การนักศึกษา

กระทู้
304
พลังน้ำใจ
22935
Zenny
168094
ออนไลน์
2367 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

2013-5-24 06:22:54 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับผม

แสดงความคิดเห็น

ยินดีครับหลาน  โพสต์ 2013-5-24 09:29

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +16 Zenny +102 ย่อ เหตุผล
moo2010 + 16 + 102 ชอบคนโพส

ดูบันทึกคะแนน

      
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม |


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-6-2 13:09 , Processed in 0.063704 second(s), 28 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้