Medmayom โพสต์ 2012-5-30 14:02:33

แผ่นดินไทย แผ่นดินแห่ง...ธรรมราชาธิราช


แผ่นดินไทย แผ่นดินแห่ง...ธรรมราชาธิราช

ระหว่างวันที่ ๔ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕รวมระยะเวลา ๘๔ วันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครได้คัดสรรโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยมจำนวน ๘๔ รายการที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม “ธรรมราชา”ที่มีความสำคัญอยู่บนแผ่นดินไทยมายาวนานมาจัดแสดง ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบนิทรรศการ “ธรรมราชาธิราช”
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201205/29/840820d7.jpgพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
คำว่า ธรรม เป็นคำที่ปรากฏมาตั้งแต่ยุคอินเดียโบราณความหมายของคำนี้จึงมีมากมาย แตกต่างกันไปตามยุคสมัยแต่มีความหมายที่เป็นข้อที่ตรงกันอยู่คือ“การปฏิบัติหน้าที่ที่ถูก ที่ควร หรือตามความเป็นจริง”คำว่า ราชาธิราช มีความหมายว่า “ราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าราชาทั้งปวง”ซึ่งคำนี้ และความหมายนี้ ปรากฏในประวัติศาสตร์อารยธรรมโลกตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ไม่ว่าจะเป็นในอินเดีย ในเปอร์เชียหรือแม้แต่ในชาติตะวันตก นักวิชาการก็จะนำไปเทียบกับคำว่า Emperorและมีความหมายครอบคลุมถึงศาสดาห่งศาสนานั้น ๆด้วยเมื่อนำคำว่า ธรรม และ ราชาธิราช มารวมกันเป็นคำว่า ธรรมราชาธิราช ก็พบว่าในหลายศาสนามักกล่าวขานนามของพระราชาผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสดานั้น ๆ................ดังนั้น ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นองค์แห่งธรรม พระองค์จึงเป็น “ธรรมราชา”ในความว่า “พระราชาแห่งธรรม” ซึ่งเป็นสถานะที่เหนือกว่าพระราชาในทางโลก แต่หลังจากปรินิพพานไปแล้วหลายศตวรรษคำว่า ธรรมราชา ได้นำมาเรียกขานนามพระเจ้าอโศกมหาราชพระราชาที่ทรงใช้พุทธธรรมเป็นหลักในการปกครองอาณาจักรเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ตลอดจนเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนที่อยู่ห่างไกล ทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบมาถึงโลกปัจจุบัน.................ในดินแดนที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเช่นประเทศไทยของเรานั้น แนวคิดใน “ระบอบธรรมราชา”เพื่อปกครองบ้านเมืองโดยใช้หลักพุทธธรรมมีมาอย่างต่อนื่องยาวนาน แม้ว่าคตินิยมเรื่อง เทวราชหรือพระราชาเป็นประดุจเทพเจ้าตามแบบของฮินดูจะเป็นที่ยอมรับในบางช่วงของประวัติศาสตร์แต่ความเชื่อตามแบบชาวพุทธเถรวาทในแบบ ธรรมราชายังคงอยู่ในสังคม และเป็นหลักสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาแนวคิดของผู้คนในภูมิภาคนี้ กล่าวคือ เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติตามแนวคิดแบบธรรมราชา พระองค์ต้องปกครองโดยใช้หลักธรรมที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ซึ่งประกอบด้วย -การให้ -การมีคุณธรรมสูง -การสละความสุขเพื่อประโยชน์แก่ราษฎร -ความซื่อตรง -ความสุภาพอ่อนโยน -ความเคร่งครัดมีวินัย -ความปราศจากความโกรธ เกลียดชัง -การไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้ใด -ความอดทน -ความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ.......................พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็น“ธรรมราชาธิราช” ของปวงชนชาวไทยพระองค์ทรงใช้พุทธธรรมในการดูแลพสกนิกรทรงอุทิศพระวรกายทรงงานหนักเพื่อประชาชนทรงใช้ธรรมะในการแกไขปัญหาความเดือดร้อนของประเทศทรงกอปรด้วยคุณธรรมและเสียสละ โดยมิหวังสิ่งใดตอบแทน........................ตัวอย่างศิลปวัตถุที่สะท้อนวัฒนธรรม “ธรรมราชา”
จากหลายภูมิภาค ในดินแดนประเทศไทย
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201205/29/8408a983.jpgแผ่นสลักอักษรโบราณและรูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ข้อความตัวอักษรขอมไทยแบบโบราณถอดความได้ว่า พร่ะปรมราชโองการสันนิษฐานว่าเป็นแผ่นที่สลักขึ้นเพื่อแสดงรูปเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ซึ่งเป็นเครื่องสูง ๕ อย่างสำหรับพระราชา อันได้แก่ ด้านบนคือ อุณหีส หรือเครื่องประดับพระเศียรด้านซ้ายรูปแส้ คือ วาลวิชนี ด้านขวา รูปดาบ คือ ขคคฺ หรือพระขรรค์ด้านล่าง แท่งกลมเรียวยาว คือธารพระกร หรือไม้เท้าด้ายล่างสุด รูปรองเท้า คือ ฉลองพระบาทคำว่า ราชกกุธภัณฑ์ ปรากฏในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพระเจ้าพรหมทัต เมื่อจะเข้าไปคารวะพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นสังกิจจฤาษี ได้ลงจากราชรถและทรงเปลื้องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างอันประกอบด้วย วาลวิชนี อุณหีส ขคคฺ เศวตฉัตร ฉลองพระบาทสังเกตุว่ามีแตกต่างกันจาก ในภาพสลัก ๑ อย่างคือธารพระกร เพราะลักษณะแท่งกลมตามภาพไม่น่าจะหมายถึงเศวตฉัตร ธารพระกรนับเป็นหนึ่งในราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง ในสมัยหลัง
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201205/29/8408c2ba.jpgกลองวินิจฉัยเภรีใช้สำหรับตีส่งสัญญาณในการร้องทุกข์ของราษฎรสะท้อนให้เห็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกระบวนการตัดสินคดีความเพื่อความเป็นธรรมแก่ปวงประชาราษฎร
โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้มีจำนวนถึง ๘๔ รายการทุกท่านสามารถชื่นชมกับสมบัติของชาติได้ทุกวัน(ยกเว้นวันจันทร์-อังคาร)สำหรับวันอาทิตย์จะมีอาสาสมัครนำชม ให้คำแนะนำโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๕เวลา ๑๓:๓๐ – ๑๕:๓๐ จะมีบรรยายพิเศษเรื่อง “รอยพระพุทธบาท คติจักรพรรดิราชธรรมราชา”สอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่ฝ่ายวิชาการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร๐๒-๒๒๔-๑๓๓๓
นิทรรศการเรื่อง “ธรรมราชาธิราช”ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากทุกท่านจะได้ชื่นชมศิลปวัตถุอันเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดินแล้วป้ารุเชื่อว่าท่านจะได้ภาคภูมิใจที่ได้เกิดบนแผ่นดินไทยแผ่นดินที่อบอุ่นด้วยพระหัตถ์แห่งธรรมราชาธิราช“พระราชาผู้ทรงธรรมยิ่งกว่าราชาทั้งปวง”
ป้ารุ...รายงาน
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: แผ่นดินไทย แผ่นดินแห่ง...ธรรมราชาธิราช