ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 985|ตอบกลับ: 0

แผ่นดินไทย แผ่นดินแห่ง...ธรรมราชาธิราช

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

อยากมีเพื่อนคุยกินเที่ยวกัน

กระทู้
594
พลังน้ำใจ
30581
Zenny
218335
ออนไลน์
3227 ชั่วโมง

สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ




ระหว่างวันที่ ๔ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕
รวมระยะเวลา ๘๔ วัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ได้คัดสรรโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยมจำนวน ๘๔ รายการ
ที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม “ธรรมราชา”
ที่มีความสำคัญอยู่บนแผ่นดินไทยมายาวนาน
มาจัดแสดง ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ
นิทรรศการ “ธรรมราชาธิราช”

พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

คำว่า ธรรม เป็นคำที่ปรากฏมาตั้งแต่ยุคอินเดียโบราณ
ความหมายของคำนี้จึงมีมากมาย แตกต่างกันไปตามยุคสมัย
แต่มีความหมายที่เป็นข้อที่ตรงกันอยู่คือ
“การปฏิบัติหน้าที่ที่ถูก ที่ควร หรือตามความเป็นจริง”
คำว่า ราชาธิราช มีความหมายว่า
“ราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าราชาทั้งปวง”
ซึ่งคำนี้ และความหมายนี้ ปรากฏในประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก
ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ไม่ว่าจะเป็นในอินเดีย ในเปอร์เชีย
หรือแม้แต่ในชาติตะวันตก นักวิชาการก็จะนำไปเทียบกับคำว่า Emperor
และมีความหมายครอบคลุมถึงศาสดาห่งศาสนานั้น ๆด้วย
เมื่อนำคำว่า ธรรม และ ราชาธิราช มารวมกัน
เป็นคำว่า ธรรมราชาธิราช ก็พบว่า
ในหลายศาสนามักกล่าวขานนามของพระราชา
ผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสดานั้น ๆ
................
ดังนั้น ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นองค์แห่งธรรม พระองค์จึงเป็น “ธรรมราชา”
ในความว่า “พระราชาแห่งธรรม” ซึ่งเป็นสถานะที่เหนือกว่า
พระราชาในทางโลก แต่หลังจากปรินิพพานไปแล้วหลายศตวรรษ
คำว่า ธรรมราชา ได้นำมาเรียกขานนามพระเจ้าอโศกมหาราช
พระราชาที่ทรงใช้พุทธธรรมเป็นหลักในการปกครองอาณาจักร
เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ตลอดจนเผยแผ่พุทธศาสนา
ไปในดินแดนที่อยู่ห่างไกล ทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบมา
ถึงโลกปัจจุบัน
.................
ในดินแดนที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
เช่นประเทศไทยของเรานั้น แนวคิดใน “ระบอบธรรมราชา”
เพื่อปกครองบ้านเมืองโดยใช้หลักพุทธธรรม
มีมาอย่างต่อนื่องยาวนาน แม้ว่าคตินิยมเรื่อง เทวราช
หรือพระราชาเป็นประดุจเทพเจ้าตามแบบของฮินดู
จะเป็นที่ยอมรับในบางช่วงของประวัติศาสตร์
แต่ความเชื่อตามแบบชาวพุทธเถรวาทในแบบ ธรรมราชา
ยังคงอยู่ในสังคม และเป็นหลักสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนา
แนวคิดของผู้คนในภูมิภาคนี้ กล่าวคือ เมื่อพระมหากษัตริย์
ทรงปฏิบัติตามแนวคิดแบบธรรมราชา พระองค์ต้องปกครอง
โดยใช้หลักธรรมที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ซึ่งประกอบด้วย
-การให้
-การมีคุณธรรมสูง
-การสละความสุขเพื่อประโยชน์แก่ราษฎร
-ความซื่อตรง
-ความสุภาพอ่อนโยน
-ความเคร่งครัดมีวินัย
-ความปราศจากความโกรธ เกลียดชัง
-การไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้ใด
-ความอดทน
-ความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ
.......................
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็น
“ธรรมราชาธิราช” ของปวงชนชาวไทย
พระองค์ทรงใช้พุทธธรรมในการดูแลพสกนิกร
ทรงอุทิศพระวรกายทรงงานหนักเพื่อประชาชน
ทรงใช้ธรรมะในการแกไขปัญหาความเดือดร้อนของประเทศ
ทรงกอปรด้วยคุณธรรมและเสียสละ โดยมิหวังสิ่งใดตอบแทน
........................
ตัวอย่างศิลปวัตถุที่สะท้อนวัฒนธรรม “ธรรมราชา”
จากหลายภูมิภาค ในดินแดนประเทศไทย

แผ่นสลักอักษรโบราณและรูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์
ข้อความตัวอักษรขอมไทยแบบโบราณ
ถอดความได้ว่า พร่ะปรมราชโองการ
สันนิษฐานว่าเป็นแผ่นที่สลักขึ้นเพื่อแสดงรูปเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
ซึ่งเป็นเครื่องสูง ๕ อย่างสำหรับพระราชา
อันได้แก่
ด้านบนคือ อุณหีส หรือเครื่องประดับพระเศียร
ด้านซ้ายรูปแส้ คือ วาลวิชนี
ด้านขวา รูปดาบ คือ ขคคฺ หรือพระขรรค์
ด้านล่าง แท่งกลมเรียวยาว คือธารพระกร หรือไม้เท้า
ด้ายล่างสุด รูปรองเท้า คือ ฉลองพระบาท
  คำว่า ราชกกุธภัณฑ์ ปรากฏในพระไตรปิฎก
กล่าวถึงพระเจ้าพรหมทัต เมื่อจะเข้าไปคารวะพระโพธิสัตว์
ซึ่งเสวยพระชาติเป็นสังกิจจฤาษี ได้ลงจากราชรถ
และทรงเปลื้องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง
อันประกอบด้วย วาลวิชนี อุณหีส ขคคฺ เศวตฉัตร ฉลองพระบาท
สังเกตุว่ามีแตกต่างกันจาก ในภาพสลัก ๑ อย่าง
คือธารพระกร เพราะลักษณะแท่งกลมตามภาพ
ไม่น่าจะหมายถึงเศวตฉัตร
ธารพระกรนับเป็นหนึ่งในราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง ในสมัยหลัง

กลองวินิจฉัยเภรี
ใช้สำหรับตีส่งสัญญาณในการร้องทุกข์ของราษฎร
สะท้อนให้เห็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกระบวนการตัดสินคดีความ
เพื่อความเป็นธรรมแก่ปวงประชาราษฎร

โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้
มีจำนวนถึง ๘๔ รายการ
ทุกท่านสามารถชื่นชมกับสมบัติของชาติได้ทุกวัน
(ยกเว้นวันจันทร์-อังคาร)
สำหรับวันอาทิตย์จะมีอาสาสมัครนำชม ให้คำแนะนำ
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๕
เวลา ๑๓:๓๐ – ๑๕:๓๐ จะมีบรรยายพิเศษ
เรื่อง “รอยพระพุทธบาท คติจักรพรรดิราชธรรมราชา”
สอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่ฝ่ายวิชาการ
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๐๒-๒๒๔-๑๓๓๓

นิทรรศการเรื่อง “ธรรมราชาธิราช”
ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากทุกท่านจะได้ชื่นชมศิลปวัตถุ
อันเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดินแล้ว
ป้ารุเชื่อว่าท่านจะได้ภาคภูมิใจที่ได้เกิดบนแผ่นดินไทย
แผ่นดินที่อบอุ่นด้วยพระหัตถ์แห่งธรรมราชาธิราช
“พระราชาผู้ทรงธรรมยิ่งกว่าราชาทั้งปวง”

ป้ารุ...รายงาน

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +9 Zenny +99 ย่อ เหตุผล
Rolls-Royce + 9 + 99 ทรงพระเจริญ

ดูบันทึกคะแนน

"ความรัก!เกิดจากความเข้าใจของคนสองคนและมักจบลงด้วยค ...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-11-22 04:42 , Processed in 0.079184 second(s), 27 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้